เรื่องที่ 1.6

องคุลิมาล

ที่มา : https://shantideva.net/2019/04/22/พระองคุลิมาลเถระ-ผู้ต้น/

เรื่องที่ 1.6 องคุลิมาล

ที่เมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศล องคุลิมาลได้ ปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณีชื่อ มันตานี ภรรยาของ คัคคพราหมณ์ (ภัคควพราหมณ์) ซึ่งเป็นปุโรหิตแห่งเมืองสาวัตถี ในเวลาที่องคุลิมาล คลอดออกจากครรภ์มารดานั้น บรรดาอาวุธทั้งหลายในนครทั้งสิ้น ช่วงโชติขึ้นแม้กระทั่งฝักดาบที่อยู่ในห้องพระบรรทมก็ส่งแสงเรืองขึ้น พราหมณ์ปุโรหิตจึงลุกออกมาแหงนดูดาวนักษัตร ก็รู้ว่าบุตรเกิด โดยฤกษ์ดาวโจร ลูกของตนที่จะเกิดจากครรภ์ของภรรยานั้น จะเป็น โจรผู้ร้ายกาจเที่ยวเข่นฆ่ามนุษย์มากมาย

วันรุ่งขึ้นปุโรหิตจึงเข้าไปในพระราชวังเข้าเฝ้าพระเจ้า ปเสนทิโกศล เพื่อทูลถวายรายงานถึงเหตุอาเพศที่เกิดขึ้นเมื่อคืนก่อน และกราบทูลว่าเป็นเพราะลูกที่เกิดจากนางพราหมณีที่เรือนของตน พระราชาสอบถามว่าอาเพศดังกล่าวจักเกิดเหตุอะไร ปุโรหิตกราบทูลว่า เขาจักเป็นมหาโจร พระราชาถามต่อว่าจักเป็น โจรทําร้ายผู้คน หรือ เป็น โจรประทุษร้ายราชสมบัติ ปุโรหิต กราบทูลว่า เขาจะไม่มีภัยต่อราชสมบัติ จะเป็นโจรคนเดียว พระราชาตรัสว่า เป็น โจรคนเดียวจะทําอะไรได้ ถ้าเขาทําเหตุอันใดขึ้นในอนาคตเราก็จักจัดการเขาเสียด้วยกองทหารของเรา จงเลี้ยงเขาไว้เถิด

แม้ในวันที่ตั้งชื่อกุมารนั้น สิ่งของเหล่านี้คือฝักดาบอันเป็นมงคลที่วางไว้ ณ ที่นอน ลูกศรที่วางไว้ที่มุม มีคน้อยสําหรับตัดขั้วตาลซึ่งวางไว้ในปุยฝ้ายต่างส่งแสงลุกโพลงขึ้น แต่หาได้เป็นอันตรายหรือเบียดเบียนใครไม่ ปุโรหิตาจารย์นั้นเชื่อตามตําราว่า ลูกตนต้องเป็นคนโหดร้ายทารุณแน่ ก็เลยตั้งชื่อเด็กคนนี้เป็นการแก้เคล็ดเสียว่า “อหิงสกกุมาร” แปลว่า เด็กผู้ไม่เบียดเบียนใคร

เมื่ออหิงสกกุมารมีอายุพอจะศึกษาศิลปวิทยาแล้วบิดามารดาจึงส่งไปเรียนกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่ เมืองตักกศิลา อหิงสกกุมารเป็นคนมีปัญญา ขยัน ตั้งใจเรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย คอยรับใช้อาจารย์ ด้วยความเคารพ พูดจาไพเราะจึงเป็นที่พอใจของอาจารย์มาก แต่ศิษย์คนอื่น ๆ เห็นท่านเป็นคนโปรดของ อาจารย์กริษยา พากันออกอุบายเพื่อกําจัดอหิงสกมาณพ โดยแบ่งคนออกเป็นสามพวก พวกแรกก็เข้าไปบอก อาจารย์ว่า ได้ยินมาว่าอหิงสกมาณพจะประทุษร้ายท่านอาจารย์ ทีแรกอาจารย์ไม่เชื่อ แต่เมื่อพวกที่สอง และ พวกที่สามเข้าไปบอกเรื่องอย่างเดียวกัน หนักเข้าก็กลับใจเชื่อ แล้วอาจารย์จึงหาอุบายฆ่าอหิงสกมาณพ

อาจารย์คิดต่อไปอีกว่า ถ้าเราฆ่ามัน ใคร ๆ ก็จะคิดว่าอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ลงโทษมาณพผู้มาเรียน ศิลปยังสํานักของตนแล้วปลงชีวิตเสีย ดังนี้ ก็จักไม่มีใครมาเล่าเรียนศิลปกับเราอีก ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็จะ เสื่อมลาภ ดังนั้นจึงได้ออกอุบายยืมมือคนอื่นม่า โดยให้มาณพนั้นฆ่าคนให้ได้พันคน ด้วยคาดว่าเมื่ออหิงสกกุมาร ปฏิบัติตามคําสั่งของตน เที่ยวได้ฆ่าคนไป ก็จะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งต่อสู้และฆ่ามาณพนั้นจนได้ แล้ว อาจารย์จึงบอกมาณพนั้นว่า ยังมีคําสําหรับศิลปวิชาขั้นสุดท้ายอยู่เจ้าจะต้องฆ่าคนให้ได้พันคน เพื่อประกอบ พิธีบูชาครู (ครูทักษิณา) มิฉะนั้นวิชานั้นก็จะไม่มีผล

ครั้งแรกอหิงสกกุมารปฏิเสธ โดยอ้างว่าท่านเกิดในตระกูลที่ไม่เบียดเบียนใคร แต่อาจารย์บอกว่า ศิลปศาสตร์ที่เรียนไปแล้วถ้ามิได้บูชาครูก็จะไม่อํานวยผลที่ต้องการ ด้วยนิสัยรักวิชา อหิงสกกุมารจึงยอม ปฏิบัติตาม โดยออกไปสู่ป่าชาลิวันในแคว้นโกศล อาศัยอยู่ที่หุบเขาแห่งหนึ่งคอยดักฆ่าคนเดินทาง ออกเที่ยวปล้น หมู่บ้านและตําบลต่าง ๆ เป็นโกลาหล ได้ฆ่าคนล้มตายเป็นจํานวนมาก

แรกๆ อหิงสกมาณพก็ไม่ได้ตัดนิ้วคนที่ตนฆ่าเก็บเอาไว้ แต่เมื่อฆ่าคนมากเข้าๆ ก็จําไม่ได้ว่าฆ่าไป แล้วกี่คน เพื่อเป็นเครื่องนับจํานวนคนที่ตนฆ่า อหิงสกมาณพก็ตัดเอานิ้วมือคนที่ตายคนละหนึ่งนิ้ว มาเก็บไว้ แต่เก็บ ๆ ไปก็มีนิ้วที่เสียหายไปบ้างไม่ครบจํานวน จึงเปลี่ยนมาทําเป็นพวงมาลัยคล้องคอไว้ ฉะนั้นคนจึง เรียกชื่อท่านว่า องคุลิมาล

นับแต่ออกจากสํานักอาจารย์มา องคุลิมาลก็คอยดักซุ่มฆ่าคนเรื่อยไปเจอใครฆ่าหมดไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชายคนเฒ่าคนแก่ เด็กเล็กเด็กแดงไม่เลือก จนไม่มีใครสามารถไปป่าเพื่อหาปืน ในตอนกลางคืนก็เข้ามายัง ภายในบ้านเอาเท้าถีบประตู แล้วก็ฆ่าคนที่นอนอยู่นั้น หมู่บ้านก็ร่นถอยไปตั้งในนิคม นิคมก็ร่นถอยไปตั้งอยู่ ในเมือง พวกมนุษย์ทิ้งบ้านเรือนจูงลูกเดินทางมาล้อมพระนครสาวัตถี เป็นระยะทางถึงสาม โยชน์ ตั้งค่ายพัก ประชุมกันที่ลานหลวง ต่างคร่ําครวญกล่าวกันว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจรชื่อองคุลิมาล

พราหมณ์ปุโรหิตได้ยินเรื่องดังนั้นก็รู้ว่า โจรองคุลิมารนั้นต้องเป็นบุตรของตนเป็นแน่ จึงกล่าวกับ นางพราหมณีว่า เกิด โจรชื่อองคุลิมาลขึ้นแล้ว โจรนั้นคงไม่ใช่ใครอื่น ต้องเป็นอหิงสกกุมาร ลูกของเราเป็นแน่ บัดนี้ พระราชาจะเสด็จออกไปจับเขา เราควรจะทําอย่างไร นางพราหมณีพูดว่า ฉันจะไปพาลูกของฉันมา ดังนี้ จึงออกเดินทางเพื่อไปบอกบุตรชายให้หนีไปเสีย

เวลานั้นโจรองคุลิมาลได้นิ้วมือมาเพียง 999 นิ้ว ยังขาดอยู่นิ้วเดียวเท่านั้น จึงกระหายเป็นกําลัง และตั้งใจว่าถ้าพบใครก่อนก็จะฆ่าทันทีเพื่อจะได้นิ้วมือครบตามต้องการ แล้วจะได้ตัดผมโกนหนวดอาบน้ํา เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วไปเยี่ยมบิดามารดา

เช้าตรู่วันนั้นพระบรมศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกทรงเห็นว่าองคุลิมาลเป็นผู้มีอุปนิสัยพอที่จะโปรด ให้บรรลุมรรคผลได้ และทรงพระดําริเห็นว่า ถ้าพระองค์มิได้เสด็จไปโปรด องคุลิมาลก็จะกระทํามาตุฆาต ฆ่ามารดาของตนเสีย จะเป็นผู้กระทําอนันตริยกรรม ไม่สามารถบรรลุธรรมใด ๆ ได้ในชาตินี้ แม้จะได้ฟังธรรม โดยตรงจากพระพุทธองค์ พระองค์จึงเสด็จจาริกมุ่งตรงไปยังป่าชาลิวันเป็นระยะทาง 30 โยชน์ เพื่อสกัดองคุลิมาลไว้ มิให้ทันได้ฆ่ามารดา

ธรรมดาการเสด็จจาริกของพระพุทธเจ้ามี 2 อย่างคือเสด็จจาริกอย่างรีบด่วนและเสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วน การที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นบุคคลที่ควร ให้ตรัสรู้ได้แม้ในที่ไกล ก็จะเสด็จไปโดยเร็วเพื่อประโยชน์ แก่การตรัสรู้ของเขา ชื่อว่าเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน เช่นในการเสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่พระองคุลิมาลในครั้งนี้

โจรองคุลิมาลได้เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ก็คิดว่าน่าประหลาดจริงหนอ เมื่อก่อนแม้พวกบุรุษ มากันสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ก็ยังต้องรวมเป็นกลุ่มเดียวกันเดินทางแต่ถึงอย่างนั้น บุรุษพวกนั้นยังต้องตายเพราะมือเรา นี่มีเพียงสมณะนี้ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนมาด้วย ชะรอยสมณะนี้คงจะมีดีอะไร สักอย่างแล้วจะมาลองดีกับเราถ้ากระไรเราพึงปลิดชีวิตสมณะนี้เถิดครั้งนั้น องคุลิมาลถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนู ติดตามพระผู้มีพระภาคไปทางพระปฤษฎางค์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ ในลักษณะที่ องคุลิมาลจะวิ่งจนสุดกําลัง ก็ไม่อาจทันพระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จไปตามปกติได้ จึงหยุดยืนกล่าวกับพระผู้มี พระภาคว่า จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาลท่านเล่า จงหยุดเถิด

ที่มา : http://dhamma.serichon.us/2017/03/17/องคุลิมาล-อย่าใช้จินตนา/

ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่าสมณะท่านกําลังเดินไป ยังกล่าวว่าเราหยุดแล้ว และ ยังกล่าวกะข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่าไม่หยุด สมณะ ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านหยุดแล้วเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ายังไม่หยุด เป็นอย่างไร

พระพุทธองค์มีพระดํารัสตอบว่า “องคุลิมาลเราได้หยุดคือเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตแล้ว ส่วนท่านยังไม่หยุด คือยังฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่ เราจึงพูดเช่นนั้น” องคุลิมาล ได้ยินพระสุรเสียงอันแจ่มใส พระดํารัสที่คมคายเช่นนั้น ก็เกิดใจอ่อน รู้สึกสํานึกผิดได้ทันทีแล้ววางดาบทิ้งธนู สลัดแล่งโยนทิ้งลงเหวที่หุบเขา เข้าไปถวายบังคมพระบาท ของพระพุทธองค์ ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยได้ทรงพิจารณาเห็นว่าองคุลีมาลนั้นถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยและได้เคยถวายภัณฑะ คือ บริขารแปด แก่ท่านผู้มีศีลในปางก่อน ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกจากบังสุกุลจีวร เปล่งพระสุรเสียง ตรัสเรียกว่า ท่านจงมาเป็นภิกษุเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทําที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พร้อมกับพระดํารัส ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพศคฤหัสถ์ขององคุลีมาลนั้นก็อันตรธานไป บรรพชาและอุปสมบทก็สําเร็จ พระพุทธเจ้าก็เสด็จพาองคุลิมาลภิกษุไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น หมู่มหาชนก็มาชุมนุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงร้องทุกข์กับ พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า ฆ่าคน โดยไม่มี ความกรุณาองคุลิมาลโจรนั้นเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงแขวนคอไว้ ขอพระองค์จงกําจัดมันเสียเถิด

ดังนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้เสด็จเคลื่อนพลออกจากนครสาวัตถี ด้วยกระบวนม้าประมาณ 500 เสด็จเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ออกมาจับโจรชื่อว่าองคุลิมาล

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าดูกรมหาราชถ้ามหาบพิตรทอดพระเนตรเห็นองคุลิมาล เป็นผู้ปลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจาก การพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ พระองค์จะทรงกระทําอย่างไรกันเขา

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะพึงทําความเคารพ จะจัดถวาย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือก็จะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ขณะนั้น ท่านพระองคุลิมาล นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้น ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ดูกรมหาราช นั้น องคุลิมาล

พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเห็นองคุลิมาลก็ทรงมีความกลัว ทรงหวาดหวั่น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกลัว จึงได้ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า อย่าทรงกลัวเลย บัดนี้ องคุลิมาลไม่เป็นภัย กับผู้ใดแล้ว ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัวได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านองคุลิมาลถึงที่ที่ ท่านนั่งอยู่ แล้วทรงดําริว่าการที่จะถือเอาชื่อที่เกิดขึ้นเพราะกรรมอันชั่วช้า คือชื่อ "องคุลิมาล" นั้นนํามาเรียก พระภิกษุ เป็นการไม่สมควร เราจักเรียกท่านด้วยชื่อแห่งโคตรของบิดามารดา ดังนี้ จึงถามว่า บิดาของพระผู้เป็นเจ้า มีโคตรอย่างไร มารดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร

ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตร บิดาชื่อ คัคคะ มารดาชื่อ มันตานี

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสรรเสริญพระพุทธคุณที่ทรงสามารถปราบโจรร้ายได้โดยไม่ต้องใช้อาญาและ ศัสตราอาวุธใด ๆ ลําดับนั้นแล้วทรงลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วเสด็จกลับไป

ที่มา : https://www.pariyat.com/สารธรรม/พระศาสดาและสงฆ์สาวก/item/องคุลิมาล-พระองคุลิมาลเถระ

หลังจากที่พระองคุลิมาลได้บวชแล้วท่านก็ได้รับความลําบากในเรื่องการบิณฑบาตแรก ๆ ท่านก็ ออกบิณฑบาตภายนอกพระนคร แต่พวกชาวบ้านพอเห็นท่านแล้วย่อมสะดุ้งบ้าง ย่อมหนีเข้าป่าไปบ้าง ย่อม ปิดประตูบ้าง บางพวกพอได้ยินว่า องคุลิมาล ก็วิ่งหนีเข้าเรือนปิดประตูเสียบ้าง เมื่อไม่อาจหนีได้ทันก็ยืนผิน หลังให้ พระเถระไม่ได้แม้ข้าวยาคูสักกระบวยหนึ่ง แม้อาหารสักทัพพีหนึ่ง เมื่อท่านเห็นว่าไม่สามารถ บิณฑบาตได้ภายนอกพระนครก็เข้าไปบิณฑบาตยังในพระนคร แต่พอเข้าไปทางประตูเมืองนั้น ก็เป็นเหตุให้ มีเสียงตะโกนออกมาเป็นพัน ๆ เสียงว่าองคุลิมาลมาแล้ว ๆ

ด้วยเหตุนี้ทําให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยไว้โดยที่ในเรื่องนี้ประชาชนได้เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงให้โจรที่ขึ้นชื่อโด่งดังบวชเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

พระพุทธเจ้ารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรที่ขึ้นชื่อ โด่งดัง ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใด ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ

ต่อมา ท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมือง เห็นหญิงคลอดลูกไม่ออกคนหนึ่งจึงเกิดความสงสาร เมื่อ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลเรื่องนั้น ให้ทรงทราบ

พระพุทธองค์ทรงพระปริวิตกเกี่ยวกับเรื่องพระเถระลําบากด้วยภิกษาหาร เพื่อจะสงเคราะห์พระเถระนั้น โดยการลดความหวาดกลัวของประชาชนลง พระองค์จึงทรงมีพระประสงค์จะให้พระเถระแสดงสัจจกิริยา อนุเคราะห์แก่สตรีผู้เจ็บครรภ์เพื่อให้ชนทั้งหลายเห็นว่า บัดนี้พระองคุลิมาลเถระกลับได้มีเมตตาจิต กระทํา ความดีให้แก่พวกมนุษย์ด้วยสัจจกิริยา ฉะนั้นชนทั้งหลายย่อมคิดว่าควรเข้าไปหาพระเถระ ต่อแต่นั้นพระเถระ ก็จะไม่ลําบากด้วยภิกษาหาร

ที่มา : https://shantideva.net/2019/04/22/พระองคุลิมาลเถระ-ผู้ต้น/

ตั้งแต่พระอังคุลิมาลเถระ ได้กระทําความดีแก่หญิงมีครรภ์ด้วยทําความสัตย์แล้วตั้งแต่นั้นมาก็ได้อาหารสะดวกขึ้น ได้ปฏิบัติธรรมโดยการเจริญวิเวกอยู่แต่ผู้เดียว ต่อมาไม่นานท่านก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็น พระอรหันต์มีชื่อปรากฏนับเข้าในพระอสีติมหาเถระ 80 องค์ ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรง ธรรมว่า ช่างน่าอัศจรรย์จริง ๆ หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานพระองคุลิมาล ผู้เป็นมหาโจรมีฝ่ามืออัน ชุ่มด้วยเลือดร้ายกาจเห็นปานนั้น โดยไม่ต้องใช้ทัณฑะหรือศัสตรา ทําให้หมดพยศได้ ทรงกระทํากิจที่ทําได้โดย ยาก ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้กระทํากิจที่ทําได้ยากอย่างน่าอัศจรรย์

พระศาสดาประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ได้ทรงสดับถ้อยคําของภิกษุเหล่านั้นด้วยทิพโสตก็ทรงพระดําริว่า พระธรรมเทศนาที่เราจักแสดงวันนี้จะมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวง จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จไปยัง ธรรมสภา ประทับนั่งบนอาสนะที่พวกภิกษุจัดไว้ถวายแล้วตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกท่าน สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ได้ทรมาน พระองคุลิมาลได้ในบัดนี้ไม่น่าอัศจรรย์เลยแม้เมื่อครั้งในอดีตเราก็ทรมานพระองคุลิมาลนี้ ได้ตรัสดังนี้แล้วทรงนิ่งอยู่

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้มีขันติธรรมอย่างยิ่ง หลังจากบวชแล้วผู้คนยังเกลียดชังท่านอยู่ ท่าน ได้รับความทรมานจาก การลงโทษของผู้คนด้วยวิธีการต่าง ๆ ท่านก็ยังอดทน อดกลั้นด้วยขันติธรรม

2. เป็นผู้มีสัมมาคารวะอย่างยิ่ง สมัยที่ท่านศึกษาศิลปวิทยาที่สํานักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ท่าน เคารพเชื่อฟังอาจารย์และภริยาของอาจารย์ด้วย ความอ่อนน้อมท่านจึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์ เมื่อบวช เป็นภิกษุแล้ว ท่านก็อ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระพุทธเจ้าและเพื่อนภิกษุอื่น ๆ

3. เป็นผู้มีความเมตตากรุณามาก เมื่อบวชเป็นภิกษุแล้วท่านก็ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ เช่น ช่วยเหลือ หญิงมีครรภ์แก่คนหนึ่งด้วยการตั้งจิตอธิษฐานให้นางคลอดลูกอย่างปลอดภัย ไม่เจ็บปวด

4. เป็นบุคคลประเภทต้นคดปลายตรง เป็นตัวอย่างและเป็นกําลังใจให้แก่ผู้ที่ทําผิดพลาดแล้วกลับเนื้อ กลับตัวได้ หลังจากเข้าใจความจริงโดยไม่มีทิฐิมานะหรือดื้อรั้น เรื่องราวขององคุลิมาลเป็นบทเรียนแก่อนุชน รุ่นหลังในด้านการให้แง่คิดว่า การทําความดีนั้น ไม่สาย แม้ว่าบางครั้งเหตุการณ์จะล่วงเลยไปถึงขั้นที่คนคิดว่า แก้ไขไม่ได้แล้วแต่องคุลิมาลมีกําลังใจเข้มแข็ง สามารถหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนได้