เรื่องที่ 1.2 ฐานะและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ไทย

  พระราชสถานะและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้บัญญัติรองรับพระราชสถานะและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ไว้ในหลาย ๆ เรื่องดังนี้

พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติถึงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไว้ดังนี้

  1. พระราชสถานะที่ทรงเป็นองค์พระประมุขของราชอาณาจักรไทย และของปวงชนชาวไทย ตาม มาตรา 2 ที่กล่าวว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

  2. พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ (มาตรา 8)

  3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก (มาตรา 9) 4. พระมหากษัตริย์ทรงดํารงตําแหน่งจอมทัพไทย (มาตรา 10)

เมื่อ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศทุกฉบับรวมทั้ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติรับรองไว้ในหมวดพระมหากษัตริย์ มาตรา 9 ว่า “พระมหากษัตริย์ทรง เป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนี้มีความหมายว่า เนื่องจากประเทศไทยมี

ประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของรัฐจึงต้องทรงเป็นพุทธมามกะ คือ เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และในขณะเดียวกันก็ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงทํานุบํารุงอุปถัมภ์ ศาสนาทั้งปวงในขอบขัณฑสีมา โดยไม่ทรงแบ่งแยกว่าเป็นศาสนาใดด้วย

  บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่กําหนดว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะนี้ บัญญัติขึ้นเพื่อสะท้อน ความจริงในประวัติศาสตร์ที่ว่าพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ทุกพระองค์ล้วนมีพระราชศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระมหากษัตริย์บางพระองค์ถึงกับทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุใน ระหว่างเวลาที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ได้แก่ สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

  ส่วนบทบัญญัติที่กําหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกนั้น ได้บัญญัติขึ้น โดยคํานึงถึง ความเป็นมาในประวัติศาสตร์ด้วยเช่นเดียวกัน พระมหากษัตริย์ของไทยได้ทรงเป็นตัวแทนของชาติประกาศ ความมีน้ําใจกว้างขวาง ไม่รังเกียจกีดกันผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสศาสนาต่างกัน ทุกคนล้วนแต่เป็นข้าแผ่นดินผู้อยู่ ในข่ายแห่งพระมหากรุณาเสมอกัน

พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติถึงพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ไว้ดังนี้

  1. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (มาตรา 11)

  2. พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และ องคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ (มาตรา 12)

  3. การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้ประธาน องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตําแหน่ง (มาตรา 13)

  4. ก่อนเข้ารับหน้าที่องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยถ้อยคําต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และ ปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” (มาตรา 15)

  5. องคมนตรี จะพ้นจากตําแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโอการให้พ้นจากตําแหน่ง (มาตรา 16)

  6. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์ และสมุหราชองครักษ์ พ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (มาตรา 17)

  7. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ (มาตรา 18)

  8. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เมื่อมี พระราชดําริประการใดให้คณะรัฐมนตรีจัดทําร่างกฎมณเฑียรบาล แก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานรัฐสภาลงนามสนอง บรมราชโองการ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

 9. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความเห็นชอบของวุฒิสภา ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น

สรุปได้ว่ารัฐธรรมนูญที่ยึดหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยจะมีหลักการอยู่ 3 ประการ คือ การให้ หลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมั่นคง การยินยอมให้รัฐสภาโดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรมีอํานาจ แต่งตั้งถอดถอนและและควบคุมการบริหารงานของคณะรัฐมนตรี และการกําหนดให้ข้าราชการประจําเป็นกลาง ทางการเมืองหรือไม่อนุญาตให้ข้าราชการประจําเข้าดํารงตําแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ต้อง ประกอบกับ การปฏิบัตินักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนด้วยว่าได้ปฏิบัติในแนวประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

สรุปสาระสําคัญ

  ประเทศไทยเริ่มมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับถึง พ.ศ. 2550 มีรัฐธรรมนูญ รวม 18 ฉบับ ฉบับที่ 18 คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ได้กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับผู้อยู่ใต้การปกครอง และกําหนดวิธีแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองไว้อย่างแจ้งชัด

  ประเทศไทยจึงมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง เพราะเป็นเครื่องมือในการปกครองอํานาจ ซึ่งเป็น กรณีที่ตรงข้ามกับกรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญที่ชนชั้นนําของเขาได้สร้างขึ้นและ ได้รับความเห็นชอบจากชาวอเมริกันส่วนใหญ่ในประเทศ นับตั้งแต่ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1787 อาจกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญที่จะนํามาใช้เป็นหลักในการปกครองอย่างจริงจัง และได้รับการพิทักษ์รักษามิให้ถูกละเมิดหรือล้มเลิก นั้น จะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสําคัญและเห็นประโยชน์ที่จะได้จากรัฐธรรมนูญนั้น