ตอนที่ 3 การธํารงรักษาพระพุทธศาสนา

   หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว หน้าที่การธํารงรักษาพระพุทธศาสนาขึ้นอยู่กับพุทธ บริษัท โดยเฉพาะพระเถระทั้งหลายโดยอาศัยพระธรรมวินัยเป็นพื้นฐาน การธํารงรักษาพระพุทธศาสนา กระทําได้ดังนี้คือ

  1. การเผยแผ่ การชําระพระไตรปิฎก และการสืบทอดพระพุทธศาสนา

  ในการประกาศพระศาสนาครั้งแรก พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาชื่อธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ พระปัญจวัคคีย์ การแสดงครั้งนั้นถือว่าเป็นการหมุนธรรมจักรเป็นครั้งแรก กงล้อแห่งพระธรรมหมุนไปทั่วโลก ด้วยผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่าง ๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่าที่นําพระพุทธศาสนา ไปเจริญรุ่งเรืองนอกประเทศอินเดีย ดังนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงเป็นหน้าที่หลักของพุทธบริษัทและ ถือว่าเป็นการธํารงรักษาพระพุทธศาสนาและจุดประสงค์หลักของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากการประชุม สุดยอดผู้นําชาวพุทธทุกครั้งมุ่งเน้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก นั่นคือการสร้างความ พยายามร่วมกันให้ได้มาซึ่งสันติภาพ พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาหลักในการที่ช่วยกันสร้างสันติภาพ ให้แก่มนุษยชาติ

  ดังนั้น การธํารงรักษาพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งของมนุษยชาติ นอกจากนั้น การธํารงรักษาพระพุทธศาสนาต้องอาศัยการสังคายนาและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดํารงอยู่สืบไป การสังคายนาตั้งแต่ครั้งที่ 1 ที่มีพระมหากัสสปะเถระเป็นองค์ประธาน จนถึงครั้งที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นครั้งที่สําคัญ เพราะพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปยังดินแดนต่าง ๆ โดยมีพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ในการ สังคายนา มีการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบในรูปของพระไตรปิฎก ทรงจําด้วยมุขปาฐะ โดยใช้ ภาษาบาลีเป็นสื่อจารึกคําสั่งสอนและเผยแผ่กระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของชมพูทวีปและทวีปอื่น คณะสงฆ์ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาด้วยภาษาบาลีในยุคนี้ เรียกว่า “เถรวาท” ประเทศที่ได้รับพระพุทธศาสนาแบบ เถรวาทนี้ได้แก่ ศรีลังกา พม่าไทย ลาว และกัมพูชา

  หลังยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาได้เคลื่อนย้ายมาอยู่ดินแดนแคชเมียร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย พระสงฆ์ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาในดินแดนนี้ เรียกว่า “มหายาน” ใช้ภาษาสันสกฤตจารึกคําสั่งสอนซึ่งอยู่ในยุคของพระเจ้ากนิษกมหาราช และได้รับการสืบทอด เผยแผ่เข้าไปในประเทศแถบเอเชียกลาง เนปาล เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต ภูฏาน มองโกเลีย ตะวันออกไกล จนถึง สหภาพโซเวียตรัสเชีย การสังคายนา นอกจากเป็นการชําระพระไตรปิฎกแล้ว ยังเป็นการศึกษาพระธรรมวินัย ที่ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ถือเป็นการควบคุมพุทธศาสนิกชนให้มีการประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง หากมี การปฏิบัติตน หรือการตีความที่ผิดเพี้ยนไปจากพระไตรปิฎกก็ต้องมีการประชุมสัมมนากันใหม่ หรือแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ถือว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง จึงเป็นการธํารงรักษา พระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่ง

2. การศึกษาพระพุทธศาสนา

  การธํารงรักษาพระพุทธศาสนาอีกแนวทางหนึ่งคือ การส่งเสริมให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไปให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ซึ่งในประเทศ ไทยได้มีการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งแผนกนักธรรมธรรมศึกษา การศึกษาพุทธศาสนา วันอาทิตย์ การศึกษาแผนกบาลี การศึกษาสามัญ การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยและมหามกุฏราชวิทยา เป็นแกนนําการจัดการศึกษาที่สําคัญ

  นอกจากนั้นในการปฏิรูปการศึกษาได้มีการบรรจุวิชาพระพุทธศาสนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการปรับปรุงสาระหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาให้มีการศึกษาอย่างเป็น ระบบ โดยมีกรมวิชาการ มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง เป็นผู้ดําเนินการยกร่างหลักสูตรดังกล่าว

  การจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาผู้ถ่ายทอดหรือครูผู้สอนจะต้องเข้าใจหลักสูตรพระพุทธศาสนา และเข้าใจหลักการ ปรัชญา หรือแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจหลัก พระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง และที่สําคัญที่สุดก็คือสามารถนําไปประยุกต์เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมได้


สรุปสาระสําคัญ

  การธํารงรักษาพระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่สําคัญของพุทธบริษัททุกคน ที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจกัน ธํารงรักษาไว้เพื่อพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหลักธรรมคําสอนที่สามารถช่วยเหลือมนุษยชาติให้สามารถอยู่ ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ธํารงไว้ซึ่งความสุขสงบของมวลมนุษย์ มวลสรรพสัตว์และธรรมชาติต่อไป