เรื่องที่ 1.2 การจัดระเบียบทางสังคม

สังคมเป็นที่รวมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อมีการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคลเพิ่มมากขึ้น สังคมก็ยิ่งมีความแตกต่างในหลาย ๆ ด้านเกิดขึ้น ความแตกต่างดังกล่าว หากมีการควบคุมและจัดระเบียบ ของกลุ่มและในสังคมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว สังคมก็อาจสับสนวุ่นวายขึ้นได้

ที่มา: https://sites.google.com/site/karcadkarthangsangkhm/1-kar-cad-rabeiyb-thang-sangkhm

       1. การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง วิธีการที่คนในสังคมกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการจัดเป็นแบบแผน ทำให้สมาชิกในสังคมทราบว่าจะ ปฏิบัติอย่างไรในแต่ละเวลา โอกาส สถานการณ์ และสถานภาพที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความรู้สึกเป็น หมู่พวก สังคมมีความเป็นปกติสุข

       การจัดระเบียบสังคม เป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมี ระเบียบ โดยมีสมาชิกส่วนรวมของสังคมไทยยอมรับเป็นแนวประพฤติปฏิบัติร่วมกันและสืบทอดจนเป็น บรรทัดฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม

2. สาเหตุและความจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม

                2.1 เนื่องจากสมาชิก ในสังคมมีความแตกต่างทั้งในทางกายภาพและในทางสังคม

                2.2 เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีวัตถุประสงค์และมีความต้องการร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคมสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความต้องการพื้นฐานร่วมกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และความต้องการนั้น

                2.3 เพื่อป้องกันการขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ การใช้ อำนาจ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมราบรื่น

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/203876

ที่มา: https://bid-better.co.uk/2018/06/12/social-value-how-does-it-affect-bidders/

3. วิธีการจัดระเบียบทางสังคม

       วิธีการจัดระเบียบทางสังคมจะใช้ระเบียบ กฎเกณฑ์ทางสังคม ได้แก่ ระบบคุณค่าของสังคม บรรทัดฐาน สถานภาพ บทบาท ค่านิยม การขัดเกลาทางสังคม และการควบคุมทางสังคม ดังนี้

                3.1 ระบบคุณค่าของสังคม (Social Value) ถือเป็นหัวใจหรือเป้าหมายสูงสุดที่สังคมต้องการ ให้เกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่สมาชิกสังคมยอมรับเป็นสิ่งที่ดีงาม น่ายกย่อง สมควรกระทำให้บรรลุ อาจจะ ก่อให้เกิดความร่มเย็นและความพึงพอใจของคนทั้งมวล อาจเรียกระบบคุณค่าของสังคมว่า “สัญญา ประชาคม” ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างความเชื่อ ปรัชญา ศาสนา อุดมการณ์ และภูมิปัญญาของสังคม เป็นคุณค่าหรือค่านิยมที่ควรยกย่อง เช่น เสรีภาพ ความรักชาติ ความมีคุณธรรม ความเสมอภาค ความยุติธรรม

       ระบบคุณค่าของสังคมทำหน้าที่คล้ายสมองของมนุษย์ที่เป็นศูนย์รวมกำหนด การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ระบบคุณค่าของสังคมก็เป็นตัวกำหนดกลไกในสังคมให้ดำเนินไปได้ บรรลุตามเป้าหมาย

                3.2 บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรม ที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน และได้ประพฤติสืบต่อกันมา บรรทัดฐาน ทางสังคมเป็นระเบียบแบบแผนความประพฤติที่เห็นว่าถูกต้องในสถานการณ์ หนึ่งอาจนำไปใช้ในอีก สถานการณ์หนึ่งไม่ได้

4. ลักษณะของบรรทัดฐาน บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นอาจสอดคล้องหรือแตกต่างก็ได้ สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ สังคมชนบทมักใช้จารีตมากกว่า ส่วนสังคมเมืองมักใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน บรรทัดฐาน ทางสังคม มี 3 ประเภท คือ

                4.1 วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน (Folkways) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติ ด้วยความเคยชิน เนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่ เช่น การพูดจาไม่สุภาพในที่ สาธารณะ การใส่เสื้อสีอื่นนอกจากสีขาว สีดำา ไปในงานศพ อาจจะถูกคนอื่นมองด้วยสายตาตำหนิ แม้ว่าจะ ไม่มีการกำหนดโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด แต่อาจถูกคนอื่นเยาะเย้ย ถากถาง หรือได้รับการนินทา หรือผู้ที่ทำความดี จะได้รับการยกย่องชมเชยจากสังคมเป็นบุคคลตัวอย่าง ทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตาม วิถีชาวบ้านจนเกิดความเป็นระเบียบทางสังคมในที่สุด

                4.2 จารีต (Mores) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติในสถานการณ์ ต่าง ๆ โดยผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อ ระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกเป็นส่วนรวม เช่น ลูกไม่เลี้ยงดูพ่อแม่ ไม่กตัญญูต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณ การคบชู้กับสามีหรือภรรยาผู้อื่น เป็นต้น จารีตถือว่าเป็นกฎศีลธรรม

                4.3 กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎเกณฑ์ของความประพฤติซึ่งสร้างขึ้น โดยองค์การทาง การเมืองการปกครอง และโดยได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ

                กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

                1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการ

                โดยองค์กรของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย

                2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

                3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย

                4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย

จะเห็นได้ว่าบรรทัดฐานทางสังคมเป็นกลไกที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมให้ เป็นไปตามทิศทาง หรือเป้าหมาย และกฎระเบียบที่สังคมวางไว้ บรรทัดฐานมีสองแง่ คือ มีการลงโทษ ผู้ฝ่าฝืน หรือให้รางวัลแก่ผู้กระทำตามบรรทัดฐาน 

ที่มา: https://sites.google.com/site/thaisociety24/brrthadthan-thang-sangkhm

ที่มา: https://sites.google.com/site/thaisociety24/brrthadthan-thang-sangkhm

ที่มา: https://sites.google.com/site/thaisociety24/sthanphaph-thang-sangkhm

ที่มา: https://sites.google.com/site/a25594204/1-bthbath-hnathi-ni-thana-smachik-ni-khrxbkhraw

ที่มา: http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/social4_1/social/social/lesson2/lesson2_2_2.php

5. สถานภาพและบทบาท

                5.1 สถานภาพ (Status) คือ ตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคมหรือฐานะทาง สังคม (Social Position) ของคนในสังคมที่ถูกกำหนดไว้และดำรงอยู่

                1) สถานภาพทางสังคม หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลซึ่งได้มาจากการเป็นสมาชิกของ กลุ่มและของสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดระเบียบสังคม เนื่องจากการกระทำระหว่างสมาชิก ในสังคมย่อมเป็นไปตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่

                2) ประเภทของสถานภาพทางสังคม

                          (1) สถานภาพทางสังคมโดยกำเนิด (Ascribed Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่ สมาชิกได้รับโดยกำเนิด ที่สำคัญได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ เพศ (ชายหรือหญิง) อายุ และสถานภาพอันเกิดจาก การเป็นสมาชิกในครอบครัวเหล่านี้นับเป็นสถานภาพโดยกำเนิดทั้งสิ้น

                          (2) สถานภาพทางสังคมโดยความสามารถของบุคคล หรือสถานภาพสัมฤทธิ์ (Achieved Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่เกิดจากการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสถานภาพโดยถือ ความสามารถตามเกณฑ์ที่สังคมกำหนด สถานภาพที่ได้มาภายหลัง เช่น สถานภาพทางการศึกษา อาชีพ

                3) ผลอันเกิดจากสถานภาพทางสังคม มีดังนี้

                       (1) ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที

(2) ทำให้เกิดเกียรติยศจากสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกดำรงอยู่

                       (3) ทำให้เกิดการจัดช่วงชั้นทางสังคม

                4) หน้าที่ของสถานภาพ

                       (1) กำหนดบทบาทของคนในสังคม

                       (2) ใช้ในการติดต่อร่วมกันในสังคมขนาดใหญ่ ๆ

                       (3) ใช้เปรียบเทียบฐานะสูง - ต่ำทางสังคม

ที่มา: https://sites.google.com/site/phlmeuxngditamwithi/hna-erek/watthuprasngkh-khxng-kar-phathna-hi-pen-phlmeuxng-di/laksna-khxng-phlmeuxng-di/kar-ptibati-tn-pen-phlmeuxng-di-khxng-prathes-chati-laea-sangkhm-lok/naewthang-kar-phathna-tn-pen-phlmeuxng-di/khunthrrm-criythrrm-khxng-kar-pen-phlmeuxng-di/bthbath-hnathi-khxng-phlmeuxng-di

ที่มา: https://th.stuklopechat.com/samosovershenstvovanie/102061-konflikty-interesov-na-gosudarstvennoy-sluzhbe-eto-uregulirovanie-konflikta-interesov-na-gosudarstvennoy-sluzhbe.html

5.2 บทบาท (Role) คือ หน้าที่หรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติตามสถานภาพที่ได้รับ การปฏิบัติ บทบาทตามสถานภาพที่เหมาะสม และถูกต้องทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมดำเนินไปได้ด้วยดี

                1) บทบาททางสังคม หมายถึง การกระทำตามสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดใน สถานภาพทางสังคม บทบาทและสถานภาพทางสังคมจะทำให้การกระทำระหว่างกันทางสังคมของสมาชิก ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกลมกลืน และช่วยให้การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมมีความราบรื่น

                2) ความสำคัญของบทบาททางสังคม

                บทบาททางสังคมก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในสังคมตาม สถานภาพที่ตนดำรงอยู่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนการรับและการ ให้ประโยชน์ระหว่างกัน

                หากปราศจากการกำหนดบทบาททางสังคม รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกใน สังคมคงจะขาดระเบียบและปราศจากทิศทางอย่างแน่นอน

                3) บทบาทขัดกัน

                สมาชิกในสังคมแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และในการกระทำอีก บทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่งก็ได้ การขัดกันในบทบาทย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ สมาชิกในสังคมต้อง ตัดสินใจ ตามวาระและโอกาสที่เกิดขึ้น เช่น บุตรชายเป็นตำรวจต้องไปจับบิดาที่เป็นผู้ร้าย ในฐานะบุตรต้อง กตัญญูต่อพ่อแม่ แต่ในฐานะตำรวจต้องจับผู้ร้ายที่เป็นภัยสังคม เป็นต้น

                4) ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพและบทบาท

(1) สถานภาพ และบทบาทเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับสังคม

(2) ทุกคนย่อมมีสถานภาพของตนเองและมีหลายสถานภาพ

(3) สถานภาพบางอย่างเป็นสถานภาพที่ต่อเนื่อง

(4) ยิ่งสังคมซับซ้อนเพียงใด บทบาทยิ่งแตกต่างไปมากขึ้นเท่านั้น

(5) โดยปกติสถานภาพจะบ่งบอกถึงบทบาทเสมอ แต่ในบางสถานการณ์มีสถานภาพอาจไม่มีบทบาทก็ได้

(6) การมีหลายสถานภาพก่อให้เกิดหลายบทบาท บางครั้งก็อาจทำให้เกิดบทบาทที่ขัดแย้ง

6. ค่านิยม (Value)

    6.1 ค่านิยมทางสังคม (Social Value) คือ สิ่งที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับและเห็นว่ามีคุณค่า เพราะว่าเป็นความสัมพันธ์ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคม หรือเราอาจจะเรียกว่า “กระแสทางสังคม” ก็ได้ ค่านิยมมีทั้งของบุคคล และค่านิยมของสังคม

                ค่านิยมของสังคม บางที่เรียกว่า ระบบคุณค่าของสังคม หรือ สัญญาประชาคม เป็นหัวใจ หรือเป้าหมายที่สังคมปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้น เช่น เสรีภาพ ความรักชาติ ความดี ความยุติธรรม

6.2 การควบคุมทางสังคม

       การควบคุมทางสังคม เป็นกระบวนการทางสังคมในการจัดระเบียบพฤติกรรมมนุษย์ หรือสมาชิกในสังคมให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้รวมทั้งการไร้ระเบียบทางสังคม (Social Disorganization) และเกี่ยวข้องกับ อีกหลายๆ เรื่อง เช่น ปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Phenomena) ว่ามี ความเป็นมาอย่างไร หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ว่าจะมีแนวโน้มเป็นไปในทางใดและอะไร เป็นปัจจัยผลักดัน เป็นต้น

       การควบคุมทางสังคม จึงเป็นกระบวนการต่าง ๆ ทางสังคมที่มุ่งหมายให้สมาชิกของ สังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม

6.3 ลักษณะของการควบคุมทางสังคม

        1) การควบคุมทางสังคมโดยการจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ การยกย่องชมเชย ให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ตามสถานภาพและบทบาททางสังคมที่ตน ดำรงอยู่

       2) การควบคุมทางสังคมโดยการลงโทษสมาชิกที่ละเมิดฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคมได้แก่                

(1) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนวิถีชาวบ้าน จะได้รับปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสมาชิกสังคมอื่น ๆ ได้แก่การถูกตำหนิติเตียน นินทา

(2) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจารีต จะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกอื่น ๆ รุนแรงกว่าผู้ที่ละเมิดวิถีชาวบ้าน เช่น การถูกประชาทัณฑ์ หรือขับไล่ออกไปจากท้องถิ่น

(3) ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะได้รับการลงโทษตามกฎหมายกำหนด โดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมบทลงโทษอย่างชัดเจน

          การจัดระเบียบทางสังคมจึงเป็นกระบวนการที่จะทำให้สังคมมีระเบียบ สมาชิก ในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งบรรทัดฐานที่สังคมสร้างขึ้น ระบบคุณค่าสังคมนิยม และการควบคุมทางสังคม

ที่มา: https://sites.google.com/site/chatisasnaphramhaksatriy/kha-niym-tangtae-khx-1-6

ที่มา: http://www.thainews70.com/ข่าวพาดหัว-หน้าหนึ่ง/เชียงใหม่จับปรับพันราย/