เรื่องที่ 1.3 การขัดเกลาทางสังคม 

ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/259627

1. การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) หมายถึง การถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่สมาชิกในสังคม เป็นกระบวนการทางสังคมและจิตวิทยาซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ

       การขัดเกลาทางสังคมเป็นการปลูกฝังระเบียบวินัย ความมุ่งหวังให้รู้จักบทบาทและทัศนคติ ความชำนาญหรือทักษะ ทั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วยดี การขัดเกลาทางสังคมช่วยให้สมาชิก ได้เรียนรู้และปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมอาชีพหรือสื่อมวลชนต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้การกระทำต่อผู้อื่นเป็นไปอย่างเหมาะสมรู้จักปฏิบัติตนในฐานะ สมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีระเบียบเพิ่มขึ้น

       กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดมาในโลก เด็กที่เกิดมาต้อง ได้รับการอบรมสั่งสอนให้มีความเป็นคนโดยแท้จริง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น ตัวแทนสำคัญที่ ทำหน้าที่นี้คือ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สถานศึกษา ศาสนา และสื่อสารมวลชน ทำหน้าที่อบรมให้ความรู้ ปลูกฝังคุณธรรม ชี้ให้เห็นคุณค่า และอุดมคติที่สังคมยึดมั่น เรียนรู้บรรทัดฐานการอยู่ร่วมกันในสังคม


2. ประเภทของการขัดเกลาทางสังคม ได้แก่

                2.1 การขัดเกลาทางสังคมทางตรง เช่น การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ให้กับลูก เริ่มด้วย การสอนพูด สอนมารยาทในสังคม ปลูกฝังคุณธรรมในด้านต่าง ๆ ด้วยคำพูด คำสอน การบอกกล่าวโดยตรง

                2.2 การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อ่านนวนิยาย หนังสือ ร่วมในกลุ่มเพื่อนฝูง ดูข่าวสารจากอินเตอร์เน็ต ผู้รับข่าวสารอาจจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ได้ อาจจะเป็นการซึมซับที่ละเล็กทีละน้อย ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปรับบุคลิกภาพของคน เช่น การดูคอนเสิร์ตนักร้องเกาหลีทำให้วัยรุ่นเลียนแบบการแต่งกายแบบเกาหลี การดูภาพยนตร์เกี่ยวกับการปล้นเพชร แล้วนำวิธีการมาใช้ปล้นร้านเพชรจริง ๆ เป็นต้น ดังนั้น บางเรื่องสังคมยอมรับได้ แต่บางเรื่องสังคมอาจจะไม่ยอมรับก็ได้

ที่มา: https://sites.google.com/site/wichahnathiphlmeuxngsilthrrm/kar-cad-rabeiyb-elea-kar-khadkela-thang-sangkhm/pra-pheth-elea-cud-mung-hmay-khxng-kar-khadkela-thang-sangkhm

ที่มา: https://www.matichon.co.th/education/news_1535784


3.1 ครอบครัว เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม เป็นการถ่ายทอด ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรมแก่สมาชิกตลอดชีวิต 

3.2 โรงเรียน เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ต่อเนื่องจากครอบครัว คือ ให้ความรู้และคุณธรรม ตลอดจนการปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ 

3.3 กลุ่มเพื่อน เป็นสังคมของคนที่มีความชอบ ความคิดเห็น บุคลิกลักษณะ ฐานะทาง เศรษฐกิจใกล้เคียงกัน เมื่อมาอยู่รวมกันจะต้องมีการปรับตัวเข้าหากัน เพราะแต่ละคนมาจากครอบครัวที่ แตกต่างกัน การอยู่ร่วมกันและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มเพื่อน เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 

3.4 ศาสนา เป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม ศาสนาทุกศาสนาสอน ให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ดังนั้น สถาบันศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญในการทำ ให้สมาชิกของสังคมประพฤติตนเป็นคนดีในกรอบของสังคมนั้น ๆ โดยการถ่ายทอดแนวทางการดำเนินชีวิต ให้กับคนในสังคม

ที่มา: https://www.matichon.co.th/columnists/news_973578

ที่มา: https://www.amnesty.or.th/latest/news/71/


3.5 สื่อมวลชน ในปัจจุบันสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อคนในสังคมอย่างมากในลักษณะของ การถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนกฎระเบียบทางสังคม ซึ่งสามารถทำได้ อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทำให้คนในสังคมได้เรียนรู้เรื่องราวในสังคมตนเองและสังคมโลก

      นอกจากนี้กระบวนการขัดเกลาทางสังคมยังมีอีกหลายองค์กรที่มีบทบาทในปัจจุบัน เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสหภาพแรงงาน กลุ่มองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ แต่ละกลุ่มจะมีระเบียบ กฎเกณฑ์ ในการปฏิบัติแตกต่างกันไป

          สรุปได้ว่าการขัดเกลาทางสังคมมีทั้งการขัดเกลาโดยตรง โดยการบอกว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใด ไม่ควรทำและการขัดเกลาโดยอ้อมโดยการเรียนรู้จากการกระทำของคนอื่น หรือเรียนรู้จากสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่มีการบอกโดยตรง


สรุปสาระสำคัญ

       สังคมเกิดจากการรวมตัวกันของมนุษย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป แล้วค่อย ๆ พัฒนาจนกลายเป็นสังคมที่มี ขนาดใหญ่ มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเพราะมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน ในการดำรงชีวิต เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะความต้องการ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

       ในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมจะต้องมีการวางรูปแบบกฎเกณฑ์ของพฤติกรรม โดยเฉพาะการมี กฎหมาย กฎศีลธรรม และกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่ละกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ เพื่อความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1587228