เรื่องที่ 3.2 ลักษณะของวัฒนธรรมไทย 

    วัฒนธรรมไทยมาจากแหล่งที่มาที่ต่างกันและเกิดการหล่อหลอมกันขึ้น จนเป็นวัฒนธรรมที่มี ความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมไทย มีดังนี้

ที่มา: https://cultureofaec.wordpress.com/2016/02/14/แตกต่างกันอย่างไร/



1. เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม คนไทยมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ดังนั้นวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตส่วนใหญ่จึงมักเกี่ยวกับ น้ำและการเกษตร เช่น ประเพณีการทำขวัญข้าว หรือประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปตาม ชนบท เป็นต้น


2. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือการกุศล คนไทยนิยมทำบุญในงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อเป็นสิริมงคล และเพื่ออุทิศบุญกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว จึงสังเกตได้ว่าในงานพิธีมงคลหรืออวมงคล จะต้องมี การทำบุญเป็นส่วนหนึ่งของงานพิธีเหล่านั้นเสมอ

ที่มา: https://www.bangkokpost.com/bpfoundation/กิจกรรมหาทุน/

ที่มา: https://southeastasia637.wordpress.com/2016/02/17/วัฒนธรรมไทย/


3. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติ สังคมไทยมีความสัมพันธ์กันโดยยึดหลักอาวุโส คนที่มีอายุน้อย กว่าจะให้ความเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่าหรืออาวุโสกว่า เพราะถือว่าผู้อาวุโสเป็นผู้ที่สูงด้วยประสบการณ์ พบเห็นเรื่องราวในชีวิตมาก่อนผู้ที่มีอายุน้อย การเข้าหาและพูดคุยกับท่านเหล่านั้นจะทำให้ได้รับประสบการณ์ ที่ดี แล้วนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ ดังสุภาษิตของไทยประโยคหนึ่งว่า “เดินตามหลังผู้ใหญ่ สุนัขไม่กัด”สัมผัสได้ แบ่งออกเป็น

4. เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือพิธีกรรม มีขั้นตอนในการประกอบพิธีตามความเชื่อและมุ่งหวังความมีหน้า มีตาในการจัดงาน เช่น การแต่งงาน โดยส่วนใหญ่ในสังคมไทยจะมีพิธีกรรมมากมาย ตั้งแต่การแห่ ขันหมากมาสู่ขอ การรดน้ำสังข์อวยพรคู่บ่าวสาวและจัดงานเลี้ยงฉลองสมรสโดยเชิญญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ของเจ้าบ่าวเจ้าสาวมาร่วมเป็นเกียรติในงาน เป็นต้น

ที่มา: https://sites.google.com/site/waththrrmlaeapraphenithiy/home/3-laksna-wathnthrrm-laea-prapheni-thiy

ที่มา: http://thaiart7.blogspot.com/2018/05/httpsbit.html



5. เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนานกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมไทยส่วนใหญ่จะมีการสอดแทรก ความสนุกสนานไว้ด้วยเสมอ มีการร้องรำทำเพลง จนเกิดเป็นเพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการละเล่นเพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยหลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว



6. เป็นวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้รับการผสมผสาน มาจากการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมของสังคมอื่น เช่น ศาสนาพราหมณ์เป็นที่มาของประเพณีต่าง ๆ ซึ่งได้รับ การปฏิบัติสืบทอดในสังคม เช่น พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การตั้งศาลพระภูมิ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี วัฒนธรรมตะวันตกที่กำลังเข้ามามีอิทธิพลมากในสังคมไทย เช่น ด้านเทคโนโลยี การแต่งกายและอาหาร เป็นต้น

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_4092213

ที่มา: https://palipage.blogspot.com/2021/02/blog-post_16.html

7. เป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ พฤติกรรม และพิธีกรรมของผู้คนตั้งแต่ระดับชาวบ้านจนถึงระดับรัฐ คนไทยดำเนินชีวิตตาม แนวทางแห่งอุดมคติที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง ไปวัดเพื่อถือศีล ฟังธรรม บูชาพระรัตนตรัย พร้อม ๆ กับการศึกษา หาความรู้ จนกระทั่งตายจากโลกนี้ก็ต้องทำพิธีทางศาสนา ประมุขของรัฐปกครองประเทศโดยใช้หลักธรรม ที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” และ “จักรวรรดิวัตร” จึงเรียกการปกครองนี้ว่าธรรมราชา ทรงทะนุบำรุงศาสนา และสร้างวัด ปฏิสังขรณ์โบราณสถานต่าง 

    แม้ว่าสังคมไทยจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสังคมของบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สังคมไทยก็มีวัฒนธรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น และบ่งบอกถึงความเจริญ งอกงามของชาติไทยมายาวนาน