เรื่องที่ 3.12 

สุชีพ ปุญญานุภาพ

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด ณ ตําบลบางไทรป่า อําเภอบาง ปลา (คืออําเภอบางเลนในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม เมื่อวันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2460 ในครอบครัวที่มีอาชีพค้าขาย

ในวัยเด็กอาจารย์ได้ศึกษาจบชั้นประถมปีที่ 5 ซึ่งเทียบ มัธยมศึกษาปีที่ 2 ในสมัยนั้น เมื่อจบการศึกษาเบื้องต้นแล้ว ได้เข้าเรียนภาษาบาลีที่วัดกันมาตุยาราม กรุงเทพฯ อายุราว 13 ปี ก็กลับไปบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อในทางพระศาสนาต่อไป ณวัดสัมปทวน อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยเป็นศิษย์ของพระปฐมนคราจารย์ (วงศ์ โอทาตวณ โณ) เจ้าอาวาสวัดสัมปทวน และเจ้าคณะจังหวัดนครปฐมในขณะนั้น แล้วจึงเข้ามาศึกษาเล่าเรียนต่อ ณ วัดกันมาตุยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ จนสอบไล่นักธรรมและบาลีได้เป็นเปรียญธรรม 7 ประโยคตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

ท่านได้อุปสมบท ณ วัดกันมาตุยาราม เมื่อ พ.ศ. 2480 โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษา จารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สุชีโว หลังจากอุปสมบทได้ 2 พรรษา ก็สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2482

นอกจากจะมีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานเป็นอันดีแล้ว อาจารย์ยังมีความรู้ในภาษาสันสกฤตและ ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิชาการสมัยใหม่ต่าง ๆ ที่เป็นว่าภิกษุสามเณรควรจะ เรียนรู้เพื่อประโยชน์แก่การที่จะนํามาประยุกต์กับการสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งวิชาการทั้งหลายเหล่านี้ อาจารย์ก็พยายามขวนขวายศึกษาเอาด้วยตนเอง โดยการอ่านตํารับตําราทั้งที่เป็น ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จนกล่าวได้ว่า อาจารย์เป็นพระหนุ่มที่มีหัวก้าวหน้า มีโลกทัศน์กว้างไกล และมีวิธีการเทศนาสั่งสอนพระพุทธศาสนาแนวใหม่ที่ทันสมัย เป็นที่นิยมชมชอบและเป็นที่รู้จักของ พุทธศาสนิกชนทั้งประเทศในขณะนั้น ในนามว่า “สุชีโวภิกขุ”

จากประสบการณ์ของอาจารย์เองทําให้เห็นว่า ความรู้ภาษาต่างประเทศและความรู้ในวิชาการ สมัยใหม่นั้น เป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ฉะนั้นอาจารย์จึงมีความ ปรารถนาที่จะให้ภิกษุสามเณรได้เรียนรู้วิชาการเหล่านี้ เพื่อจะได้เป็นศาสนทายาทที่มีคุณภาพ ทันโลกทัน เหตุการณ์ อันจะทําให้สามารถสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิผล

ด้วยความปรารถนาดังกล่าวแล้ว อาจารย์จึงได้ริเริ่มสอนภาษาอังกฤษและวิชาการสมัยใหม่บาง วิชา ที่สามารถสอนได้ด้วยตนเองแก่ภิกษุสามเณรวัดกันมาตุยาราม เป็นการกระตุ้นให้พระหนุ่มเณรน้อยสนใจ ใฝ่รู้ในวิชาการต่าง ๆ และเห็นคุณประโยชน์ของวิชาการเหล่านั้นในแง่ของการนํามาส่งเสริมการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา

อาจารย์ได้เริ่มสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิชาอื่น ๆ อีกบ้าง แก่ภิกษุสามเณรที่สนใจ โดยใช้ชั้นล่างของกุฏิที่พักของอาจารย์นั่นเองเป็นสถานที่เรียน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากพระหนุ่มเณรน้อย ไม่น้อย มีผู้มาเล่าเรียนกันมาก

ต่อมา ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งขณะนั้นดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งตั้งสํานักงานอยู่ ณ ตึกหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทราบว่าอาจารย์ได้เปิดสอนภาษาและวิชาการสมัยใหม่แก่พระภิกษุสามเณรที่วัด กันมาตุยารามดังกล่าวแล้ว วันหนึ่งท่านจึงได้ปรารภกับอาจารย์ว่า เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ ทําไม ไม่ตั้งเป็นโรงเรียนสอนกันให้เป็นเรื่องเป็นราวเสีย

จากคําปรารภของท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (สุวจเถระ) นี้เอง ที่เป็นแรงกระตุ้นและแรงใจให้ อาจารย์เกิดความคิดที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น ต่อมาเมื่อได้นําความคิดนี้ไปปรึกษากับพระเถรานุเถระ ในคณะธรรมยุตก็ได้รับการสนับสนุนเป็นส่วนมาก มีติติงอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อย อันเนื่องมาจากยังไม่ค่อยแน่ใจ ในระบบการศึกษาและวิธีการ ในที่สุดพระเถรานุเถระในคณะธรรมยุตก็ได้มีการประชุมกัน และมีมติให้ จัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นในนามของมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเคยเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์มาแต่เดิมแล้ว โดย เรียกว่า “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย” เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ แต่ครั้งยังไม่ได้ทรงกรม ในฐานะองค์นายกกรรมการมหา มกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทรงลงพระนามประกาศตั้งเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2488 สภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย จึงเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกในประเทศไทย

ในระหว่างนี้ อาจารย์ได้เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สําคัญขึ้นอีกอย่าง หนึ่ง คือ ยุวพุทธิกสมาคม โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ซึ่งเป็นศิษย์คนสําคัญของอาจารย์ เป็นผู้นําในการ จัดตั้ง แล้วยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้จัดตั้งขึ้น ณ วัดกันมาตุยาราม เป็น ครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2491 และยังคงเป็นองค์กรที่มีบทบาทสําคัญองค์กรหนึ่งของพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยสืบมาจนปัจจุบัน

หลังจากที่ลาสิกขาแล้ว อาจารย์ก็ยังช่วยเหลือกิจการของสภาการศึกษามหามกุฎรอยู่ตลอดมา โดย การเป็นกรรมการ เป็นที่ปรึกษา และเป็นอาจารย์บรรยายวิชาทางพระพุทธศาสนาและศาสนาเปรียบเทียบ

อาจารย์ได้เข้ารับราชการครั้งแรกในกระทรวงวัฒนธรรม โดยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการ และระหว่างนั้นได้รับพระราชทาน ยศในกองทัพเรือเป็นว่าที่นาวาตรี ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติอีกตําแหน่ง หนึ่งต่อมาได้ลาออกจากกระทรวงวัฒนธรรมแล้วเข้าทํางานในองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย อสท.) ในฐานะที่ปรึกษา จากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้อํานวยการและรองผู้อํานวยการ ตามลําดับ อาจารย์ได้ทํางาน ณ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จนกระทั่งเกษียณอายุเมื่อ กลางเดือนเมษายน 2520

เมื่อเกษียณอายุจากหน้าที่การงานแล้ว อาจารย์ก็ได้อุทิศชีวิตให้แก่กิจการทางพระพุทธศาสนาอย่าง เต็มที่ ได้กลับมาช่วยกิจการทางวิชาการของสภามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นผู้บรรยายวิชาทางพระพุทธศาสนา เป็นกรรมการสภาการศึกษาของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ ก็ยังได้รับ เชิญเป็นอาจารย์พิเศษ บรรยายวิชาทางพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยของรัฐอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัย ศิลปากร มหาวิทยาลัยรามคําแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

กิจการทางพระพุทธศาสนาที่สําคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่อาจารย์ได้เข้ามาช่วยอย่างเต็มตัว หลังจากที่ อาจารย์เกษียณอายุแล้ว ก็คือ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) โดยได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการ อํานวยการ ดูแลรับผิดชอบกิจกรรมทางวิชาการของ พสล. เป็นส่วนใหญ่

อาจารย์เป็นผู้มีพรสวรรค์ในการประพันธ์ สามารถประพันธ์ได้ทั้งในเชิงร้อยแก้วและร้อยกรอง ผลงาน ในทางการประพันธ์ของอาจารย์ จึงมีทั้งที่เป็นบทกวี ความเรียงทางวิชาการ บทความ และนวนิยาย ข้อเขียนของอาจารย์ซึ่งรวมไปถึงบทเทศนา และการบรรยายธรรมด้วย เป็นถ้อยคําสํานวนแบบเรียบ ๆ ง่าย ๆ แต่กะทัดรัด ชัดเจนและมีความไพเราะอยู่ในตัว อาจารย์ได้เริ่มแสดงความสามารถในทางการประพันธ์ และการบรรยายตั้งแต่ยังเป็นสามเณรเปรียญ

ผลงานที่โดดเด่นที่ทําให้อาจารย์เป็นที่รู้จักกันทั่งไปในนามว่า “สุชีโวภิกขุ” และตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน ก็คือความสามารถในการมองและอธิบายพระพุทธศาสนาในแง่มุมที่แปลกใหม่ อันเป็นแง่มุมที่ ไม่เคยมีใครมองมาก่อน หรือเป็นแง่มุมที่คนทั่วไปมองไม่เห็น และนําเอาประเด็นที่สําคัญและโดดเด่นของ พระพุทธศาสนาในแง่มุมนั้นๆ ออกมาแสดงให้คนทั่วไปได้รู้จักตัวอย่างของผลงานของอาจารย์ที่แสดงให้เห็น ถึงความสามารถดังกล่าวนี้ ก็เช่น หนังสือเรื่อง “คุณลักษณะพิเศษบางประการแห่งพระพุทธศาสนา” (ซึ่งก็มี แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย) รวมทั้งบทความและปาฐกถาอื่น ๆ อีกจํานวนมาก

ผลงานที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของอาจารย์ก็คือการอธิบายพระพุทธศาสนาแนวใหม่ โดยการ นําเอาความรู้วิชาการสมัยใหม่ เช่นวิทยาศาสตร์ ปรัชญา สังคมศาสตร์ เป็นต้น มาประยุกต์กับหลักธรรมใน พระพุทธศาสนา ทําให้คนทั่วไปเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ดีและง่ายขึ้น ทั้งทําให้มองคุณค่าของพระธรรมคําสอน ในพระพุทธศาสนาว่ามีความทันสมัย สามารถนํามาปรับใช้ได้กับทุกสถานการณ์ หากศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ ในคําสอนของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี นอกจากนี้ การอธิบายพระพุทธศาสนาในแนวประยุกต์ดังกล่าวนี้ ยังเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า บรรดาศาสตร์หรือวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ที่กําลังศึกษาหรือตื่นเต้นกันอยู่ในปัจจุบันนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้เคยแนะนําสั่งสอนประชาชนมาแล้วทั้งนั้นในหลักการใหญ่ ๆ ความสามารถ ในการอธิบายพระพุทธศาสนาแนวใหม่ หรือแนวประยุกต์นี้เอง ที่ทําให้นาม “สุชีโวภิกขุ” ดังกระฉ่อนไปทั่วประเทศ

ผลงานของอาจารย์ในด้านนี้ ไม่เพียงแต่ทําให้ชื่อเสียงของอาจารย์เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยม ชมชอบไปทั่วประเทศเท่านั้น แต่ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อวงการศึกษาและเผยแผ่พระพุทะศาสนาด้วยเป็นอัน มาก เพราะเป็นการจุดประกายแห่งความริเริ่มและความสนใจในการศึกษาวิจัยทางพระพุทธศาสนาให้ เกิดขึ้นในวงการศึกษาและวงการนักวิชาการของไทย และในเวลาต่อมาก็ได้มีการศึกษาวิจัยทาง พระพุทธศาสนาในแนวประยุกต์กันอย่างจริงจัง และกว้างขวางยิ่งขึ้น ผลงานของอาจารย์ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความริเริ่มในด้านนี้ ก็เช่น ความเรียงเรื่อง “พระพุทธศาสนาในแง่ปรัชญาและ วิทยาศาสตร์” “พระพุทธศาสนากับสันติภาพของโลก” “แง่คิดบางประการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นต้น

โดยลักษณะส่วนตัว อาจารย์เป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนน้อม ดําเนินชีวิตแบบสงบและเรียบง่าย มีเมตตากรุณาต่อทุกคน ไม่เบื่อหน่ายในการที่จะให้คําแนะนําหรือปรึกษาในทางวิชาการแก่ศิษย์หรือผู้สนใจ มีวาจาในเชิงสร้างสรรค์และส่งเสริมให้กําลังใจแก่ทุกคนที่มีโอกาสพบปะสนทนาด้วยเสมอ อาจารย์จึง เป็นที่เคารพรักของบรรดาศิษย์และผู้รู้จักคุ้นเคยทั่วไปอย่างจริงจัง

ที่มาจาก https://th.wikipedia.org/สุชีพ_ปุญญานุภาพ