เรื่องที่ 3.2 

การปลูกจิตสํานึกและการมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ

    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่บรรพบุรุษเราชาวไทยรักษาเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ชาวพุทธผู้นับถือพระพุทธศาสนาจึงมีหน้าที่ในการปกป้องพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่ มีคุณค่าและมีประโยชน์ มุ่งเน้นความสงบ สันติต่อสังคม โดยรวม แต่ทั้งนี้ก็อาจมีผู้ที่จ้องทำลาย พระพุทธศาสนา อาจจะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโดยเป้าหมายอย่างอื่น เช่น เพื่อตั้งเป็นเจ้าลัทธิใหม่ ๆ เพื่อ จะตั้งตนเป็นผู้นำความเชื่อใหม่ หรือเพื่อเผยแพร่ศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่น เป็นต้น จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธ ที่จะปกป้องพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. ถ้ามีผู้จะทำลายศาสนาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้แก้ไขด้วยการชี้แจง อธิบาย เผยแพร่ความรู้ให้ถูก ตามหลักทางพระพุทธศาสนา เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการตีความ ที่ผิดพลาด แนะนำให้เห็นบาปบุญคุณโทษของการทำลายศาสนสถาน ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาให้ถูกต้อง หาทางเลิกสิ่งที่ผิด เช่น ในพิธีกรรมไม่ควรมีการดื่มสุรา เป็นต้น

2. ต้องช่วยกันเร่งเร้าให้ฝ่ายบ้านเมืองดำเนินการตามหน้าที่ เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาลุกลามต่อไป เมื่อมีผู้ลำลายศาสนาไม่ว่าจะรูปแบบใด เช่น มีผู้สอน หรือตีความคำสอนอย่างผิด ๆ ต้องช่วยกันแก้ไขและ แจ้งให้ชาวพุทธทั่วไปได้ทราบอย่างเร่งด่วน อย่าทิ้งไว้จนมีผู้หลงผิดปฏิบัติไปตามนั้น

3. หากมีการดำเนินการใดที่จะทำลายสถาบันศาสนา ต้องแสดงตนปกป้องภัยและชี้ให้ประชาชนเห็น ภัยอันตรายนั้น และช่วยกันป้องกัน การปฏิบัติตามวิธีการทั้งหมดควรทำด้วยเมตตาด้วยวิธีละมุนละม่อม ใช้ เหตุผลถือหลักความถูกต้องชอบธรรมและไม่ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง

       การที่ชาวพุทธจะเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนาได้ ต้องเตรียมความพร้อมในการเป็นชาวพุทธก่อน คือ

       1. ต้องยืนยันถึงความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง พระพุทธศาสนามีประโยชน์และคุณค่า ต่อชีวิตของชาวพุทธอย่างแท้จริง

       2. ต้องศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาให้รู้อย่างถูกต้องถ่องแท้

       3. รู้และปฏิบัติตามหลักธรรมและหลักพิธีกรรมอย่างถูกต้อง

       4. อุปถัมภ์ ทำนุบำรุงศาสนสถาน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา

       นอกเหนือจากการปลูกจิตสำนึกให้กับชาวพุทธในการธำรงรักษาและปกป้องพระพุทธศาสนาแล้ว ชาวพุทธ จะต้องมีการรวมกลุ่ม และมีส่วนร่วมในองค์กรของชาวพุทธ ซึ่งมีหน้าที่ในการชี้แจง พระพุทธศาสนา

การชี้แจงพระพุทธศาสนา หมายถึง การพูดขยายความให้เข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาใน กรณีที่พระพุทธศาสนาถูกผู้ไม่มีความรู้ที่แท้จริงกล่าวถึงในทางที่ผิด ๆ คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และถูกบุคคลหรือองค์การต่างชาติต่างศาสนาพูดถึงพระพุทธศาสนาที่ไม่ถูกต้อง

       การชี้แจงพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกับการถ่ายทอดพระพุทธศาสนา ชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ หรือ ชาวบ้าน ไม่ควรผลักภาระหน้าที่ให้แก่พระภิกษุสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะในกรณีที่พระพุทธศาสนาถูกบุคคล หรือองค์การต่างชาติ ต่างศาสนาระราน ชาวพุทธทุกคนทุกฝ่ายทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายชาวบ้านควรช่วยกัน ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง

       นับตั้งแต่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลก พระพุทธศาสนาถูกบุคคลในองค์การลัทธิและศาสนาอื่น ระรานมาโดยตลอด แต่พระพุทธศาสนาก็สามารถดำรงสืบต่อและเจริญมั่นคงมาได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะ ชาวพุทธทุกฝ่ายร่วมมือกันชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

       มีชาวพุทธเป็นจำนวนมากที่มีความเข้าใจไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะหลักธรรมคำสอนบางเรื่อง เช่น เรื่องความสันโดษ เรื่องความมักน้อย เรื่องกรรม เป็นต้น แล้ว กล่าวหาว่าเพราะพุทธศาสนาสอนเรื่องเหล่านี้ทำให้คนเกียจคร้าน เฉื่อยชาและเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา ประเทศชาติ ในกรณี เช่นนี้เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่มีความเข้าใจเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ต้องชี้แจง ให้ชาวพุทธเหล่านั้นได้เข้าใจ และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

       ตัวอย่างเช่น ในกรณีของความเข้าใจผิดเรื่องความสันโดษ ควรชี้แจงให้เขาเข้าใจว่า คำสอนเรื่อง ความสันโดษนี้ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้าน เฉื่อยชา ตรงกันข้ามความสันโดษกลับเป็นคำสอนที่ส่งเสริม การพัฒนาและการพัฒนาสังคม เพราะความสันโดษไม่สกัดกั้นความเพียร ไม่หยุดยั้งความอุตสาหะ ไม่ขวางกั้น ความใฝ่รู้เรียน สันโดษสอนคนให้มีความพอใจในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ดีที่สุดของตนแล้วเมื่อมีความพอใจก็สามารถประคองจิตให้สงบเยือกเย็น พ้นจากความวุ่นวายและลดความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ที่จะกอบโกยเอาทุกสิ่งมาเป็นของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

       ในกรณีอื่น ๆ ก็เช่นกัน หากพบเห็น ใครพูดผิด เขียนผิดและกระทำผิด ถ้าอยู่ในวิสัยที่พอจะชี้แจงได้ ต้องรีบชี้แจงให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงและให้เกิดความเข้าใจตามความเป็นจริง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะจะ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด อาจสร้างความเสื่อมเสียและความมัวหมองให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนาได้

       ตัวอย่างเช่น การสวมหมวก สวมรองเท้าหรือแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อยเข้าไปในโบสถ์ ซึ่งเป็น สถานที่ที่ชาวพุทธเคารพ การเล่นการพนันและดื่มสุราในวัด การยิงนก ตกปลาของเด็ก ๆ ในวัด การกล่าว ล้อเลียนสถาบันทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธเคารพนับถือ การวางมือ บนเศียรพระพุทธรูป เพื่อถ่ายรูป การซื้อพระพุทธรูปไปทำเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้าน การเข้าไปจับมือถือแขนพระสงฆ์ของชาวต่างชาติ เป็นต้น การกระทำดังกล่าว บางครั้งอาจทำไปด้วยความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าเราเห็นก็ควรแนะนำ ชี้แจงให้เขาเข้าใจและปฏิบัติถูกต้อง


https://www.slideshare.net/pricestation/ss-33060621

หลักการชี้แจงพระพุทธศาสนา

       การชี้แจงพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ ควรเริ่มต้นตั้งแต่ระดับครอบครัว วงศาคณาญาติ มิตรสหาย และขยายวงกว้างไปยังบุคคลอื่น ๆ พระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ชาวพุทธช่วยกันทำหน้าที่ในการชี้แจงให้บุคคลหรือองค์การต่างชาติต่างศาสนา ที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

       การชี้แจงพระพุทธศาสนามีหลักการข้อหนึ่งที่ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ควรยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ หลักการ ดังกล่าวปรากฏอยู่ในพระโอวาทปาติโมกข์ คือ อนุปวาโทแปลว่าการไม่กล่าวร้ายผู้อื่น หมายความว่าในการชี้แจง พระพุทธศาสนานั้น ชาวพุทธไม่ควรกล่าวร้าย หรือให้ร้ายป้ายสีหรือกระทบกระเทียบผู้อื่น หรือศาสนาอื่น โดยถือหลักว่า เมื่อถูกใครเขาใส่ร้ายไม่ควร โต้ตอบ เพราะการโต้ตอบเป็นชนวนของการทะเลาะวิวาท ไม่ควร ตำหนิ ด่าว่า หรือแสองอาการโกรธเคืองจนเกิดเหตุ แต่ควรชี้แจงให้เขารู้และเข้าใจด้วยเหตุผลตามความเป็นจริง ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธเจ้า พระสาวกได้ทรงกระทำและปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างมาแล้วในอดีต


สรุปสาระสำคัญ

https://twitter.com/kanyaroses1/status/982118490873126913


     พระพุทธศาสนามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมไทย พุทธศาสนิกชนจึงต้องทำความเข้าใจในหน้าที่ ของตนเองให้ถูกต้อง โดยการเป็นชาวพุทธที่ดี ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง มีความมั่นคง รวมทั้งพยายามศึกษาหาความรู้ ปฏิบัติตามหลักธรรมและประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา เผยแผ่และปกป้อง พระพุทธศาสนา และส่วนร่วมกับสังคมชาวพุทธอื่น ๆ