เรื่องที่ 3.1 ประเทศไทยในสังคมโลก

  ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เมื่อศึกษาดูการขยายตัวของยุโรปในยุคการแสวงหาดินแดนใหม่แล้วจะ เห็นว่ายังไม่มีผลต่อประเทศไทยเพราะสมัยนั้นความสนใจของยุโรป คือ ตลาดสินค้าที่มีราคาสูง เช่น เครื่องเทศในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ้าไหมหรือสินค้าฟุ่มเฟือยจากจีน แร่ทองและเงินจากอเมริกาใต้ สมัย สุโขทัยจึงได้ติดต่อกับประเทศต่างๆ เฉพาะในเอเชีย เช่น จีน ลังกาเปอร์เซียอินเดียการสร้างความสัมพันธ์ใน ต่างประเทศมีเพียง 2 รูปแบบคือ การค้าขายและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังอยู่ ในภูมิภาคที่ชาวยุโรปอยากเข้ามาครอบงํา ทางเศรษฐกิจเพื่อจะให้การค้าของคนเอเชีย เจริญขึ้น จนสามารถผูกขาดการค้าสินค้าราคาสูงต่างๆ ได้ สมัยอยุธยาประเทศยุโรปจึง ได้เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย พระมหากษัตริย์ไทยทรงสนับสนุนการค้ากับต่างชาติ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐ และหวัง จะได้รับประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีจากยุโรป จึงอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ามาค้าขายได้แต่ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับตะวันตก ไม่ราบรื่น เพราะฮอลันดาได้ข่มขู่ประเทศไทยให้ลงนามในสนธิสัญญา ค.ศ.1664 ยอมให้ฮอลันดา มีสิทธิผูกขาดการค้าหนังสัตว์ และมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตรวมทั้งห้ามใช้ลูกเรือชาวจีน ทํางานในเรือสินค้าไทย ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์มิให้เรือสําเภาของไทยไปค้าขายกับญี่ปุ่น สมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราชทรงสนพระทัยที่จะติดต่อกับฝรั่งเศส เพราะอยากให้ฝรั่งเศสเข้ามาค้าขายมาก ๆ แต่ด้วย ความเข้าใจผิดของฝรั่งเศสที่คิดว่าไทยต้องการพึ่งพาฝรั่งเศสเพื่อถ่วงดุลอํานาจฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงส่งกองทหารจํานวนหนึ่งเข้ามาในเมืองไทย พระเพทราชาได้วางแผนกําจัด จึงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นใน ค.ศ. 1688 เมื่อพระนารายณ์สวรรคต พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกจึงสิ้นสุดลง

   สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อการแข่งขันเชิงการค้าเพื่อครอบครองต่างๆ ไว้เป็นอาณานิคม ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสรุนแรงขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้แผ่มาจนถึงบริเวณที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย 

พระมหากษัตริย์ไทยทรงตระหนักถึงภัยลัทธิจักรวรรดินิยม รัชกาลที่ 4 จึงยอมลงนามในสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษใน ค.ศ. 1855 สนธิสัญญาดังกล่าว ทําให้ไทยต้องเสียเปรียบด้านการค้าการศาลและภาษีอากร สมัยรัชการที่ 5 ต้องเสียดินแดนให้ ฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้งและพร้อมกับการดําเนินวิเทโศบายผ่อนปรนต่อชาติ มหาอํานาจ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ประเทศไทยก็ได้เร่งดําเนินการปรับปรุงบ้านเมืองอย่างเร่งรีบและมีระบบมากขึ้น ส่วนทางด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พระองค์ได้ เสด็จไปสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เช่น รัสเซีย เพื่อจะบรรเทาแรงขับจากอิทธิพลของประเทศ อาณานิคมซึ่งอยู่ใกล้ตัว การหันไปหาพลังอํานาจชาติอื่นเพื่อมาลดอิทธิพลของบางชาตินับเป็นวิเทโศบายอัน ชาญฉลาดที่ทําให้ไทยดํารงความเป็นเอกราชอยู่ได้