เรื่องที่ 3.11 

พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นรัชกาลที่ 5 เห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เป็น พระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2411 สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 42 ปี

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้น ครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา โดยในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะ ทรงมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา จุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัด พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัติย์ที่ทรงตั้งอยู่ ในฐานะเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย เป็นที่พึ่งตลอดระยะเวลายาวนานถึง 42 ปี ได้ทรงบําเพ็ญพระราช กรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นเอนกนานัปการ เช่น โปรดให้ยกเลิกประเพณี หมอบคลานและกราบ โดยให้ใช้ยืนและคํานับแทน โปรดให้เลิกทาส ตั้งโรงเรียนหลวงสอนทั้งภาษาไทย และอังกฤษ โปรดให้มีการสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาในต่างประเทศ ทรงปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมและแบ่ง หน้าที่ราชการให้เป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายกัน ในส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น มณฑล ส่วนในจังหวัดหนึ่งๆ ก็ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลรับผิดชอบ อาณาเขตจังหวัดก็แบ่งเป็นอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน โปรดให้จัดการในเรื่องการสุขาภิบาล การบํารุงท้องที่ การไปรษณีย์ การโทรเลข การไฟฟ้า การรถไฟโปรดให้ตั้งกระทรวงสําคัญๆ ต่างๆ และกิจการในด้านศาลยุติธรรม โปรดให้จัดการตํารวจภูธร ใช้กฎหมายการเกณฑ์ทหารเมื่อชาติต้องการหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินและเกิดสงคราม และการสะสมอาวุธ ยุทธภัณฑ์ เป็นต้น

การทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทํานุบํารุง พระพุทธศาสนา ให้ทันต่อสภาวะความเจริญของบ้านเมืองได้ก้าวไปไกลอย่างมาก ทรงได้มีการปรับปรุง พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา ดังนี้

1. การชําระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย การชําระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็น อักษรไทยนี้ ใช้เวลานานถึง 6 ปี เริ่มแต่ปี พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2436 โดยทรงปรารภเหตุหลายประการ กล่าวคือ

    1.1 เป็นการดําเนินการตามขัตติยะประเพณีที่ปฏิบัติกันต่อๆ มาของพระมหากษัตริย์ใน ปางก่อนที่ทรงสร้างในการสังคายนาพระธรรมวินัย

    1.2 ด้วยทรงปรารภว่าพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สําคัญทางพระพุทธศาสนา เมื่อจัดพิมพ์แล้ว จะช่วยส่งเสริมให้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแพร่หลาย เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่

    1.3 การพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จะช่วยให้สะดวกแก่การค้นคว้าและการพิมพ์เป็น เล่มสมุดก็สะดวกต่อการเก็บและรักษา แม้ไม่ทนเหมือนจารึกลงบนใบลาน แต่ก็สามารถจัดพิมพ์ใหม่อีก ได้ง่าย การชําระและการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ เสร็จทันงานฉลองรัชดาภิเษก (การครองราชย์ครอบ 25 ปี) ของพระองค์ ทรงพระราชทานแด่พระอารามหลวงและวัดราษฎร์ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองโดย ทั่วกัน นับเป็นการพิมพ์คัมภีร์สําคัญทางพระพุทธศาสนาฉบับภาษาไทยครั้งแรกในประเทศไทย

2. การสร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด คือ วัดราชบพิธ วัดเทพศิรินทราวาสวัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางค์ นิมิต วัดจุฑาทิศราชธรรมสภาวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ และทรงปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ โดยพระราชทรัพย์ ส่วนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศวัดมหาธาตุจึงมีสร้อยนามในเวลาต่อมาว่า"วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎี”

3. การส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์การศึกษา เพราะทรงห่วงใยเรื่องคุณธรรม ในปี พ.ศ. 2414 ทรงมีพระบรมราช โองการ โปรดเกล้าฯ จะให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทยและสอนเลขทุก ๆ พระอาราม จัดทําที่วัดมหรรณพา รามเป็นแห่งแรก มีประกาศจัดการศึกษาในหัวเมือง นิมนต์ให้พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ให้เอาใจใส่สอน ธรรมแก่ประชาชน และฝึกสอนวิชาความรู้ต่าง ๆ แก่กุลบุตร ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระองค์ทรงห่วงใยเรื่อง คุณธรรม คือ ความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ที่ได้รับการศึกษาไปแล้วเป็นอย่างมาก เพราะผู้ได้รับการศึกษาดีก็มิใช่ จะมีหลักประกันได้ว่าจะเป็นคนดีทุกคนไป หากขาดเรื่องการศึกษา เรื่องการศาสนา

4. การศึกษาของพระสงฆ์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตาม วัดต่างๆ เพื่อเป็นสถานศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร ได้ทรงกําหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรม เป็นประจําทุกปี ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงสองแห่งจนกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ในปัจจุบัน คือ

    4.1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

    4.2 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎี

5. ทรงตราพระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวในการบริหารคณะสงฆ์ ปี ร.ศ.121 นับเป็นกฎหมาย ของพระสงฆ์ไทยฉบับแรก

การทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นอกจากจะทําให้เกิดผลดีแก่ประเทศชาติในด้านต่างๆ แล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีในส่วนของพระองค์ด้วย ทําให้ ฐานะการเมืองของพระองค์มั่นคงขึ้น เพราะประชาชนต่างให้ความจงรักภักดีในฐานะที่ทรงปฏิบัติพระองค์ ตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรมคือ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร สังคหวัตถุ และทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภ์อย่าง แท้จริง จึงทําให้การปกครองในสมัยของพระองค์ประสบความสําเร็จ และยังสามารถรักษาความเป็นเอกราช ของประเทศจากภัยคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกไว้ได้ ทั้งนี้นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ ประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระนามเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่พระองค์ว่า “พระปิย มหาราช”

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. เป็นศาสนูปถัมภก คือเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาให้ เจริญรุ่งเรือง เช่น การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทยเป็นครั้งแรก การสร้างวัดที่สําคัญ ๆ การให้วัด เป็นศูนย์กลางการศึกษา และการส่งเสริมการศึกษาพระสงฆ์ โดยการสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และทรงตรา พระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวบริหารคณะสงฆ์

2. ทรงดํารงตนอยู่ในพุทธธรรม โดยนําหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น หลัก ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร สังคหวัตถุ เป็นต้น เป็นแนวทางในการปกครองอาณาประชาราชจนได้รับ ขนานพระนามว่า “พระปิยมหาราช”

ที่มาจาก https://soulofpeople.com/พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเ/