เรื่องที่ 3.6 

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (มีชีวิตอยู่ระหว่าง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เกิดในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อําเภอ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาชื่อ เซี้ยง พานิช มารดาชื่อ เคลื่อน พานิชเริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามา ศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุ ก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อน บิดเบือนไปมาก และไม่อาจทําให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อําเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลําเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมกับปวารณา ตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดํารงสมณเพศ

ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทําให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่าง ยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม เพื่อให้เป็น สถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมี ปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในรูปงานเขียน โดยท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจทําการ ถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็น พุทธะ ศาสนา อย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกมากมายจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัด กิน ทั้งเรื่องพุทธพาณิชย์ เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลัทธิพราหมณ์ เรื่องความยึดมั่นถือมั่น ในบุญบาป เรื่องความ หลงใหลในยศลาภของพระสงฆ์ และเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย

ท่านพุทธทาสภิกขุมุ่งชี้ให้ชาวพุทธทั้งหลายเห็นถึงมิจฉาทิฐิ หรือความหลงเชื่อ ในทางที่ผิด เหล่านี้เสมอมา ทําให้หลายคนขนานนามท่านพุทธทาสภิกขุว่าเป็น พระผู้ปฏิรูป แต่แท้จริงแล้ว คําสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่มีอะไรนอกเหนือไปกว่าความจริงอันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเลย เพียงแต่ ระยะเวลาอันยาวนานได้ทําให้ความเข้าใจคําสอนของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปร หรือถูกเบี่ยงเบนไป ท่านพุทธทาสภิกขุ จึงทําหน้าที่เสมือนผู้กลั่นให้พระพุทธศาสนากลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง

คําสอนจํานวนมากจากท่านพุทธทาสภิกขุเป็นธรรมะระดับโลกุตระ อันมีนิโรธเป็นรส และมี นิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นธรรมะขั้นสูงและไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ยังเวียนว่าย อยู่ในวังวนแห่งโลกียะ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุตระหนักว่าธรรมะเหล่านี้คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และ พุทธมามกะไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็ควรจะได้รับรู้ ได้รับปฏิบัติ และได้รับผลจากธรรมะเหล่านี้ ซึ่งถึงแม้จะ เป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึง และเข้าใจ โดยยังคงเนื้อหาสําคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน

คําสอนทั้งหลายของท่านพุทธทาสภิกขุแท้จริงแล้วก็คือการสกัดพระสูตรให้ออกมาเป็นภาษา พูดและพระอภิธรรมให้ออกมาเป็นภาษาชาวบ้านนั่นเอง โดยข้อธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเน้นย้ำมากที่สุด คือเรื่องสุญญตา หรือความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย จนทําให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาหลายคนเรียกท่านว่า นักรบเพื่อความว่าง แต่ทั้งนี้คําสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทํางาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนําธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้ทันที

นอกจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังมีใจเปิดกว้างทําการศึกษาคํา สอนของต่างศาสนาและต่างนิกาย ด้วยความคิดว่าศาสนาทั้งหลายล้วนมุ่งหมายในสิ่งเดียวกัน ในสมัยที่ท่านพุทธทาส ภิกษุจําพรรษาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม นอกจากสาธุชนคนไทยผู้สนใจในธรรมะทั้งหลายจะแวะเวียนมา สนทนา และฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังมีชาวต่างชาติผู้ต้องการเรียนรู้พระพุทธศาสนา นักศึกษาและอาจารย์ทางด้านศาสนศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงประมุขของศาสนจักร ต่างๆ แวะเวียนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็น รวมทั้งสนทนาธรรมกับท่านเป็นอันมาก ทําให้ สวนโมกขพลารามเปรียบเสมือนตักศิลาสําหรับผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทําให้วงการ พระพุทธศาสนากลับมาตื่นตัวอีกครั้ง

มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีอุปนิสัยที่เน้นเรื่องความประหยัด และความละเอียดลออในการใช้ จ่ายซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า ถ้าจะให้บอกว่ามีอะไรมาจากโยมหญิงบ้าง เห็นจะเป็นเรื่องประหยัด เรื่องละเอียดลออในการใช้ จ่าย เพราะว่าถูกสอนให้ประหยัดแม้แต่น้ําที่จะล้างเท้า ห้ามใช้มาก แม้แต่น้ํากินจะตักมากินนิดหนึ่งแล้วสาด ทิ้งไม่ได้ แม้แต่ใช้พื้นก็ต้องใช้พอดี ไม่ให้สิ้นเปลือง ถ้ายังติดไม่หมดต้องดับ เก็บเอาไว้ใช้อีก ทุกอย่างที่มัน ประหยัดได้ต้องประหยัด มันมากเหมือนกัน ประหยัดไปได้ทุกวิธี มันก็เลยติดนิสัย มันมองเห็นอยู่เสมอ ไอ้ทางที่จะประหยัดเพื่อประโยชน์ มองเห็นอยู่ว่าต้องทําอย่างไร

นอกจากนี้ มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังได้อบรมสั่งสอน และเป็นแบบอย่างให้ท่านพุทธทาสภิกขุใน อีกหลายเรื่อง ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุเคยกล่าวไว้ในธรรมเทศนาตอนหนึ่งว่า

“จะขอยกตัวอย่างที่แม่ได้ทําหน้าที่ของแม่ในการสร้างนิสัยอันละเอียด ให้แก่ลูก เช่น ในความ เรียบร้อย แม่กวดขันให้ล้างจานข้าวให้สะอาดเรียบร้อยและเก็บให้เรียบร้อย เสื้อผ้าต้องเรียบร้อย ปูที่นอน ต้องเรียบร้อย ล้างมือล้างเท้าสะอาด…

แม่สร้างนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน แม่สอนว่ายอมแพ้นั้นไม่ถือว่าเป็นการเสียเกียรติ เพราะให้เรื่อง มันระงับไป แต่ก็ไม่ต้องเสียหายอะไรเนื่องจากว่าต้องยอมแพ้ มันเป็นการปลอดภัย และใคร ๆ ก็รักคนที่ยอม แพ้ไม่ให้เรื่องเกิด

แม่สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แม่สอนว่าให้ลูกแมวได้กินข้าวก่อน แล้วคนจึงกิน สัตว์เดรัจฉานเป็น เพื่อนของเรา...

แม่อบรมนิสัยให้รักน้องให้รักเพื่อน แม่สอนว่าน้องเอาเปรียบพี่ได้ แต่พี่เอาเปรียบน้องไม่ได้... แม่สอนว่าให้ดูว่าไก่ไม่มีเห็บเพราะมันช่วยจิกให้กันและกัน ลูกไก่เล็กๆ ยังช่วยจิกเห็บให้ลูกไก่ตัวใหญ่ เห็บที่ มันอยู่ตามหน้าตามหงอนซึ่งมันจิกเองไม่ได้ แต่ไก่ก็ไม่มีเห็บ เพราะมันปฏิบัติหน้าที่เพื่อนของกันและกัน...

แม่อบรมนิสัยกตัญญรู้คุณ ให้เด็กเล็กๆ ช่วยทํางานให้แม่บ้าง ทําอะไรไม่ได้มากก็เพียงแต่ช่วย ตําน้ําพริกแกงให้ก็ยังดี เหยียบขาให้แม่หายเมื่อย เอาใจใส่แม่เมื่อเจ็บไข้…

ให้ปลูกฝังคือว่าให้ใช้เวลาว่าง ปลูกพริก ปลูกมะเขือ ปลูกตะไคร้ ดอกมะลิ ดอกราตรี แม้แต่ สับปะรด กล้วย ก็ยังสอนให้ปลูก แล้วยังสอนคาถากันขโมยให้ด้วยว่า ถ้านกกินเป็นบุญ ถ้าคนกินเป็นทาน อาตมายังจําได้อยู่กระทั่งบัดนี้ ว่าถ้านกกินให้ถือว่าเราเอาบุญถ้าคนมันขโมยเอาไปก็ถือว่าให้ทาน แล้วมันก็จะไม่ถูก ขโมยเลยจนตลอดชีวิต มันกลายเป็นให้ทานไปเสียทุกที ถ้าสัตว์มากินก็เอาบุญ ก็ไม่ต้องฆ่าสัตว์ไม่ต้องยิงสัตว์”

การดําเนินชีวิตในสวนโมกขพลาราม ท่านพุทธทาสภิกขุยึดคติที่ว่า เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทําอย่างสูง โดยชีวิตประจําวันของท่านพุทธทาสภิกขุนั้นเป็นไปอย่างสันโดษและสมถะ สําหรับวัตถุสิ่งของภายนอก ท่านพุทธทาสภิกขุจะพึ่งพาก็แต่เพียงวัตถุสิ่งของที่ทําให้ชีวิตดํารงอยู่ต่อไปได้ และวัตถุสิ่งของที่จําเป็นใน การเผยแพร่ธรรมะเท่านั้น โดยไม่พึ่งพาวัตถุสิ่งของฟุ้งเฟ้ออื่นใดที่เกินจําเป็นเลย เรียกได้ว่ามีความเป็นอยู่ อย่างต่ำที่สุด หากแต่การกระทําในความเป็นอยู่นั้นเป็นการกระทําอย่างสูงที่สุด นั่นคือเป็นการกระทําเพื่อ ศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา การศึกษาและปฏิบัตินั้นเป็นการกระทําอันนําไปสู่มรรคผล และ แม้กระทั่งนิพพาน ซึ่งเป็นอุดมคติที่สูงที่สุดที่ชีวิตมนุษย์ควรจะบรรลุถึง ส่วนการเผยแผ่นั้นเป็นการกระทํา เพื่อนํากระแสธรรมอันบริสุทธิ์ให้อาบหลั่งไหล รินรดคนทั้งโลก และทุกโลก เป็นการชี้ทางสว่างให้เพื่อนมนุษย์ ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้บรรลุถึงอุดมคติที่สูงที่สุดของชีวิตมนุษย์ไปด้วยกัน หรืออย่างน้อยก็จะ ทําให้มนุษย์เรานั้นได้ลดการเบียดเบียนตนเอง และลดการทําร้ายผู้อื่น อันจะก่อให้เกิดทั้งสันติสุขและ สันติภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งตัวมนุษย์และโลกมนุษย์ปรารถนา นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2476 ท่านพุทธทาสยังได้ เริ่มจัดทําหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา (ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เผยแผ่หลักธรรมรายตรีมาศ) ด้วยเช่นกัน

นอกจากสมณศักดิ์และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังได้รับการยก ย่องจากองค์กรต่างๆ ดังนี้

พ.ศ. 2508 หนังสือแก่นพุทธศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ หนังสือดีประจําปี พ.ศ. 2508 จากองค์การ ยูเนสโก

พ.ศ. 2527 ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลทําประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตเนื่องในโอกาสสมโภชน์กรุง รัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญลักษณ์เสาอโศก และเงินสดจํานวน 10,000 บาท

พ.ศ. 2537 คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูว่าเป็นผู้ทําคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ

20 ตุลาคม พ.ศ. 2548 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสําคัญของ โลก ด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์

พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทย รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมทางธรรมะเนื่องใน โอกาสรําลึกครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสมีผลงานที่เรียบเรียงเป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นจํานวนมาก อาทิเช่น

• แก่นพุทธศาสน์

• คู่มือมนุษย์

• ตัวกูของกู ฉบับย่อความ

• ธรรมโฆษณ์ รายละเอียด

• ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

• พระพุทธเจ้าสอนอะไร

• พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

• ภาษาคน-ภาษาธรรม

• หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา

• อิทัปปัจจยตา (100 หนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน)

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นนักการศึกษาที่แท้จริง ท่านเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยฝึกฝนอบรมตนเองอยู่เสมอ รักษาศีลอย่าง เคร่งครัด ฝึกสมาธิอย่างเข้มงวด เป็นที่ยกย่องของบุคคลทั่วไป

2. เป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ ท่านมีวิธีคิดเพื่อสอนธรรมอย่างวิเศษ ใช้คําที่กินใจในการสอนเช่น “ตายเสียก่อน ตาย” “ทํางานด้วยจิตว่าง” “ตัวกู ของกู” ทําให้ผู้ฟังอยากรู้ว่าคําสอนนั้นคืออะไร

3. เป็นทั้งนักปฏิรูปและนักปฏิวัติพระศาสนา ท่านมองเห็นว่ามีหลายเรื่องในพระพุทธศาสนาที่ ต้องปฏิวัติ และต้องปฏิรูป เช่น การทําบุญให้ทานโดยคิดแบบนักลงทุน หวังผลกําไร ไม่ใช่การทําบุญที่ แท้จริง ดังนั้นเวลาท่านเทศน์จึงสอนให้อย่าโลภ อย่าเห็นแก่ตัว อย่ายึดมั่นถือมั่น ขัดเกลาจิตใจให้กิเลสเบา บาง ให้หันกลับไปดูสมัยพุทธกาลที่พระสงฆ์อยู่อย่างเรียบง่าย และท่านก็ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง

ที่มาจาก https://hilight.kapook.com/view/132349