เรื่องที่ 3.4 

สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

สมเด็จพระวันรัตมีนามเดิมว่า เฮง หรือ กิมเฮง นามฉายาว่า เขมจารี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 3 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะเส็ง จ.ศ.1243 ตรงกับ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.244 ณ บ้านท่าแร่ ตําบลสะแกกรัง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี บิดาเป็นจีนนอก ชื่อตัวเก๊า แซ่จั่ว เป็นพ่อค้า มารดาชื่อ ทับทิม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คนที่ 1 เป็นหญิงตายเสียแต่เป็น เด็กก่อน คนที่ 2 เป็นชายชื่อกิมฮวด บรรพชาอุปสมบทตลอดมาจนเป็น พระราชาคณะ ที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี คนที่ 3 คือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) และคนที่ 4 เป็นหญิงตายพร้อมกับมารดาในเวลาคลอด ยายชื่อ แห จึงอุปถัมภ์เลี้ยงดูสมเด็จพระวันรัต

ต่อมา ครั้นอายุย่างเข้า 8 ปี ป้าชื่อ เกศร์ ได้พาท่านไปฝากให้เรียนหนังสือไทยอยู่ในสํานักพระอาจารย์ ชัง วัดขวิด จนมีความรู้หนังสือไทยเขียนได้อ่านออก ครั้นอายุย่างเข้า 11 ปี ยายและป่าได้พาไปฝากอยู่ใน สํานักพระปลัดใจ (ซึ่งต่อมาเป็นพระราชาคณะที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี) เจ้าอาวาสวัดทุ่ง แก้ว เมื่อไปอยู่วัดทุ่งแก้ว ก็เริ่มศึกษาภาษาบาลี เริ่มอ่านและเขียนอักษรขอม แล้วหัดอ่านหนังสือพระมาลัย ตามประเพณีการศึกษาในสมัยโบราณแล้วท่องสูตรมูลกัจจายน์และเรียนสนธิกับพระอาจารย์อํา เรียนนามถึง กิตก์กับพระอาจารย์แป้น เรียนอุณณาทและการกกับพระปลัดใจและเรียนพระธรรมบทและมงคลทีปนีกับพระ ปลัดใจบ้างกับท่านอาจารย์ม่วงบ้าง กับหลวงธรรมปรีชา (เอก) บ้างกับพระอาจารย์ฤกษ์บ้าง กับอาจารย์อุ่มซึ่งขึ้น ไปจากกรุงเทพฯและไปพักอยู่ที่วัดพิไชยบ้าง เรียนกับพระมหายิ้มวัดมหาธาตุฯในกรุงเทพฯซึ่งขึ้นไปเยี่ยมพระ อาจารย์ม่วงและพักอยู่ที่วัดทุ่งแก้วบ้าง ได้หัดเรียนลูกคิดกับพระภิกษุวันและเรียนเลขกับพระภิกษุอ่อน ครั้นอายุ ย่างเข้า 12 ปี บรรพชาเป็นสามเณร และได้สึกจากสามเณรเสีย 2 ครั้ง เพราะต้องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ใน เทศกาลตรุษจีนตามธรรมเนียมของจีน

เมื่อมีอายุย่างเข้า 13 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรอีก และเรียนภาษาบาลีอยู่ในวัดทุ่งแก้วตลอดมา เรียนมูลกัจจายน์จบ เรียนพระธรรมบทจบ และเรียนมงคลทีปนี ไปแล้ว 6 - 7 ผูก (ลักษณะนามเรียกหนังสือ ใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่งๆ ว่าคัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง) ครั้นอายุย่างเข้า 17 ปี จึงลงมาอยู่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 12 ค่ํา ปีระกา ตรงกับวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2440 และอยู่กับพระมหายิ้ม คณะเลข 23 ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีเลขที่ประจําคณะ แต่เรียกกันว่าคณะต้นจันทร์ เพราะมีต้นจันทร์อยู่หลังกุฏิ 3 ต้น สมัยนั้น สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) ดํารงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และมีพระราชาคณะผู้ช่วย 2องค์ คือ พระราชโมลี (จ่าย)และพระอมรเมธาจารย์ (เข้ม) เมื่อเเรกมาวัดมหาธาตุฯ สมเด็จฯ ได้เข้าเรียนพระปริยัติธรรม กับพระยาธรรมปรีชา (ทิม) ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงอุดมจินดา เป็นอาจารย์หลวงท่านหนึ่งใน 4 ท่าน ที่สอน บาลีพระปริยัติธรรมอยู่ ณ ระเบียงพระอุโบสถวัดมหาธาตุฯ ตอนเหนือ และเรียนกับพระมหายิ้มบ้าง กับพระ อมรเมธาจารย์บ้าง

ครั้น พ.ศ.2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สอบพระปริยัติธรรม สนามหลวง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็น อธิบดีในการสอบ หลวงอุดมจินดาผู้เป็นอาจารย์สอน จึงสนับสนุนให้สมเด็จฯ เข้าสอบด้วย และได้เป็นเปรียญ 3 ประโยคในปีนั้น เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี แล้วไปเรียนต่อกับสมเด็จพระวันรัต (แดง) อยู่พรรษาหนึ่งและเรียนกับ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) แต่ยังเป็นพระพิมลธรรมด้วย ครั้นรุ่งขึ้นในปี พ.ศ.2442 มีการประชุมสอบกันที่วัดสุ ทัศนเทพวราราม โดยสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นอธิบดีเช่นเคย แต่เมื่อประชุมสอบไปได้ 3 วัน สมเด็จพระวัน รัต (แดง) เริ่มอาพาธ จึงยุติการสอบไล่ในปีนั้น

ในปี พ.ศ.2443 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภา คุณากร เป็นอธิบดีในการสอบพระปริยัติธรรม และประชุมสอบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ เข้า สอบได้อีกประโยคหนึ่งในปีนี้ จึงเป็นเปรียญ 4 ประโยค เมื่ออายุย่างเข้า 20 ปี ครั้นรุ่งขึ้นใน พ.ศ.2444 พระว รวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรสิ้นพระชนม์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น วชิรญาณวโรรส ทรงเป็นแม่กองกลาง ให้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) เป็นแม่กองเหนือ สมเด็จ พระวันรัต (ฑิต) เป็นแม่กองใต้ ประชุมสอบ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ เข้าสอบประโยค 5 ได้ แต่สอบประโยค 6 ตก จึงเป็นเปรียญ 5 ประโยค เมื่ออายุย่าง 21 ปี ต่อมาเมื่ออายุย่างเข้า 22 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุฯ เมื่อ วันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 11 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2445 โดย สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) เป็นพระอุปัชฌายะ และพระธรรมวโรดม (จ่าย) วัดเบญจมบพิตรกับพระเทพเมธี (เข้ม) วัดพระเชตุพนฯ เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และในปีนั้น เข้าสอบพระปริยัติธรรม ได้อีก 2 ประโยค จึงเป็นเปรียญ 7 ประโยค ครั้นปีรุ่งขึ้น คือ พ.ศ.2446 ได้เข้าสอบได้อีก 1 ประโยค จึงเป็นเปรียญ 8 ประโยค สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) พระอุปัชฌายะได้ถวายตัวฝากเรียนฎีกาสังคหะ (อภิธมุมตุถวิภาวินี) กับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวง วชิรญาณวโรรสทรงเป็นพระอาจารย์แต่นั้นมา ครั้นรุ่งขึ้นในปี พ.ศ.2447 สมเด็จฯ ก็เข้าสอบได้อีก 1 ประโยค จึงเป็นเปรียญ 9 ประโยค เมื่ออายุย่างเข้า 24 ปี

สมเด็จพระวันรัต เป็นนักการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่ประจําที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงและยืดยาวนานของ ท่าน คือ นายกมหาธาตุวิทยาลัย ซึ่งท่าน ได้รับช่วงสืบต่อมาจากสมเด็จ พระวันรัต (ฑิต) พระอุปัชฌายะของ ท่าน และท่านก็สามารถทํานุบํารุงและจัดการศึกษาของสถานศึกษาฝ่ายพระมหานิกายแห่งนี้ให้ เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ทําให้มหาธาตุวิทยาลัยสมัยนั้นมีฐานะมั่นคงเข้มแข็ง และสามารถขยายการศึกษาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ที่มาจาก https://sites.google.com/

ผลงานของสมเด็จพระวันรัต มีดังนี้

1. เป็นพระภิกษุองค์แรกและองค์เดียวในจังหวัดอุทัยธานี ที่ได้รับสมณศักดิ์สูงสุดในทาง ศาสนาของประเทศไทย

2. มีศีลาจารวัตร เป็นที่น่าเลื่อมใสของชาวอุทัยธานีและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

3. เป็นสังฆนายกภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน

4. เป็นกรรมการที่ปรึกษาการสังคายนาพระไตรปิฎก

5. ชาวอุทัยธานีนําสมณศักดิสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) มาขนานนามสะพานข้ามแม่น้ำาตรง บ้านท่าน้ำอ้อย อําเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ปากทางเข้าเมืองอุทัยธานี

ทางจังหวัดอุทัยธานี มีความภูมิใจในบุรุษอาชาไนยของบ้านเมือง ถึงกับสร้างโอสถศาลาไว้ใน นามของท่าน หลังจากที่ท่าน ล่วงลับไปได้ไม่นาน ต่อถึง พ.ศ.2538 แล้ว จึงมีสะพานสมเด็จพระวันรัต เฮง เขมจารี สร้างข้ามแม่น้ําเจ้าพระยา จากจังหวัดนครสวรรค์ไปสู่จังหวัดอุทัยธานี โดยที่นี่ถือได้ว่าเป็นถาวรวัตถุ ทางด้านสาธารณประโยชน์แห่งแรกที่รัฐบาลยอมตั้งชื่อถวายพระภิกษุสงฆ์ ก่อนนั้นมามีแต่ชื่อ อาคารสถานที่ที่ตั้งตามนามเจ้านายและนักการเมืองเท่านั้