เรื่องที่ 3.8 

พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทโท)

หลวงปู่ชา สุภัทโท พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หรือ หลวงพ่อชา หรือ อาจารย์ชา เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตําบลธาตุ อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจํานวน 10 คน

หลวงปู่ชา สุภทโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผล ทํา ให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสํานักปฏิบัติธรรมในนามวัด สาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทาง ปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้ จนถึงปัจจุบัน

หลวงปู่ชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตําบลธาตุ อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน ภายหลัง เมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้นเอก

เมื่ออายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว โยมบิดาได้นําไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อ เรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรชา โชติช่วง เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวนาราม อุบลราชธานี เป็น อุปัชฌาย์ สามเณรชา โชติช่วง ได้อยู่จําพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสวดมนต์ ทําวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเถระ แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทําไร่ทํานา ทั้งนี้ด้วยความจําเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสํานึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมทบเป็นพระให้ได้ เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดาและท่านทั้ง 2 ก็อนุญาตแล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อ ใน ใกล้บ้าน แล้ว ได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ พัทธสีมาวัดก่อใน ตําบลธาตุ อําเภอวารินชําราบ อุบลราชธานี

เมื่อพระชา สุภัทโท สอบนักธรรมตรี ได้แล้ว ก็อยากเรียนให้สูงขึ้นเพราะมีจิตใจรัก ชอบทางธรรมอยู่แล้ว แต่ขาดครูอาจารย์ในการสอนระดับสูงต่อไป นึกถึงภาษิตอีสานที่ว่า “บ่ออกจาก บ้านบ่ฮูฮ่อมทางเที่ยว บ่เฮียนวิชาห่อนสิมีความอ้” ชีวิตช่วงนี้จะเห็นได้ชัดว่า พระชา สุภัทโท มุ่งเรียนปริยัติ ธรรมให้สูงสุด จึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี และผ่านสํานักต่างๆ มากมายจนในที่สุดก็สอบ นักธรรมได้ครบตามหลักสูตร คือ สอบนักธรรมชั้นโทได้ ในสํานักของ พระครูอรรคธรรมวิจารณ์ สอบ นักธรรมชั้นเอก ได้ในสํานักวัดบ้านก่อนอกถิ่นเกิด

หลวงปู่ชา สุภทโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม และเผยแผ่พุทธศาสนา ทั้ง แก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทําให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่ เป็นพระธรรมเทศนา และสํานักปฏิบัติธรรม ดังนี้

1. ธรรมเทศนา สําหรับบรรพชิต สําหรับคฤหัสถ์ เสียสละเพื่อธรรม การเข้าสู่หลักธรรม ธรรมะ ที่หยั่งรู้ยาก ธรรมะธรรมชาติ ปฏิบัติกันเถิด ธรรมปฏิสันถาร สองหน้าของสัจธรรม ปัจฉิมกถา การฝึกใจ มรรคสามัคคี ควงตาเห็นธรรม อยู่เพื่ออะไร เรื่องจิตนี้ น้ำไหลนิ่ง ธรรมในวินัย บ้านที่แท้จริง สัมมาสมาธิ ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้า ความสงบบ่อเกิดปัญญาพระองค์เดียว นอกเหตุเหนือผล สมมตติและวิมุตติ การทํา จิตให้สงบ ตุจโฉ โปฏฐิละ ดวงตาเห็นธรรม ทําใจให้เป็นบุญ ทรงไว้ซึ่งข้อวัตร เหนือเวทนา เพียรละกาม ฉันทะ ทางพ้นทุกข์ ไม่แน่คืออนิจจัง โอวาทบางตอน อ่านใจธรรมชาติ อยู่กับงูเห่า สัมมาทิฐิที่เยือกเย็น มรรคผลไม้พ้นสมัย นักบวชนักรบ ธุดงค์ทุกข์ดง สัมมาปฏิปทา พึงต่อสู้ความกลัว กว่าจะเป็นสมณะ เครื่อง อยู่ของบรรพชิต กุญแจภาวนา วิมุตติ

2. สํานักปฏิบัติธรรม มีสํานักปฏิบัติธรรม ในประเทศไทยซึ่งอยู่ทุกภาคของประเทศจํานวน ทั้งสิ้น 82 สาขา และในต่างประเทศอีก 7 สาขา และเฉพาะศิษย์ที่เป็นพระชาวต่างประเทศซึ่งอยู่เป็นประธาน สงฆ์ผู้มีพรรษาต่ำ สุดคือ 16 พรรษา

คําสอนของหลวงปู่ชาทั้งหมด สามารถสรุปลงได้ดังนี้

1. จุดหมาย : มรรค ผล นิพพาน พ้นทุกข์

2. เนื้อหา : ศีล สมาธิ ปัญญา

3. วิธีการ : สมถวิปัสสนา

4. กลวิธี : มองเข้าหาตัว ดูธรรมชาติ เปรียบเทียบ กับธรรมชาติ ทําให้ดู แล้วรู้ตาม

หยุดชั่ว มันก็ดี

การ ไม่กระทําบาปนั้นมันเลิศที่สุด บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้

แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั้นนะ มันยากที่สุด

การจะละความชั่วไม่กระทําผิดมันยาก การทําบุญ โจรมันก็ทําได้ มันเป็นปลายเหตุ

การไม่กระทําบาปทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะเป็นต้นเหตุ

ที่มาจาก http://www.dhammathai.org/sounds/cha.php

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

หลวงปู่ชาเป็นผู้ที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังลูกศิษย์ด้วยภาษา ที่ง่ายเหมาะแก่การปฏิบัติ นอกจากนี้ท่านยังเน้นการปฏิบัติที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยวัตรปฏิบัติที่ เป็นแบบอย่างของท่านเอง และด้วยถ้อยคําสอนที่เรียบง่ายตามหลักพุทธธรรม