ตอนที่ 4

สิทธิมนุษยชน

  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคําว่า สิทธิมนุษยชน ว่าหมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมี พันธกรณีต้องปฏิบัติตาม

สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิ์ ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กําเนิด ซึ่งไม่สามารถจําหน่าย จ่าย โอน หรือ แจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร์

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า “มนุษยทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียม กันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่าง ฉันพี่น้อง”

  ความดํารงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชน ได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมาย และข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สําหรับคนจํานวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมายและก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานกล่าว ได้ว่า สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ

  สิทธิมนุษยชนมีความสําคัญต่อประเทศและโลกอย่างมาก ทั้งนี้เพราะถ้ารัฐบาลของทุกประเทศ ปฏิบัติต่อพลเมืองของตนตามวิถีทางประชาธิปไตยและปฏิบัติต่อชาวต่างชาติที่ลี้ภัยเข้ามาอย่างมีมนุษยธรรมแล้ว ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน หรือความขัดแย้งระหว่างชาติก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น ถ้ารัฐบาลยินยอมให้ ประชาชนชุมนุมตามวิถีทางประชาธิปไตยโดยสงบ ปราศจากอาวุธ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกระทําบางอย่าง หรือ งดเว้นการกระทําบางอย่าง ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนก็จะไม่เกิดขึ้น