เรื่องที่ 3.9 

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตตโต)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (นามเดิม: ประยุทธ์อารยางกูร) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ.ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อําเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็น บุตรของนายสําราญและนางชุนกี อารยางกูร เมื่อจบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนประชาบาลชัยศรี  ประชาราษฎร์ จากนั้นบิดาได้พาเข้า กรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดปทุมคงคา โดยพักอยู่ ที่วัดพระพิเรนทร์ เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กเรียนเก่ง จึงได้รับทุนเรียนดี จากกระทรวงศึกษาธิการจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และมีความใส่ใจ ในการเรียนมาก ช่วงเวลาปิดเทอมกลับมาอยู่ที่บ้านก็สามารถสอนภาษาอังกฤษแก่น้องๆ ได้

เนื่องจากสุขภาพไม่ดีท่านจึงบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อ ปีพ.ศ.2494 และเข้ามาจําพรรษา ที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร และได้รับการอุปสมบทโดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ณวัดพระศรีรัตนศาสดา ราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเคยให้ สัมภาษณ์ถึงแรงบันดาลใจที่ทําให้ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่เป็นระยะเวลานาน จนมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มาตลอด เป็นเพราะได้อ่านนวนิยายอิงธรรมะของอาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ ทําให้รู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่ง ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกองทัพธรรม

พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจํานวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จักเช่นหนังสือ พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทําให้ท่านได้รับ รางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็น คนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพจากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) นอกจากนี้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับคุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ ดํารง ตําแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจํามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจําพรรษาอยู่ที่วัด ญาณเวศกวัน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

หลังจากสอบชุดวิชาครู พ.ม. ได้ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย และดํารงตําแหน่งติดต่อกันมาถึง 10 ปี มีบทบาททางด้านการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของคณะ สงฆ์ โดยพยายามเชื่อมโยงความรู้ทางธรรมให้เข้ากับปัญหาสังคมร่วมสมัย ในทางด้านการบริหารเคยดํารง ตําแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ ช่วงปี พ.ศ. 2516 และลาออกจากตําแหน่งบริหารหลังจากนั้นในสาม ปีต่อมา โดยทุ่มเทเวลาและกําลังกายให้กับงานด้านวิชาการ ตีพิมพ์ผลงานเป็นหนังสือและบทความออกมา อย่างแพร่หลาย ทั้งร่วมเสวนาและสัมมนาทางวิชาการ กับนักวิชาการและปัญญาชนร่วมสมัยอย่างสม่ำเสมอ

หนังสือพุทธธรรม ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำเอกของวงการพระพุทธศาสนา ได้รับดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ 10 กว่าแห่ง และได้รับรางวัล “การศึกษา เพื่อสันติภาพ” จากยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งท่านได้มอบเงินรางวัลทั้งหมดให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งกองทุนการศึกษาพระธรรมปิฎกเพื่อสันติภาพ พระป.อ. ปยุตโต ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้น ตามลําดับ เป็นพระเทพเวที พระธรรมปิฎกและพระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน

ปัจจุบันพระพรหมคุณภรณ์เป็นเจ้าอาวาสวัดญานเวศกวัน ตําบลบางกระทึก อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และดูแลสํานักสงฆ์สายใจธรรม บนเทือกเขาสําโรงดงยาง ตําบลหนองแหน อําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตลอดชีวิตของพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านได้ใช้ความรู้พระไตรปิฎกแท้ๆ เพื่อช่วยปกป้องสังฆ มณฑลในประเทศไทยหลายกรณี ไม่ว่า กรณีสันติอโศกหรือกรณีวัดพระธรรมกาย ท่านได้ช่วยชี้แจงให้คน ไทยได้รับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่ถูกต้องเอาไว้หลายครั้ง ในขณะเดียวกัน ท่านยังมีบทบาท ในการชี้แนะสังคมไทยในด้านการบริหารประเทศหลายครั้ง เช่น ในหนังสือ มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย ได้ ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของระบบทุนนิยมเสรีในประเทศไทย และยังได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมตะวันตก หรืออเมริกา มีแง่มุมที่ไม่ควรเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศไทยที่จะทําให้เน้นแต่พัฒนาวัตถุ ทําให้นักคิดไทยหลาย คนตื่นตัวมาหาหลักพุทธธรรมเป็นแนวในการพัฒนา ปัจจุบันท่านเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการประจํามูลนิธิ แผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน พุทธมณฑลสาย 4 จ.นครปฐม

ผลงานทางวิชาการพุทธศาสนา

1. พุทธธรรม

2. พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์

3. พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม

4. สถาบันสงฆ์กับสังคมไทยในปัจจุบัน

5. พจนานุกรมพุทธศาสตร์

6. จารึกอโศก

7. ธรรมนูญชีวิต

8. มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย

9. พระพุทธศาสนากับสังคมไทย

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

ท่านเป็นนักการศึกษา และดํารงชีวิตแบบเรียบง่าย มีวัตรปฏิบัติที่อ่อนน้อมถ่อมตน ให้ ความสําคัญและความสนใจแก่ผู้เข้าพบโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ผิวพรรณ เพศ เป็นพระสงฆ์ที่ทํา คุณประโยชน์ต่อวงการพระพุทธศาสนา และสังคมของมวลมนุษย์อย่างหาที่เปรียบมิได้

ที่มาจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=29022