เรื่องที่ 3.13 ดร.เอ็มเบดการ์

ดร.อัมเบดการ์ เป็นผู้ที่ชาวพุทธควรจดจําและยกย่องใน ฐานะที่ท่านได้นําพระพุทธศาสนากลับเข้ามายังประเทศอินเดียอีกครั้ง หนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อให้อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ เช่นเดียวกับมหาตะมะคานธี ถึงแม้ท่านทั้งสองจะมีจุดมุ่งหมายใน การทํางานเหมือนกันแต่มีแนวความคิดต่างกัน มหาตะมะคานธี ยึดถือความมีชั้นวรรณะในอินเดีย ถือว่าชั้นวรรณะเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวอินเดีย แต่ดร.อัมเบดการถือความเสมอภาคของมนุษย์เป็นสําคัญ ดังนั้น ท่านจึงนําพระพุทธศาสนา กลับเข้าสู่อินเดียอีกครั้ง เพราะท่านเห็นว่าพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ทําให้ความเป็นมนุษย์เสมอภาคกันได้

ดร.อัมเบดการ์ หรือชื่อเต็ม คือ บาบาสาเหบ พิมเรารามจิ อัมเบคการ์(Dr. Babasaheb Bhimrao Ranji Ambedkar) เกิดในวรรณะศูทรที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฎร์ ทาง ตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2434 ในหมู่บ้านคนอธิศุทร (คนวรรณะจัณฑาล มีชื่อเรียกมากมาย เช่น หริจันทร์ จัณฑาล อธิศุทร ในที่นี้จะใช้คําว่า อธิศุทร) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็นบุตรชายคนสุดท้อง คนที่ 14 ของ รามจิ สักปาล และนางพิมมาไบ สักปาล ก่อนที่ท่านอัมเบดการ์จะเกิดนั้น มีเรื่องเล่าว่า ลุงของพ่อท่านซึ่งไป บวชเป็น สันยาสี (ผู้ถือสันโดษ ตามแนวคิดเรื่องอาศรม 4 ของฮินดู) อาศัยอยู่ตามป่าเขา ได้มาพํานักในแถบ ละแวกบ้านของท่าน รามจิได้ทราบจากญาติคนหนึ่งว่าหลวงลุงของตนมาพํานักอยู่ใกล้ ๆ จึงไปนิมนต์ให้มา รับอาหารที่บ้าน นักบวชสันยาสีนั้นปฏิเสธ แต่ได้ให้พรแก่รามจิว่า “ขอให้มีบุตรชายและบุตรชายของเธอจงมี ชื่อเสียง เกียรติยศในอนาคต ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย” ซึ่งพรนั้นก็มาสําเร็จสมปรารถนา เมื่อวันที่ท่านอัมเบดการเกิดนั้นเอง บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้ว่า “พิม” แม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศุทรที่ ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนเด็กชายพิม สามารถเรียนจนจบประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเรียนจบแล้ว บิดาก็ไม่ได้หยุดที่จะให้บุตรได้รับความรู้ พยายามอดมื้อกินมื้อ เงินที่ได้รับจากการรับจ้างแบกหาม ก็เอามาส่งเสียเป็นค่า เล่าเรียนให้กับเด็กชายพิม จนกระทั่ง สามารถส่งให้เรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษา

ในระหว่างการเรียนนั้น ท่านจะต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยียดหยาม สร้างความช้ำใจอยู่ ในความทรงจําของท่าน เช่นว่า เมื่อท่านเข้าไปในห้องเรียน ทั้งครู และเพื่อนร่วมชั้นต่างก็แสดงอาการ ขยะแขยง รังเกียจความเป็นคนวรรณะต่ำ ท่านไม่ได้รับอนุญาตแม้แต่การที่จะไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน ท่านต้องเลือกที่มุมห้องแล้วปูกระสอบนั่งเรียนอยู่อย่างนั้น เวลานํางานมาส่งให้อาจารย์ อาจารย์ที่มีทีท่ารังเกียจ ไม่อยากจะรับเวลาที่ท่านถูกสั่งให้มาทําแบบทดสอบหน้าชั้นเรียน นักเรียนในห้องที่เอาปืนโต หรือห่ออาหารมา กินที่โรงเรียน ที่วางไว้ใกล้กระดานดํา จะเร่งกรูกันไปเก็บเอามาไว้ก่อน เพราะกลัวว่าความเป็นเสนียดของ ท่านจะไปติดห่ออาหารของพวกเขาที่วางอยู่ใกล้กระดานดํา แม้แต่เวลาที่ท่านจะไปดื่มน้ำที่ทางโรงเรียนจัด ไว้ ท่านก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท็งก์น้ำ หรือแก้วที่วางอยู่เพราะทุกคนรังเกียจว่าเสนียดของท่าน จะไปติดที่แก้วน้ำ ท่านต้องขอร้องเพื่อน ๆ ที่พอจะมีความเมตตาอยู่บ้างให้ช่วยตักน้ำแล้วให้ท่านคอยแหงนหน้า อ้าปาก ให้เพื่อน เทน้ำลงในปาก เพื่อป้องกันเสนียดในความเป็นคนวรรณะต่ำ ซึ่งเป็นความเจ็บช้ำใจยิ่งนัก

อย่างไรก็ตามในโลกนี้ก็ยังมีความเมตตาอยู่บ้าง โดยครูท่านหนึ่งผู้มีเมตตาผิดกับคนในวรรณะ เดียวกัน ซึ่งบางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหารให้กับท่านแต่ก็แสดงออกมากไม่ได้ เพราะอาจจะถูกคนใน วรรณะเดียวกัน เกลียดชังไปด้วยเหตุที่ท่านถูกรังเกียจเพราะความที่นามสกุลของท่านบ่งชัดถึงความเป็นอธิ ศูทร คือ “สักปาล” (นามสกุลของคนอินเดีย เป็นตัวบ่งบอกวรรณะ) ครูท่านนั้นจึงได้นํานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับท่านใหม่ โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียนให้ใช้นามสกุลว่า “อัมเบดการ์” และจากนามสกุลอัมเบด การ์นี้เองทําให้หลาย ๆ คนคิดว่าท่านเป็นคนในวรรณะพราหมณ์)

หลังจากอดทนต่อความยากลําบาก การถูกรังเกียจจากคนรอบข้างที่รู้ว่าท่านเป็นคนอธิศุทรแล้ว ใน ที่สุดท่านก็ได้สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งนับว่าสูงมากสําหรับคนวรรณะนี้ แต่พ่อของท่านก็ไม่ สามารถ ที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้อีก เคราะห์ดีที่มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ซึ่งเป็นมหาราชาผู้มีเมตตา พระองค์ไม่มีความรังเกียจคนต่างวรรณะ ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับอธิศุทรและในครั้งนั้นได้มีนัก สังคมสงเคราะห์พาท่านเข้าเฝ้ามหาราชา พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อให้เป็นเงินทุน เดือนละ 24 รูปี ทําให้ท่านสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ ต่อมามหาราชาแห่งบาโรดาได้ทรงคัดเลือกนักศึกษา อินเดีย เพื่อส่งให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งท่านก็ได้รับการคัดเลือก ในครั้ง นั้นท่านได้พบกับ สิ่งที่เรียกว่าอิสรภาพและความเสมอภาค เพราะที่สหรัฐอเมริกานั้นไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจในความเป็นคน อธิศุทรเหมือนอย่างในประเทศอินเดีย หลังจากท่านได้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาเอกแล้ว เรียกว่ามีชื่อนําหน้าว่า ด็อกเตอร์ท่านได้เดินทางกลับมาอินเดียและ ได้พยายามต่อสู้เพื่อคนใน วรรณะเดียวกัน ไม่ใช่แต่เท่านั้นท่านยังพยายามต่อสู้กับความอยุติธรรมที่สังคมฮินดูยัดเยียดให้กับคนในวรรณ ที่ต่ำกว่า

หลังจากสําเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ดร.อัมเบดการ์ ได้เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยซิด นาห์ม ในบอมเบย์ ในปี 2461 ต่อมาได้รับพระราชทานอุปถัมภ์จากเจ้าชายแห่งเมืองโครักขปูร์ ซึ่งเป็นผู้มีพระทัยเมตตาเช่นเดียวกับมหาราชาแห่งบาโรด้า ที่ปรารถนาจะถอนรากถอนโคนความอยุติธรรมที่สังคม ฮินดูกีดกันคนในวรรณะอื่น ๆ โดยได้ทรงอุปถัมภ์ให้คนอธิศุทรมารับราชการในเมืองโครักขปร์ แม้นายควาญ ช้าง พระองค์ก็เลือกจากคนอธิศุทรเจ้าชายแห่งโครักขปร์ได้ทรงอุปถัมภ์ในการจัดทําหนังสือพิมพ์ มุขนายก หรือ “ผู้นําคนใบ้” ของ ดร.อัมเบดการ์ เช่นอุปถัมภ์ค่ากระดาษพิมพ์และอื่นๆ ซึ่งอัมเบคการ์ไม่ได้เป็นบรรณาธิการ เองแต่อยู่เบื้องหลัง และเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ ในบทความครั้งหนึ่งมีคําพูดที่น่าสนใจว่า

“อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูงสังคมฮินดูนั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูง ตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอนแต่ไม่มีบันไดหรือช่องทางที่จะเข้าไปสู่หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้น ไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ จะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้นหนึ่งก็ทําไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตาย ในชั้นนั้น”

ท่านได้กล่าวถึงสังคมฮินดูว่ามีองค์ประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์ มิใช่พราหมณ์ และอธิศุทร พราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่าพระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้นพระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่ พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าเขากําลังเห็นพระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่

ดร.อัมเบดการ์ มีผลต่อความเคลื่อนไหวหลายอย่างในอินเดียขณะนั้น ท่านเป็นอธิศุทรคนแรกที่ ได้รับตําแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช ได้เป็นผู้ร่วมร่าง รัฐธรรมนูญของอินเดีย ท่านเป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมในสภาโดยการอนุมัติของ ดร.ราเชนทรประสาท ให้ ชี้แจงอธิบายต่อผู้ซักถาม ถึงบางข้อบางประเด็นในรัฐธรรมนูญ หนังสือพิมพ์บางฉบับลงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า “ดร.อัมเบดการ์ ทําหน้าที่ชี้แจงอธิบายเรื่องร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ร่วมประชุม ประดุจพระอุบาลีเถระวิสัชชนา ข้อวินัยบัญญัติ ในที่ประชุมปฐมสังคายนาต่อพระสงฆ์ 500 มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ฉะนั้น” และ ท่านเป็นผู้ต่อสู้เพื่อทําลายความอยุติธรรมของคนในชาติเดียวกัน

ด.ร.อัมเบดการ์ แต่งงานมีครอบครัว สองครั้ง ครั้งแรกแต่งกับคนในวรรณะเดียวกัน ชื่อว่านาง รามาไบ ครั้งที่สองท่านได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า ชาดา คาไบ ใน โรงพยาบาลที่เขาไปรับการรักษาอาการป่วย เป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ําได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง คือวรรณะพราหมณ์ ขณะที่อายุท่านได้ ๕๖ ปี โดยมีนักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่างๆมาร่วมงาน แต่งงานของท่านมากมาย ต่างจากครั้งแรกที่ท่านแต่งงานในตลาดสด

หลังจากนั้น ดร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอี้ทางการเมือง ซึ่งท่านไม่ได้ยึดติดกับตําแหน่งทางการ เมือง การที่ท่านเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมก็เพราะท่านต้องการทํางานเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับคนที่อยู่ในวรรณะต่ำที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น

เหตุการณ์ที่สําคัญมากประการหนึ่งก็คือ การที่ ดร.อัมเบดการ์ได้เป็นผู้นําชาวพุทธศูทรกว่า 5 แสน คน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เหตุการณ์ตอนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

ความจริง ดร.อัมเบดการ์ สนใจพระพุทธศาสนามาก่อนหน้านี้แล้ว จากการได้ศึกษาพุทธ ประวัติ ซึ่งเขียนโดยท่านพระธัมมานันทะ โกสัมพี ชื่อว่า “ภควาน บุดดา” (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ท่านได้ทราบจาก การศึกษาว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพแก่คนทุกชั้น ในจิตใจของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่ท่าน ต้องการทําให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น สิ่งที่ตั้งใจไว้ก็คือ การได้ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ พร้อมกับพี่น้องชาวอธิศุทร ใน งานฉลองพุทธชยันติ (Buddhajayanti)

ดร.อัมเบดการ์ได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนาและได้เขียนหนังสือเผยแผ่พระพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น “พุทธ ธรรม” "(Buddha and His Dhamma) “ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา” (The Essential of Buddhism) และคําปาฐกถาอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น “การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย" (The down fall of Buddhism in india) เป็นต้น

ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนั้นอินเดียมีชาวพุทธอยู่แทบจะ เรียกได้ว่าเป็น อัพโภหาริก คือ น้อยมากจนเรียกไม่ได้ว่ามีแต่เหตุที่มีงานฉลองนี้ขึ้นได้ เนื่องจากท่านยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งท่านได้กล่าวคําปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลกสภา (รัฐสภาของอินเดีย เรียกว่า โลกสภา) เรื่อง การจัดงานฉลองพุทธชยันตี ว่า “พระพุทธเจ้าเป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลก นี้ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คําสอนของพระพุทธเจ้า ส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่ รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใดที่จะนําเกียรติยศ เกียรติภูมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่ จัดงานฉลองให้ท่านผู้นี้แล้วเราจะไปฉลองวันสําคัญของใคร” และได้กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าไม่ขอ นับถือศาสนาใดๆ ในโลกทั้งนั้น แต่หากจะต้องเลือกนับถือแล้ว ข้าพเจ้าขอเลือกนับถือพระพุทธศาสนา”

ในงานฉลองพุทธชยันตีนั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงานฉลองตลอด 1 ปี เต็ม ๆ โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่าง ๆ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ เช่น ทําตัดถนนเข้าสู่พุทธ สังเวชนียสถานให้ดีขึ้น สร้างธรรมศาลา ทําการอํานวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจากประเทศ ต่างๆ จัดพิมพ์หนังสือสดุดีพระพุทธศาสนา จัดทําหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนาโดยนักปราชญ์หลายท่าน เขียนขึ้น

สําหรับการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะนั้น ท่านอัมเบดการ์ได้นําชาววรรณะศูทร ปฏิญาณตน เป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปร์ สาเหตุที่ท่านเลือกเมืองนี้ แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่ ๆ อย่างบอมเบย์ หรือเคลลี ท่านได้ให้เหตุผลว่า “ผู้ที่ทําการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะแรก ๆ นอกจากพระสงฆ์ คือ พวกชนเผ่านาค ซึ่งถูกพวกเผ่าอารยันกดขี่ข่มเหง ต่อมาพวกเผ่านาคได้พบกับพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนพวกเผ่า นาคเหล่านั้นเลื่อมใส ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ และเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วเมืองนาคปร์นี้ เป็นเมืองที่ พวกเผ่านาคตั้งหลักแหล่งอยู่” ดังนั้นศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปัจจุบันที่เป็นคนวรรณะศูทรจึงอยู่ที่เมืองนาคปร์

ในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ 5 แสนคน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2499 นั้น มีพระภิกษุอยู่ใน พิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย 3 รูป คือ ท่านพระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติส สะเถระ (Ven, S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทะเถระ (Ven. Pannananda Thera) ในพิธีมีการ ประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้นผู้ปฏิญาณตน ได้กล่าวคําปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะและ คําปฏิญญา 22 ข้อ ของท่านอัมเบดการ ดังนี้

1. ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป

2. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป

3. ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป

4. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป

5. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า

6. ข้าพเจ้าจะไม่ทําพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป

7. ข้าพเจ้าจะไม่ทําสิ่งที่ขัดต่อคําสอนของพระพุทธเจ้า

8. ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทําพิธีทุกอย่างไป

9. ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน

10. ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน

11. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยครบถ้วน

12. ข้าพเจ้าจะบําเพ็ญบารมี 10 ทัศ โดยครบถ้วน

13. ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจําพวก

14. ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น

15. ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม

16. ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด

17. ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา

18. ข้าพเจ้าจะบําเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา

19. ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทําให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ

20.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง

21. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง

22. ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามคําสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด

จากคําปราศรัยในที่ประชุมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะของด.ร.อัมเบดการ์นั้นเป็นการแสดงถึง ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ต่อมาได้มีผู้พิมพ์คําปราศรัยนี้ลงเป็นหนังสือ เป็นคําปราศรัย ที่ยาวถึง 126 หน้า ขนาด 8 หน้ายก มีตอนหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เช่น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากตระกูลต่างๆ กันย่อมมีความเสมอกันเมื่อ มาสู่ธรรมวินัยนี้แล้วเหมือนมหาสมุทรย่อมเป็นที่รวมของน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำและทะเลต่างๆ เมื่อมาสู่มหาสมุทร แล้วก็ไม่สามารถจะแยกได้ว่าน้ำส่วนไหนมาจากที่ใด”

เป็นที่น่าเสียดายว่าหลังจากพิธีปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธได้ง เดือน ดร.อัมเบดการ์ได้ถึงแก่กรรมด้วย โรคร้าย ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2499 สร้างความยุ่งเหยิงให้กับชาวศูทรมากมายเพราะยังไม่ทันพาพวกเขาไป ถึงจุดหมาย นายกรัฐมนตรี เนรูห์ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า “เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว”

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. มีความมุมานะพยายามในการศึกษาเล่าเรียน แม้จะประสบความลําบาก ความเดือดร้อนมาก เพียงใด ก็ก้มหน้ามุมานะต่อไปโดยไม่หยุดยั้งจนกระทั่งจบปริญญาเอก นี่คือความสําเร็จของเด็กยากจนที่เกิด ในวรรณะศูทรที่ได้มาด้วยความมานะพยายาม

2. มีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อครั้งศึกษาเล่าเรียน คร เอ็มเบดการ์ ได้เผชิญกับปัญหาต่างๆ ถูกข่ม เหงจากนักศึกษาต่างวรรณะ บางคนได้ข่มเหงรังแก ทุบตีอย่างทารุณ แต่ท่านก็ได้กัดฟันต่อสู้ต่อเหตุการณ์ เหล่านั้นด้วยความอดทน และได้นําเหตุการณ์เหล่านั้นมาเป็นกําลังใจให้มีความมุมานะในการศึกษาเล่าเรียนยิ่งขึ้น

3. มีสติปัญญาดี จนสามารถเรียนจนจบปริญญาเอก

4. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ดร.เอ็มเบดการ์ ได้นําหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็น หลักในการปฏิวัติระบบชนชั้นวรรณะของสังคมอินเดีย ดังที่ท่านประกาศไว้ตอนหนึ่งว่า “ระบบ วรรณะนั้น เป็นความบกพร่อง ใครเกิดมาในวรรณะเลวก็ต้องเลวอยู่ชั่วชาติ จะทําอย่างไรก็ไม่มีทางดีขึ้นมาได้ ข้อนี้จึง เป็นเรื่องฟังไม่ขึ้นอีกต่อไป.กฎแห่งกรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีใครลบล้างได้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญความ เพียร ชัยชนะของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความเพียร ยาจกก็สามารถยกตนขึ้นเป็นมหาเศรษฐีได้เพราะความเพียร”

ด้วยที่ท่านมีน้ำใจที่หนักแน่น มีอุดมคติสูงกล้าหาญ เสียสละ จึงได้รับสมญานามว่า มนุษย์กระดูก เหล็ก ฝีปากกล้า และอภิชาตบุตรของชาวหริจันทร์(ชาวศูทร)

ที่มาจาก https://www.gotoknow.org/posts/538194

สรุปสาระสําคัญ

ชาวพุทธตัวอย่างเป็นบุคคลที่สังคมยกย่อง มีทั้งฆราวาสและคฤหัสถ์ บุคคลดังกล่าวมี บทบาทในสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบันในด้านการเผยแผ่ การทํานุบํารุงให้เจริญรุ่งเรือง และปฏิรูป พระพุทธศาสนาให้เข้ากับกาลสมัย และประพฤติตนเป็นแบบอย่างของคนในสังคม