เรื่องที่ 1.1 สถาบันทางสังคม 

ที่มา: https://sites.google.com/site/khrusuphwrrn59/home/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-3-sthaban-thang-sangkhm


1. สถาบันทางสังคม หมายถึง ระบบหรือรูปแบบความสัมพันธ์ กระบวนการและวัสดุอุปกรณ์ที่สร้าง ขึ้นเพื่อสนองความต้องการของคนในสังคม ในแต่ละสถาบันจะมีจารีต ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ กฎเกณฑ์ อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น

2. ลักษณะสำคัญของสถาบันทางสังคม

       2.1 สถาบันสังคมเป็นนามธรรม สถาบันสังคมไม่ใช่ตัวบุคคลหรือกลุ่มคน ไม่ใช่สิ่งของ แต่เป็น แบบแผนพฤติกรรมซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกทุกคน

       2.2 สถาบันสังคมเกิดจากการเชื่อมโยงบรรทัดฐานต่าง ๆ ทางสังคม ซึ่งได้แก่ วิถีชาวบ้าน จารีต และกฎหมาย โดยเป็นส่วนของวัฒนธรรมในสังคม

       2.3. สถาบันสังคมเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ร่วมกันของสมาชิกในสังคม และ เพื่อการคงอยู่ของสังคม

       2.4. สถาบันสังคมเกิดจากการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม สถาบันสังคมจึงเป็นระเบียบ แบบแผน พฤติกรรมที่ชัดเจนและเปลี่ยนแปลงได้ยากเนื่องจากเกิดขึ้น โดยการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม

ที่มา: http://social2561.blogspot.com/2018/09/5.html

ที่มา: https://www.bannongnokkariean.ac.th/ค่านิยม/

3. องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม

       3.1 กลุ่มสังคม สถาบันสังคมประกอบไปด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้ การกระทำระหว่างสมาชิกบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยประกอบด้วยสถานภาพหรือตำแหน่งทางสังคม และบทบาทหน้าที่ เพื่อให้แบบแผนพฤติกรรมดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของกลุ่มสังคมนั้น

       3.2 หน้าที่ของสถาบันทางสังคม หมายถึง วัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการของสังคม ในด้านต่าง ๆ ของสถาบันสังคมแต่ละสถาบัน

       3.3 แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน นั้น ได้แก่ บรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งประกอบไปด้วยวิถีชีวิต ทำให้กิจกรรมในการดำเนินชีวิตของสมาชิก ในสังคม สามารถสนองวัตถุประสงค์ของสถาบันสังคมนั้น

       3.4 สัญลักษณ์ และค่านิยม ทำให้สมาชิกเกิดอุดมการณ์และศรัทธาต่อสถาบันสังคมเช่น ธงชาติ เป็น สัญลักษณ์ของสถาบันการเมืองการปกครอง เสรีภาพและความเสมอภาค เป็นค่านิยมของสถาบันการเมือง การปกครองในสังคมประชาธิปไตย เป็นต้น

4. ประเภทสถาบันทางสังคมที่สำคัญ สถาบันทางสังคม แยกได้ 6 สถาบัน ดังนี้

         4.1 สถาบันครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การอบรมเลี้ยงดู บุตร และแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องตามสังคม

       กลุ่มสังคมในสถาบันครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน เดียวกัน เช่น บิดา มารดา บุตร วงศาคณาญาติที่เกี่ยวข้องโดยสายโลหิต หรือการสมรส หรือมีบุตรบุญธรรม

                1) หน้าที่ของสถาบันครอบครัว

(1) ผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม เพื่อทดแทนสมาชิกของสังคมที่สิ้นชีวิตลง                 

(2) เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ให้มีชีวิตรอด เนื่องจากทารกแรกเกิดและเด็กไม่สามารถดูแลตนเองได้

(3) ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่สมาชิกใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

(4) อื่น ๆ ได้แก่ การสนองความต้องการทางจิตใจ ทำหน้าให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิก

         แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิกสถาบันครอบครัวประกอบไป ด้วยแบบแผนพฤติกรรมซึ่งเป็นบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ประเพณีการหมั้น สมรสเป็นต้น สถาบันครอบครัวใน สังคมแต่ละแห่งย่อมมีแบบแผนพฤติกรรมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของสังคม เช่น มีรูปแบบประเพณี การสมรสแตกต่างกันไป เป็นต้น

                2) สัญลักษณ์และค่านิยม สัญลักษณ์ของสถาบันครอบครัวที่สำคัญ คือ แหวนหมั้น แหวน แต่งงาน เป็นต้น สถาบันครอบครัวในแต่ละสังคมย่อมมีค่านิยมต่างกันตามวัฒนธรรมของสังคม เช่น สังคม สมัยใหม่ สามีและภรรยามีค่านิยมในการหาเลี้ยงครอบครัวเท่าเทียมกัน การร่วมรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน

ที่มา: https://kumkoom.com/ข้อคิด/ถ้าครอบครัวมี-5-สิ่งนี้-จ/

ที่มา: https://www.aweddingseason.com/ประวัติของงานแต่ง/

ที่มา: http://satabankansuksa.blogspot.com/2018/09/blog-post_30.html

ที่มา: https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=klongrongmoo&month=12-2011&date=14&group=2&gblog=159

4.2 สถาบันการศึกษา หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและ การถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม

       กลุ่มสังคมในสถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรม ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กลุ่มสังคมเหล่านี้จะประกอบไปด้วยตำแหน่ง หรือสถานภาพทางสังคม เช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น

                1) หน้าที่ของสถาบันการศึกษา

(1) ถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะ อันจำเป็นในการดำรงชีพของสมาชิกในสังคม

(2) สร้างบุคลิกภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก สามารถปรับตน ในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและปฏิบัติตนให้มีคุณค่าแก่สังคม

(3) การกำหนดสถานภาพทางสังคม และชนชั้นทางสังคมสถานภาพจากสถาบันการศึกษาเป็นส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งในการจัดช่วงชั้นทางสังคม

            (4) การผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ ตามความต้องการทางสังคม

(5) การสร้างกลุ่มเพื่อนเป็นหน้าที่แฝงของสถาบันการศึกษาซึ่งก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อนเพื่อสนองความต้องการทางจิตใจของสมาชิกในสังคม

                2) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก สถาบันการศึกษาประกอบไปด้วย แบบแผนพฤติกรรมเพื่อสนองต่อหน้าที่ต่าง ๆ ของสถาบัน เช่นการจัดระบบการเรียนการสอน เป็นต้น แบบแผนพฤติกรรมดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เหมาะสมแก่ความต้องการของสังคมปัจจุบัน

                3) สัญลักษณ์และค่านิยม สัญลักษณ์ของสถาบันการศึกษา มักปรากฏในองค์การทางการศึกษา ต่าง ๆ เช่น เข็มเครื่องหมายของโรงเรียน เป็นต้น แต่ละสังคมย่อมมีปรัชญาและค่านิยมทางการศึกษาต่างกัน

4.3 สถาบันศาสนา หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านเสริมกำลังใจให้แก่ สมาชิกในสังคมเพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความปกติสุขโดยปฏิบัติตามคติความเชื่อ

       กลุ่มสังคมในสถาบันศาสนา ที่สำคัญได้แก่ คณะสงฆ์ และกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม โดยมีตำแหน่ง หรือสถานภาพทางสังคมต่าง ๆ กัน ต่างมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามสถานภาพทางสังคมดังกล่าว

                1) หน้าที่ของสถาบันศาสนา

                     (1) สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม

                     (2) สร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม

                     (3) ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม

                     (4) สนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิกเมื่อสมาชิกเผชิญกับปัญหาต่าง  ๆ

                2) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก โดยทั่วไปแบบแผน พฤติกรรมในการปฏิบัติของสมาชิกในสังคม ย่อมเป็นไปตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ และเป็นไป ตามประเพณีทางศาสนานั้น ๆ กิจกรรมของประเพณีทางศาสนามีความสำคัญในการสร้างความรู้สึกเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม

                3) สัญลักษณ์และค่านิยม สัญลักษณ์ของสถาบันศาสนาย่อมแตกต่างกันไปตามศาสนาที่ สมาชิกยอมรับนับถือ สำหรับค่านิยมของสถาบันศาสนาย่อมแตกต่างกันไปตามหลักของศาสนานั้น ๆ

ที่มา: https://www.inclusivechurch.net/องค์ประกอบของศาสนา-มีอะ/

ที่มา: https://shantideva.net/2019/03/17/ศาสนาพุทธ/

ที่มา: https://sites.google.com/site/reiynrukdhmaykiltawrea/bthbath-khwam-sakhay-laea-khwam-sa-phanth-khxng-sthaban-th-thang-sangkhm

ที่มา: https://thestandard.co/thai-brand-research/

4.4 สถาบันเศรษฐกิจ หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสนองความต้องการ เกี่ยวกับความจำเป็นทางวัตถุ เพื่อการดำรงชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การกระจายสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต

                1) กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจ กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจมีจำนวนมาก เช่น ร้านค้า โรงงานและองค์กรเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่ละกลุ่มสังคมนี้ประกอบไปด้วยตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ซึ่ง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น ผู้จัดการ พนักงาน กรรมกร เกษตรกร เป็นต้น เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ ดังกล่าว

                2) หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ

(1) ผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคมซึ่งประกอบไปด้วยสินค้าพื้นฐานจนถึงสินค้าอำนวยความสะดวก

                    (2) กระจายสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึง

                    (3) กระจายบริการต่าง ๆ ไปสู่สมาชิกในสังคม

                    (4) กำหนดสถานภาพทางสังคมและชนชั้นทางสังคม

         สถาบันทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดหน้าที่สำคัญ คือ เป็นพื้นฐานอำนาจทางการเมือง

                3) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก สถาบันเศรษฐกิจประกอบด้วย แบบแผนพฤติกรรมที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม เช่น แบบแผนในการผลิต สินค้า แบบแผนของการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอุตสาหกรรมมีแบบแผน การประกอบอาชีพต่างกัน

                4) สัญลักษณ์และค่านิยม ส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์ขององค์การของสถาบัน เศรษฐกิจนั้น ๆ เช่น เครื่องหมายทางการค้า สำหรับค่านิยมและความเชื่อเกี่ยวข้องกับสถาบันเศรษฐกิจย่อม แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของแต่ละสังคม

4.5 สถาบันทางการเมืองการปกครอง หมายถึง สถาบันสังคมที่เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับ การสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ควบคุมให้กลุ่มคนอยู่ในสังคม อย่างสงบสุข

                1) กลุ่มสังคมในสถาบันการเมืองการปกครอง ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ กลุ่มสังคมที่มีการจัดระเบียบอย่างชัดแจ้ง ที่เรียกว่า องค์การ เช่น พรรคการเมือง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น แต่ละองค์การประกอบด้วยตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคม เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ตามสถานภาพนั้น

                2) องค์กรของสถาบันการเมืองที่สำคัญ มีดังนี้

                       (1) ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย

(2) ฝ่ายบริหาร คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารและการบริการให้แก่สมาชิก โดยส่วนรวม

(3) ฝ่ายตุลาการ คือ องค์การที่ทำหน้าที่ตีความกฎหมายในกรณีที่สมาชิกในสังคมเกิดความขัดแย้งระหว่างกัน

(4) ฝ่ายองค์กรอิสระ คือ องค์กรที่ประกอบด้วยคณะบุคคลที่ตั้งขึ้นด้วยวิธีปลอดจากอำนาจอิทธิพลของบุคคลที่อาจมีส่วนได้เสียกับกิจการอันเป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้นโดยเฉพาะอำนาจของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ

       3) หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง

(1) สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่สังคม เช่น สถาบันเศรษฐกิจย่อมจะต้องมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเงิน

(2) วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม มีองค์การทางตุลาการคอยให้ความยุติธรรมแก่สมาชิกที่มีความขัดแย้งต่อกัน

(3) หน้าที่ในการบริหารองค์การของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น

(4) การป้องกันและรักษาความปลอดภัยทั้งภายในสังคมและจากภายนอกสังคม

ที่มา: https://sites.google.com/site/reiynrukdhmaykiltawrea/bthbath-khwam-sakhay-laea-khwam-sa-phanth-khxng-sthaban-th-thang-sangkhm

ที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_1061475

ที่มา: http://steelbuildingsguide.net/คุณลักษณะของผู้นำทางกา/

https://www.atprosound.com/คอนเสิร์ตไทย-ระบบเสียง/

4.6 สถาบันนันทนาการ เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้การดำรงชีวิตของ มนุษย์มีความสุขมากยิ่งขึ้น การพักผ่อนจะเกี่ยวข้องกับการสร้างความบันเทิง ศิลปะ การละเล่น และการกีฬา เพื่อ สร้างความเพลิดเพลิน ทำให้มีการละคร ภาพยนตร์ งานบันเทิง มหรสพดนตรี ฟ้อนรำ กีฬา เป็นต้น

       สถาบันนันทนาการจะต้องมีบุคคลและวิธีการสำหรับดำเนินการ และต้องมีเวลาสำหรับ การฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญ เมื่อถึงเวลาแสดงจริงจะสามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แสดง หรือผู้ชมได้

       สถาบันทางสังคมทุกสถาบันในสังคมล้วนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันและมีความสัมพันธ์ เกี่ยวโยงกัน ซึ่งถ้าแยกออกมาเป็นเรื่องๆ จะเห็นกลุ่มความสัมพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน สถาบันทางสังคม เหล่านั้นจะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม