ตอนที่ 2 การพัฒนาศรัทธาและปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนาและศาสนาที่ตนนับถือ

  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่กําเนิดมาช้านานและได้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เนื่องจาก พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีหลักธรรมสําหรับการพัฒนาคน โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาศรัทธาและปัญญา เพื่อให้คนมีความเชื่อ ความเลื่อมใสที่ถูกต้อง มีเหตุผล อันจะก่อให้เกิดปัญญาซึ่งทําให้เรียนรู้และเข้าใจสัจธรรม คําสอนของศาสนาอย่างแท้จริง จึงยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมีเหตุผล

  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายความหมายคําว่า พัฒนา ศรัทธา และปัญญา ไว้ดังนี้ พัฒนา หมายถึง ทําให้เจริญ การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อ ความเลื่อมใส ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด

  ดังนั้น การพัฒนาศรัทธาและปัญญา ก็คือ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงความเชื่อให้ดียิ่งขึ้น โดยจะ เชื่อต่อเมื่อได้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผลแล้วจึงเชื่อ การมีศรัทธาที่ถูกต้องย่อมก่อให้เกิดปัญญา

1. การพัฒนาศรัทธา

  พระพุทธศาสนามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาศรัทธาและปัญญาเพราะพระพุทธศาสนาสอนมิให้ เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้ดีเสียก่อน ดังที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกชื่อ “เกสปุตตสูตร” หรือบางทีเรียก “กาลามสูตร” ว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปถึงหมู่บ้านเกสปุตตนิคมอันเป็นที่อยู่ของ ชาวกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมทูลถามพระพุทธเจ้าว่ามีสมณพราหมณ์หลายพวกพูดจายกย่องว่าลัทธิของตนดี ลัทธิอื่น ๆ ผิด เลยสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จกันแน่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักความเชื่อ 10 ประการ ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกชื่อ เกสปุตตสูตร โดยเรียกตามชื่อของหมู่บ้านหรือบางที่ก็เรียก กาลามสูตร ซึ่งเรียกตามชาวกาลามโคตร สรุปได้ดังนี้

    1.1 อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ยินได้ฟังตาม ๆ กันมา เพราะเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมักจะผิดพลาด ยิ่งเล่า หลายต่อหลายทอด ยิ่งผิดพลาดมาก

  1.2 อย่าเชื่อเพียงเพราะการปฏิบัติสืบๆ กันมา ซึ่งบางอย่างอาจจะปฏิบัติเอาเยี่ยงอย่างกันอย่างไร้เหตุผล เช่น หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทานกล้วยแฝดจะทําให้คลอดลูกแฝดซึ่งไม่มีเหตุผลเกี่ยวข้องกันเลย

    1.3 อย่าเชื่อเพียงเพราะข่าวลือ ซึ่งมักจะขยายใหญ่เกินความเป็นจริงออกไปทุกที

  1.4 อย่าเชื่อเพียงเพราะอ้างว่ามีอยู่ในตําราหรือคัมภีร์ ซึ่งตํารานั้นอาจจะผิดหรือผ่านยุคสมัยไปแล้ว เช่น หนังสือเขียนว่าประเทศไทยมี 76 จังหวัด เมื่อก่อนนี้ใช่ แต่ปัจจุบันมี 77 จังหวัดแล้ว อย่างนี้เป็นต้น

  1.5 อย่าเชื่อเพียงเพราะตามหลักตรรกศาสตร์ คือนึกเดาเอา เป็นการแสวงหาความจริงโดยอาศัย การอนุมาน ซึ่งอาจจะผิดได้ เช่น น้ำมันทําให้เครื่องยนต์ติด เครื่องยนต์ไม่ติดแสดงว่าไม่มีน้ำมัน ซึ่งอาจจะ ไม่จริงอาจเป็นเพราะหัวเทียน ไม่สะอาดหรือเป็นเพราะสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้

  1.6 อย่าเชื่อเพียงเพราะด้วยการคาดคะเน ซึ่งมีเหตุผลเป็นพื้นฐานอยู่บ้าง แต่อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ไม่แน่นอน เช่น เห็นเมฆครึม ฟ้าร้อง ก็คาดคะเนว่าฝนจะตก ซึ่งฝนอาจจะไม่ตกก็ได้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่ง ที่เราเคยพบเห็นมาแล้ว

  1.7 อย่าเชื่อเพียงเพราะด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผลหรือตามอาการ เช่น เคยมีอาการปวดท้อง รับประทานยาโรคกระเพาะแล้วหาย คราวนี้ปวดท้องอีกจึงคิดตามอาการว่าเป็นโรคกระเพาะซึ่งความจริงอาจไม่ใช่ อาจเป็นนิ่วในถุงน้ําดี หรือไส้ติ่งอักเสบ หรือสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้

       1.8 อย่าเชื่อเพียงเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตนหรือสอดคล้องกับความคิดเห็นของตนซึ่ง ความคิดของเราอาจจะถูกหรือผิด

  1.9 อย่าเชื่อเพียงเพราะเห็นผู้พูดน่าเชื่อถือ ซึ่งเราจะเห็นได้จากข่าวที่พบเห็นอยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับ การล่อลวงหรือถูกหลอกไปทํางานต่างประเทศ ก็เพราะเห็นผู้พูดผู้ชักชวนน่าเชื่อถือนั่นเอง

  1.10 อย่าเชื่อเพียงเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา ซึ่งบางครั้งครูอาจจะพูดผิดก็ได้

  พระพุทธเจ้าไม่ปฏิเสธแหล่งความรู้ทั้ง 10 อย่างนี้อย่างสิ้นเชิง เพียงแต่ทรงแนะนํามิให้เชื่อถือทันที ให้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองดูก่อน พระพุทธศาสนาจึงนับว่าเป็นศาสนาที่เคารพในปัญญาและเหตุผล เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตน พิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อจึงนับว่า เป็นศาสนาที่เหมาะแก่ปัญญาชนอย่างที่สุด


  พระพุทธศาสนาสอนให้ชาวพุทธมีศรัทธาหรือความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เพราะความเชื่อเป็น คุณธรรมที่จําเป็นเบื้องต้นในการนําไปสู่จุดหมายปลายทางคือ เราจะปฏิบัติต่อเมื่อเรามีความเชื่อนั้นเสียก่อน เช่น เราจะปฏิบัติธรรมต่อเมื่อเราเห็นว่า เชื่อว่าพระธรรมคําสอนนั้นเป็นจริงดีจริง เราจึงนํามาปฏิบัติแล้วเราก็จะ ได้รับผลอันประเสริฐ เป็นจุดหมายปลายทางอย่างนี้ เป็นต้น

  ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาเป็นความเชื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล เช่น ถ้ามีใคร บอกว่าอยากเรียนหนังสือเก่งให้ท่องคาถาหัวใจนักปราชญ์คือ สุ จิ ปุ ลิ หากเราเอาแต่ท่องตัวคาถาวันละร้อยครั้ง โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาว่า สุ จิ ปุ ลิ หมายความว่าอย่างไร ก็ไม่สามารถเรียนหนังสือเก่งได้ แต่หากเรา ใช้ปัญญาพิจารณาว่า สุ มาจากคําว่า สุตะ หมายถึงการตั้งใจฟัง จิ มาจากคําว่า จินตะ หมายถึง การคิด ฟัง แล้วคิดพิจารณาตาม ปุ มาจากคําว่า ปุจฉา หมายถึงการถาม หากไม่เข้าใจ ไม่กระจ่างหรือขัดข้องเรื่องใด ให้ซักถามผู้รู้หรือครู ลิ มาจาก ลิขิต หมายถึงการเขียนหรือจดบันทึกกันลืม ถ้าเราเชื่อตามความหมายที่ แท้จริงของคาถาดังกล่าวแล้วนําไปปฏิบัติ ย่อมทําให้เรียนหนังสือเก่ง ประสบความสําเร็จในการเรียน แน่นอน อย่างนี้จัดเป็นศรัทธา ศรัทธาจึงเป็นความเชื่อที่มีปัญญากํากับ เพราะเป็นความเชื่อที่ครบ องค์ประกอบ 2 ประการ คือ

  1. เป็นความเชื่ออยู่บนพื้นฐานของเหตุผล

  2. สิ่งที่เชื่อและกระทําเป็นสิ่งที่ดีงาม หรือเป็นไปเพื่อความดีงามแห่งชีวิต ศรัทธาหรือความเชื่อที่ ถูกต้องนําไปสู่การพัฒนาปัญญา สิ่งที่ชาวพุทธควรศรัทธา คือ

  2.1 ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ว่ามีความรู้ความสามารถจะพัฒนาตน บรรลุถึงความดีงาม มิใช่อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ดลบันดาล ด้วยความเชื่อในความสามารถของมนุษย์ เราจึงเชื่อ ว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ตรัสรู้จริง ธรรมของพระองค์ปฏิบัติแล้วได้รับผลจริง

  2.2 กัมมสัทธาวิปากสัทธา เชื่อมั่นในกฎแห่งการกระทําและผลแห่งการกระทําหรือกฎแห่งกรรม ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอย ๆ โดยไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด

  2.3 กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทําและผลของการกระทํา เราทําอะไรลงไปก็ย่อมได้รับผลของการกระทํานั้นไม่โดยตรงก็โดยอ้อม

  นอกจากนี้ชาวพุทธควรศรัทธาในพระรัตนตรัย มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย หากเราศรัทธา ในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง เราก็จะเชื่อหรือศรัทธาในคําสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งก็คือ พระธรรม ที่มีหลักคําสอนใหญ่ ๆ คือ ให้กระทําความดี ละเว้นความชั่ว ทําใจให้บริสุทธิ์ ส่วนพระสงฆ์ เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธเจ้าและนําคําสอนหรือพระธรรมนั้นมาเผยแผ่สอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามด้วย เราจึงควรศรัทธาพระสงฆ์ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

2. การพัฒนาปัญญา

  ปัญญาคือความรอบรู้ ความฉลาดอันเป็นผลมาจากการเรียนและคิด ปัญญาหรือความรู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  2.1 สหชาติกปัญญา คือ ปัญญาหรือความรู้ที่มีมาตั้งแต่เกิด เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนพึงมีมาก บ้างน้อยบ้าง บางคนก็มีความรู้พิเศษที่คนอื่นไม่มี เช่น มีความสามารถในการวาดภาพ การเล่นดนตรี ทั้งที่ ไม่ได้เรียนหรือฝึกฝนมา ซึ่งเรามักเรียกว่ามีพรสวรรค์

  2.2 โยกปัญญา คือ ปัญญาหรือความรู้ที่มีขึ้นด้วยการศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝน ความรู้ ความฉลาด สามารถฝึกฝนให้เกิดให้มีขึ้นได้ เราจึงควรตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้เกิดปัญญาขึ้นในตนเอง โดยไม่ต้อง หวังพึ่งพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ ปัญญาหรือความรู้ที่ควรพัฒนามีลักษณะสําคัญ 3 ประการ คือ

    1) อปายโกศล รู้จักเหตุแห่งความเสื่อม รู้ว่าอะไรคือความเสื่อม อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของ ความเสื่อม เช่น ผลการเรียนของเราไม่ดี เพราะอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริง จะอ้างว่าครูสอน ไม่ดี ข้อสอบยาก หรือเพราะเราไม่ตั้งใจเรียนกันแน่

  2) อายโกศล รู้จักเหตุแห่งความเจริญรู้ว่าจะต้องทําอย่างไรจึงจะทําให้มีความสุข ความเจริญซึ่งก็ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาโดยรอบคอบ สิ่งใดที่ทําลงไปไม่ทําให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ผู้รู้หรือนักปราชญ์ สรรเสริญ และไม่ผิดศีลธรรม สิ่งนั้นย่อมนําไปสู่ความสุขความเจริญ

  3) อุปายโกศล รู้จักวิธีละเหตุแห่งความเสื่อม และสร้างเหตุแห่งความเจริญ บางคนนั้นรู้ว่า อะไรทําให้เกิดความเสื่อม เช่น รู้ว่าอบายมุขนําความเสื่อม ความฉิบหายมาสู่ตน ก็อาจเพียงระมัดระวังตนไม่ให้ เข้าใกล้หรือละเว้นอบายมุขนั้นเสีย แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ทําความดีหรือสร้างสรรค์ประโยชน์อะไรให้แก่ ตนเองและสังคม เขาจึงเป็นคนดีเพียงเพราะไม่ทําความชั่ว ความผิดเท่านั้น แต่มิได้ทําความดีอะไรเพิ่มพูนขึ้นมาใหม่อย่างนี้ไม่จัดเป็นอุปาย โกศล ผู้ที่มีอุปายโกศลจะต้องละเว้นความชั่วทั้งหลายและควรกระทําความดี ให้ถึงพร้อมอีกด้วย

ปัญญาเกิดขึ้นได้ 3 ประการ คือ

    1) สุตมยปัญญา สุตะ แปลว่า ฟัง คือ ปัญญาที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง และหมายรวมถึง การอ่านด้วย คนที่มีความรู้มากที่เรียกว่า พหูสูต นั้น หมายถึงคนที่ได้ยินได้ฟังมาก ได้อ่านมาก การฟังเป็น การเพิ่มพูนสติปัญญาได้อย่างหนึ่ง แต่จะต้องตั้งใจฟัง รู้จักจับใจความสําคัญให้ได้

    2) จินุตมยปัญญา จินตะ แปลว่า คิด คือ ปัญญาเกิดจากการคิด ในการเรียนนั้น ถ้าเพียงแต่ ฟังหรืออ่านเฉย ๆ ไม่ใช้ความคิดพิจารณา ความรู้ที่ได้ก็ไม่แตกฉาน ต้องรู้จักเอาความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่าน การเล่าเรียนมาเป็นพื้นฐาน แล้วคิดพิจารณาให้รอบคอบก็จะเกิดปัญญาขึ้น

    3) ภาวนามยปญญา ภาวนา แปลว่า ทําให้เกิดขึ้น คือ ปัญญาที่เกิดจากการฝึกอบรม เจริญปัญญาให้รู้เท่าทัน เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง พระพุทธศาสนาให้ความสําคัญกับปัญญาที่เกิด จากการปฏิบัติมากกว่าการเรียนทางทฤษฎีแต่ขาดการปฏิบัติ การบําเพ็ญเพียรภาวนาของพระพุทธเจ้าจน ตรัสรู้ รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ 4 ก็ถือว่าเป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติคือ ภาวนามยปญญา

   พระพุทธศาสนาถือว่าปัญญาเป็นสิ่งสําคัญที่สุด เพราะปัญญาเป็นเครื่องมือขั้นสุดท้ายที่ ช่วยให้มนุษย์ประจักษ์แจ้งความจริง หลักฐานที่แสดงว่าพระพุทธศาสนาถือว่าปัญญาเป็นสิ่งสําคัญ ได้แก่

   - มีพุทธศาสนสุภาษิตมากมายที่กล่าวถึงปัญญา เช่น ปญญา โลกสุมิ ปชโชโต : ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก นตฺถิ ปญญาสมา อาภา : แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี ปญญายตุถ์ วิปสุสติ : ความย่อมเห็นแจ้งเนื้อความด้วยปัญญา ปญญาย ปริสุชุณติ : คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญาปญญา นราห์ รตน์ : ปัญญาเป็นรัตนะของคน

  - พระพุทธศาสนาสอนหลักอนัตตา มีพุทธภาษิตว่า “เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นั้นเป็นทางแห่งบริสุทธิ์” เรื่องความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา หรือไตรลักษณ์นี้ ต้องพิจารณาด้วยปัญญาขั้นสูงจึงจะ เข้าใจแจ่มแจ้ง และมีเพียงพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่กล่าวถึงหลักไตรลักษณ์

  - พระพุทธศาสนาพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญาตามเหตุปัจจัย มีตัวอย่างหลักธรรม เช่น หลักอริยสัจ 4 มีทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล มรรคเป็นเหตุ หลักปฏิจจสมุปบาท ถ้าแปลตามศัพท์ ปฏิจจ แปลว่า อาศัยกัน สมุปปาทะ แปลว่า เกิดขึ้นพร้อมกัน เกิดขึ้นร่วมกัน ปฏิจจสมุปบาท เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึง เกิดมีขึ้น ปรากฏการณ์อะไรที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องมาจากเหตุ และมีหลายเหตุปัจจัยร่วมกัน เช่น ต้นไม้เจริญ งอกงามได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างคือ เมล็ดพันธุ์ดี ดินที่เพาะปลูกดี มีอากาศ อุณหภูมิเหมาะสม คนดูแล เอาใจใส่รดน้ำ พรวนดินเป็นอย่างดี ปัจจัยเหล่านี้จึงทําให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ในทางพระพุทธศาสนาการที่ ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา ตามหลักปฏิจจสมุปบาท สรุปได้ดังนี้ เพราะอวิชชา(ความไม่รู้) เป็นปัจจัยให้เกิด - สังขาร(ความคิด) > วิญญาณ (การรับรู้) > นามรูป(กระบวนการแห่งกายและใจ) > สฬายตนะ (สื่อภายในคือตา หู เป็นต้น) > ผัสสะ(การสัมผัส) > เวทนา(ความรู้สึก) > ตัณหา (ความอยาก) > อุปาทาน(ความยึดมั่น) > ภพ(กระบวนการพร้อมจะมีจะเป็น) > ชาติ(การเกิดมีโดย สมบูรณ์) > ชรามรณะ(คร่ำคร่าแปรเปลี่ยนและดับสลาย) > โสกะ(ความ โศก) > ปริเทวะ(ความคร่ำ ครวญ), ทุกข์ ทุกข์กาย), โทมนัส(ทุกข์ใจ), อุปายาส(คับแค้นใจ) - กองทุกข์ทั้งมวล เกิดด้วยอาการอย่างนี้

คําทาย “ฝนเอยทําไมจึงตก” ของชาวบ้านที่ว่า

ฝนเอยทําไมจึงตก เพราะกบมันร้อง

   กบเอยทําไมจึงร้อง เพราะท้องมันปวด

   ท้องเอยทําไมจึงปวด เพราะข้าวมันดิบ

   ข้าวเอยทําไมจึงดิบ เพราะฟื้นมันเปียก


  พื้นเอยทําไมจึงเปียก เพราะฝนมันตก คําทายของชาวบ้านนี้ก็สอนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ที่ชี้ให้เห็นว่า ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุเดียว แต่เกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างต่อเนื่องกันไปดุจสายโซ่ ปฏิจจสมุปบาทสอนให้ รู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาชีวิต สอนให้มองกว้าง มองรอบด้าน สอนให้มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทัน โลกและชีวิต จะได้ไม่เป็นทุกข์


3. ความสัมพันธ์ของศรัทธากับปัญญา

  หลักคําสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถ้าหากทรงสอนเรื่องศรัทธาในที่ใดก็จะทรงสอนปัญญาควบคู่ กันไปด้วยเสมอ ดังตัวอย่างหลักธรรม เช่น

  3.1 เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมที่ทําให้เกิดความกล้าหาญ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล พาหุ สัจจะวิริยารัมภะ และปัญญา

  3.2 อริยทรัพย์ 7 คือ ทรัพย์อันประเสริฐ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ และปัญญา

  3.3 พละ 5 คือ ธรรมอันเป็นกําลัง ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

       ต้นไม้ออกดอกคล้ายโคมไฟมีความศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ 

สรุปสาระสําคัญ

  จะเห็นได้ว่า ศรัทธาและปัญญาจะมีความสัมพันธ์กัน นั้นคือถ้าจะศรัทธาหรือเชื่ออะไรก็แล้วแต่ให้ใช้ ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน เมื่อมีศรัทธาที่ถูกต้องแล้วย่อมทําให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ไปด้วย ในทางกลับกันถ้ามีศรัทธาที่ไม่ถูกต้อง มีความเชื่ออย่างงมงายไร้เหตุผล ปัญญาก็ไม่เกิดขึ้น ศรัทธา และปัญญาจะต้องมีความสมดุลกันด้วย เพราะถ้าหากมีศรัทธามากกว่าปัญญาก็จะมีความเชื่อที่งมงาย และ หากมีปัญญามากกว่าศรัทธาก็จะทําให้เกิดความสงสัยอยู่ร่ำไป