เรื่องที่ 2.1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ที่มา: https://slideplayer.in.th/slide/16167004/


1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) หมายถึง การเปลี่ยนระเบียบของสังคมในการ กระทำเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต การเปลี่ยนแปลงวัตถุสิ่งของเครื่องใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีการผลิตแบบแผนการ ดำรงชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมในสังคม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และแบบแผนความ ประพฤติของคนในสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสถาบันในสังคม 

2. ประเภทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สามารถจำแนกได้ดังนี้

                2.1 การเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลที่สร้างความสัมพันธ์ แปลกใหม่ต่อกัน และการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในกลุ่ม เช่น การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเปลี่ยนแปลง การผลิตสินค้ารูปแบบใหม่ ส่งออกจำหน่ายในนามชุมชน หรือกลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น

                2.2 การเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค เป็นการเปลี่ยน โครงสร้างโดยรวมของสังคม เช่น การเลิกทาส ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้น

                การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดย่อมมีผลต่อวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ระเบียบแบบแผนและแนวทางปฏิบัติของคนในสังคม

ที่มา: https://www.matichon.co.th/columnists/news_1121421

ที่มา: https://www.sanook.com/music/2362697/

3. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

                3.1 ปัจจัยภายใน ได้แก่ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เช่น เครื่องจักรไอน้ำ หลอดไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มีส่วนทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้คนสะดวกสบายขึ้น มีการ ติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ มีผลต่อการดำรงชีวิต ภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงไป เกิดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศย่อมจะมีผลต่อการผลิต การบริโภค ซึ่งหมายถึงเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วย

                3.2 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การแพร่กระจายของวัฒนธรรมต่างชาติ เกิดการเลียนแบบกัน เช่น ระบบการศึกษา การแต่งกาย อาหาร ยารักษาโรค เทคโนโลยี เป็นต้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม