ตอนที่ 2

การพัฒนาตนเองตามหลักพระพุทธศาสนา

การพัฒนา หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างให้ดีขึ้น โดยอาจปรับเปลี่ยนสิ่งที่ยังไม่ดีให้กลายเป็นดี หรือสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาตนเอง ซึ่งอาจพิจารณาได้เป็น 2 ด้าน คือ การพัฒนาตนให้เป็นคนดี กับการพัฒนาตนให้เป็นคนเก่ง

พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่ส่งเสริมให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่งอยู่มากมาย ตัวอย่างหลักธรรมเหล่านี้ ได้แก่

1. หลักธรรมสําหรับการพัฒนาตนให้เป็นคนดี

1.1 เบญจศีล หรือ ศีล 5 เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการรักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นข้อปฏิบัติในการละเว้นจากความชั่ว และรู้จักควบคุมตัวให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน มี 5 ประการ คือ

1) การไม่ฆ่าสัตว์หรือทรมานทําร้ายสัตว์ 

2) การไม่ลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น 

3) การไม่ประพฤติผิดลูกเมียของผู้อื่น 

4) การไม่พูดโกหก

5) การไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด

1.2 เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม เป็นหลักธรรมที่เกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีลโดย มุ่งเน้นที่การกระทําเพิ่ม มิใช่การละเว้นเพียงอย่างเดียว มี 5 ประการ ได้แก่

1) เมตตาและกรุณา คือ มีความรักและปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข 

2) สัมมาอาชีวะ คือ การทํามาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต 

3) กามสังวร คือ รู้จักสํารวม ระมัดระวัง และยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ 

4) สัจจะ คือ มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง

5) สติสัมปชัญญะ คือ รู้จักยั้งคิดและรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า สิ่งใดควรทําและไม่ควรทํา 

ที่มา: https://twitter.com/Psanitwong/status/1338673896753524736/photo/1

ที่มา: https://twitter.com/ake9999/status/1214903234709471232

ที่มา: https://www.matichon.co.th/columnists/news_1540622



2. หลักธรรมสําหรับการพัฒนาตนให้เป็นคนเก่ง 

2.1 อิทธิบาท 4 หมายถึง หลักธรรมสู่ความสําเร็จสมดังความมุ่งหมาย 4 ประการ คือ

1) ฉันทะ ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทําสิ่งนั้น ๆ อยู่เสมอ และยังปรารถนาที่จะทําให้สิ่งนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น

2) วิริยะ ความเพียร คือ ความขยันที่จะทําสิ่งนั้นด้วยความอดทนและไม่ท้อถอย

3) จิตตะ ความคิด คือ การตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทําและทําสิ่งนั้นด้วยความคิด ไม่ปล่อยจิตให้ ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป

4) วิมังสา ความไตร่ตรอง คือ การหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาหาข้อดีข้อบกพร่อง รู้จักคิดค้น วิธีแก้ไขปรับปรุง

2.2 พล 5 หมายถึง หลักธรรมอันเป็นกําลังหรือทําให้เกิดความมั่นคง คือช่วยให้การทํางานลุล่วงสําเร็จได้ มี 5 ประการ ได้แก่

1) สัทธา คือ มีความเชื่อมั่นหรือศรัทธาในสิ่งที่ตนเองทํา 

2) วิริยะ คือ ความเพียรปราศจากความเกียจคร้าน 

3) สติ คือ มีความระลึกได้ ไม่ประมาท 

4) สมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่น ไม่มีความฟุ้งซ่าน

5) ปัญญา คือ มีความรู้ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่กระทํา



3. การพัฒนาจิตใจตามหลักพระพุทธศาสนา

การพัฒนาจิตใจตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นวิชาการทางด้านจิต(จิตใจ)ที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้โดยง่าย ไม่เกี่ยวข้องกับความหลงเชื่อ เมื่อท่านได้ศึกษาและทดลองฝึกปฏิบัติดู จะได้รับผลภายในวินาทีที่ลงมือฝึกปฏิบัติ คือ จะมีความเบาสบาย สงบ ไม่มีความทุกข์ภายใน จิตใจ และจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะเป็นเรื่องของการใช้สติปัญญาของตนเอง

3.1 หลักการสําคัญในการพัฒนาจิต คือ จะต้องศึกษาธรรมสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ตรงประเด็น และต้อง ฝึกปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความชํานาญในการรู้เห็นความคิดและควบคุมความคิด ให้เป็นไปตามหลักธรรมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีองค์ประกอบโดยย่อ ดังนี้

1) มีสติปัญญาเห็นชอบว่า การพัฒนาจิตมีประโยชน์โดยตรงต่อการปฏิบัติงานและดําเนิน ชีวิตอย่างมีคุณภาพ การเห็นชอบเช่นนี้ จะทําให้เกิดศรัทธาที่จะศึกษาธรรมและฝึกปฏิบัติธรรม เพื่อการพัฒนาจิตใจของตนเองอย่างจริงจัง

2) มีสติจดจําหลักธรรมง่าย ๆ และทบทวนบ่อย ๆ ว่า “เราจะไม่คิดอกุศลและไม่ทําอกุศล แต่ จะคิดกุศลและทํากุศล โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ด้วยความโลภ และรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่เสมอ”

3) มีความเพียรที่จะมีสติ (ตั้งใจ) ในการรู้เห็นความคิดและการกระทําต่าง ๆ ทันทีที่รู้เห็นความคิดหรือการกระทําต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามหลักธรรม (ในข้อ 2) ก็ให้หยุดความคิดและการกระทํานั้น ๆ ทันที เมื่อฝึกทําเช่นนี้เป็นประจํา สมองก็จะทําหน้าที่ได้เองคล้ายอัตโนมัติ

ที่มา: https://discovermercercountypa.org/tag/การพัฒนาจิตใจ/

ที่มา: https://mgronline.com/dhamma/detail/9550000081363

3.2 ประโยชน์ของการพัฒนาตนเองด้านจิตใจ การพัฒนาจิตของตนเอง จะเป็นผลดีต่อจิตใจ ดังต่อไปนี้

1) ด้านการดําเนินชีวิต

(1) ส่งเสริมสุขภาพจิตให้มีความเข้มแข็ง และอดทนต่อปัญหาและความยากลําบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในขณะดําเนินชีวิต รวมทั้งในยามเจ็บป่วย โดยไม่มีความทุกข์ทางจิตใจ เช่นเดียวกันกับการมีสุขภาพกายที่ดี ทําให้สามารถต่อสู้กับภารกิจทางกาย และโรคภัยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

(2) ป้องกันความทุกข์ทางจิตใจ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจํา สมองก็จะทําหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจ

(3) รักษาความทุกข์ทางจิตใจ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจํา สมองก็จะสามารถทําหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการรักษาความทุกข์ทางจิตใจที่กําลังมีอยู่ได้ทุกขณะที่ต้องการ

(4) ฟื้นฟูจิตใจภายหลังการเจ็บป่วยและหลังจากมีความทุกข์ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจํา สมองก็จะทําหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อทําการฟื้นฟูจิตใจได้อย่างรวดเร็วตามเจตนาของเจ้าของ

2) ด้านการปฏิบัติงาน

(1) การฝึกให้มีสติ (มีความตั้งใจ) ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง เช่น ขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ จะไม่เผลอสติ ไม่ไปคิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดและไม่ทําเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

(2) ความเพียรในการฝึกฝนตนเองให้มีสติรู้เห็นและควบคุมความคิด รวมทั้งการกระทําต่าง ๆ ให้อยู่กับเรื่องการปฏิบัติงานตลอดเวลา

ทั้งนี้หากบุคคลหมั่นฝึกฝนตนเองให้มีสติ มีสมาธิ ขณะปฏิบัติงาน ก็จะทําให้การปฏิบัติงาน สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี

สรุปสาระสําคัญ

การพัฒนาตนเองตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นการประพฤติตนตามหลักธรรมที่สอนให้ เป็นคนดี คนเก่ง มีจิตใจมั่นคง มีสติให้มีความตั้งมั่นในสิ่งที่ทํา มีความตั้งใจที่

จะทําในสิ่งที่เป็นกุศล ผู้ที่ได้รับการพัฒนาตนเองตามหลักธรรมของศาสนาจะเป็นคนที่มีความสุขความเจริญในชีวิต การปฏิบัติงานไม่ผิดพลาด และคิดทําแต่สิ่งที่ดีที่ชอบอยู่เสมอ