ตอนที่ 1 พระไตรปิฎกและการสังคายนาพระไตรปิฎก

    พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคําสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า พุทธธรรม คําว่า พระไตรปิฎกมาจากภาษาบาลี ติปิฎก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคําสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฎก หมายถึง ตํารา คัมภีร์ หรือกระจาด) สันนิษฐานว่าที่มาของคําว่าพระไตรปิฎกน่าจะมาจากการที่ พระภิกษุจดจารึกคัมภีร์ใส่ลงในใบตระกูลปาล์มและใส่ลงในตะกร้า ถ้าอาศัยหลักฐานทางวิชาการเชื่อว่าไตรปิฎกเป็นชื่อที่ใช้กันมาก่อนจะสังคายนาครั้งที่ 3 เพราะมีการใช้คําพูดว่า “ไตรปิฎก” ในประวัติศาสตร์ยุคพระเจ้าอโศกมหาราช ก่อนการสังคายนาครั้งที่ 3 จึงเชื่อได้ว่าหลังสังคายนาครั้งที่ 2 พระสงฆ์มีการแยกพระอภิธรรมออกจากพระสูตรแล้ว เมื่อสังคายนาครั้งที่ 3 จึงแยกออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ได้แก่

http://sirindhornfoundation.orgfree.com/TipitakaMain/Chapter1.html

https://slideplayer.in.th/slide/17167288/

1. พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรง บัญญัติไว้สําหรับภิกษุและภิกษุณี แบ่งออกเป็น 3 หมวด ดังนี้

                1.1 วิภังค์ คือ ส่วนที่ว่าด้วยศีลในพระปาฏิโมกข์ (ศีลสําคัญ) ของภิกษุและภิกษุณี

                1.2 ขันธกะ คือ ส่วนที่ว่าด้วยสังฆกรรม พิธีกรรม ความเป็นอยู่ วัตรปฏิบัติและมารยาทเพื่อความงาม แห่งสงฆ์

                1.3 บริวาร คือ ส่วนที่สรุปข้อความ คู่มือพระวินัยปิฎก อธิบาย ในรูปคําถาม คําตอบเพื่อความเข้าใจ ในประเด็นต่าง ๆ

https://slideplayer.in.th/slide/17167288/

2. พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ แบ่งเป็น 5 นิกาย

                2.1 ทีฆนิกาย คือ หมวดที่ประมวลสูตรขนาดยาว

                2.2 มัชฌิมนิกาย คือ หมวดที่ประมวลสูตรขนาดปานกลาง

                2.3 สังยุตตนิกาย คือ หมวดที่ประมวลสูตรเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ เหตุการณ์เดียวกันไว้ในหมวด เดียวกัน เรียกว่า “สังยุตต์” เช่น เรื่องเกี่ยวกับสัจจะ เรียกว่า สัจจสังยุตต์

                2.4 อังคุตตรนิกาย คือ หมวดที่ประมวลหมวดธรรมนับจากน้อยไปหามาก เรียกว่า “นิบาต” เช่น เอกนิบาต (หมวดธรรมหนึ่งข้อ) ทุกนิบาต (หมวดธรรมสองข้อ) เป็นต้น

                2.5 ขุททกนิกาย คือ หมวดที่ประมวลเรื่องเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ที่ไม่ได้รวมไว้ในสี่นิกายข้างต้น แบ่งย่อยออกเป็น 15 หมวดเป็นพระสูตรสั้นบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยกรองบ้าง

3. พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ ประมวลคําสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับ บุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับ จิต เจตสิก รูปละนิพพาน ที่ถือกันว่า เป็น “ปรัชญาขั้นสูง” ในพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์ ดังนี้

                3.1 ธัมมสังคณี คือ คัมภีร์ที่ประมวลข้อธรรมเป็นหมวด ๆ แล้วแยกอธิบายเป็นประเภท ๆ

                3.2 วิภังค์ คือ คัมภีร์ที่แยกแยะข้อธรรมในหมวดสังคณี แสดงรายละเอียดเพื่อความเข้าใจแจ่มแจ้ง

                3.3 ธาตุกถา คือ คัมภีร์ที่จัดข้อธรรมต่าง ๆ ลงในขันธ์ 5 ธาตุ 18 อายตนะ 12 ว่าข้อใดเข้ากันได้ หรือไม่ อย่างไร

                3.4 ปุคคลบัญญัติ คือ คัมภีร์ ที่บัญญัติเรียกบุคคลต่าง ๆ ตามคุณสมบัติที่มี เช่น เรียกว่า โสดาบัน เพราะเข้าสู่กระแสนิพพาน ละกิเลสได้

                3.5 กถาวัตถุ คือ คัมภีร์ที่แสดงทัศนะที่ขัดแย้งของนิกายพระพุทธศาสนา เน้นความถูกต้องตาม ทัศนะของเถรวาท พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระแต่งขึ้นในการทําสังคายนาครั้งที่ 3

                3.6 ยมก คือ คัมภีร์ที่ยกธรรมขึ้นแสดงเป็นคู่ ๆ เช่น กุศลกับอกุศล แล้วอธิบายโดยวิธีถามตอบ

                3.7 ปัฏฐาน คือ คัมภีร์ที่อธิบายปัจจัย หรือเงื่อนไขแห่งธรรม 24 ประการ ว่าธรรมใดเป็นปัจจัยของ ธรรมใด ในแง่ใด

https://slideplayer.in.th/slide/17167288/

https://pantip.com/topic/32691512

    พระไตรปิฎกเดิมอยู่ในรูป “พระธรรมวินัย” ได้รับถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่สังคายนาครั้งที่ 1 โดย พระอรหันต์ 500 รูป โดยการท่องจํา ต่อมาได้แบ่งเป็น 3 ปิฎก ในช่วงสังคายนาครั้งที่ 3 ได้รับการถ่ายทอด สืบต่อมาถึง พ.ศ. 450 ได้รับบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ศรีลังกา ภาษาที่ใช้ในการบันทึกพระไตรปิฎกคือ ภาษาบาลี ต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา เฉพาะในประเทศไทยมีพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย จํานวน 45 เล่ม เพื่อหมายถึงระยะเวลา 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ จํานวนหน้า 22,390 หน้า ไม่นับ ดรรชนีค้นคํามีประมาณ 24 ล้านตัวอักษร มีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ และได้แปลเป็นภาษาไทยครบสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2500

       พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ครั้งหนึ่งว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว พระไตรปิฎกจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ และเป็นที่ที่ชาวพุทธสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาของตน พุทธศาสนิกชนสามารถศึกษาปริยัติศาสน์จากพระไตรปิฎก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป

       ในพระไตรปิฎก นอกจากจะเป็นที่รวบรวมคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังได้จัดหมวดหมู่คําสอน เหล่านั้นให้เป็นระเบียบพร้อม ๆ กันไปด้วย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการท่องจํา ความง่ายต่อการแบ่งหน้าที่รักษา และความไม่ลําบากในการศึกษาค้นคว้า

       คําสอนทั่วไปสามารถแบ่งได้กว้างๆ เป็น วินัย และ ธรรม โดย วินัย จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบัญญัติของคณะสงฆ์ สําหรับเป็นข้อบังคับในการปฏิบัติตัวของผู้ออกบวชเท่านั้น ส่วนธรรม เป็นคําสอนที่ครอบคลุมพุทธบริษัททั้งหมด ซึ่งสามารถแยกได้อีกเป็นสองชนิด คือ

1. ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามกาลเทศะ โต้ตอบกับบุคคลต่าง ๆ เป็นเรื่อง ๆ ในแต่ละเรื่อง จะเรียกว่า สุตตะ หรือ สูตร ในพระไตรปิฎกจะรวบรวมธรรมแบบนี้ ไว้พวกหนึ่งเรียกว่า สุตตันตะ หรือ พระสูตร

2. ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามเนื้อหา ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เรียกว่าเป็นวิชาการล้วน ๆ เช่น เมื่อยกเรื่องขันธ์ 5 มา ก็อธิบายโดยละเอียดว่าขันธ์ 5 คืออะไร แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง แต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร จนจบเรื่องขันธ์ 5 ธรรมที่แสดงเอาเนื้อหาเป็นหลักอย่างนี้ใน พระไตรปิฎกจะจัดอยู่ในประเภท อภิธัมมะ หรือ พระอภิธรรม

       เมื่อรวม พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม เข้าด้วยกัน ก็จะเกิดสามหมวดหมู่ใหญ่ ประกอบกัน กลายเป็นพระไตรปิฎกขึ้นมา