เรื่องที่ 3.3
อนาคาริก ธรรมปาละ
อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) นาม เดิมว่า ดอน เดวิด เหวะวิตารเน เกิดเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2407 ที่ เมืองโคลัมโบประเทศศรีลังกา มรณภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นบุคคล ที่สําคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้ง สมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมา เป็นของชาวพุทธ ท่านเกิดในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า ดอน คาโรลิส เหาะวิตารน มารดาชื่อนางมัลลิกา เหวะวิตารเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอ็ดวิล อาร์โนลด์ ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ อินเดียจึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาชํารุดทรุดโทรม ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงอธิษฐานต่อ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่าจะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียและนําพุทธคยากลับคืน มาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้
จากนั้นจึงเดินทางกลับศรีลังกาและก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ขึ้นที่โคลัมโบ หลังจากนั้นท่านก็ได้ส่งสมณ ทูตมาที่พุทธคยา แต่ธรรมทูตทั้ง 4 กลับถูกพวกมหันต์ที่ยึดครองพุทธคยา รังแกจนบางรูปบาดเจ็บและบาง ท่านมรณภาพ ท่านต้องเดินทางกลับอินเดียอีก แล้วรณรงค์เพื่อให้พุทธคยากลับเป็นของชาวพุทธเช่นเดิม ท่าน เดินทางไปพุทธคยาและก็โดนพวกมหันต์ห้ามเข้าพุทธคยา แต่ท่านดื้อแพ่งจนที่สุดถูกทําร้ายจนเรื่องขึ้นศาล สุดท้าย ศาลชั้นต้น ชี้ขาดให้ชาวพุทธชนะแต่พวกมหันต์ไม่ยอมจึงฟ้องศาลฎีกา ศาลฎีกากลับให้พวกมหันต์ชนะจึงทําให้ พวกมหันต์ยึดคืนอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นท่านและพระสงฆ์จึงโดนขับออกจากพุทธคยา แม้ว่าจะแพ้แต่ท่านก็ไม่ยอมแพ้ยังรณรงค์ แจกจ่ายบรรยายเขียนหนังสือแจกจ่ายให้ชาวอินเดียทั่วไปอ่าน ทําให้ชาวอินเดียคนสําคัญ ทั้งคานธี ราธากฤษณัน (อดีตประธานาธิบดีคนที่สองของอินเดีย) ท่านรพินทรนาถ ฐากูร เห็นใจแล้วกล่าวสนับสนุน ท่านธรรมปาละ ทําให้พวกมหันต์เสียงอ่อนลง ต่อมาท่านดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อรณรงค์และบรรยายธรรม และทําให้นางแมรี่ อี ฟอสเตอร์ ที่ฮาวายเลื่อมใสศรัทธาได้ยอมตนเป็นพุทธมามกะ และบริจาคเงินหนึ่งล้านรูปีแก่ ท่านธรรมปาละ ต่อมาท่านธรรมปาละได้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ขึ้นหลายแห่งในอินเดีย
ในปัจฉิมวัยท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่สารนาถพาราณสี ก่อนมรณภาพท่านอธิษฐานว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้ตายไวๆ แล้วขอให้เกิดมาเผยแผ่ธรรมของพระพุทธองค์ตลอดไป
ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ความพยายามในการโอนพุทธคยาจากพวกมหันต์ให้เป็นของชาวพุทธยังไม่ สําเร็จ จนได้เอกราช ท่านเนห์รู นายกรัฐมนตรีของอินเดียและรัฐบาลของท่าน จึงร่างกฎหมายโอนพุทธคยา เป็นของรัฐบาล แล้วแต่งตั้งคณะกรรมการ 8 ท่านเป็นผู้บริหาร โดยเป็นฝ่ายฮินดู 4 และพุทธ 4 ส่วน ประธาน เป็นนายอําเภอเมืองคยา แม้จะไม่สามารถทําให้ชาวพุทธเป็นผู้บริหารทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์อย่าง ยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก
กฎหมายนี้สร้างความไม่พอใจให้พวกมหันต์เป็นอย่างมาก จึงฟ้องร้องทางศาลให้ถือว่า กฎหมายนี้เป็นโมฆะ แต่ประธานาธิบดีของอินเดียและนักการเมืองหลายท่านได้ห้ามปรามให้พวกมหันต์ ถอนฟ้อง เพราะจะเป็นที่อับอายแก่อินเดียทั้งชาติ และพวกมหันต์อาจจะเสียมากกว่านี้หลายเท่าพวกมหันต์ เชื่อฟังเพียงแต่ยับยั้งกฎหมายไว้แต่ก็ยังไม่ถอนฟ้อง ปัจจุบันพุทธคยายังใช้กฎหมายนี้อยู่
ในบั้นปลายชีวิตท่านได้อุปสมบท ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถ เมืองพาราณสี และ มรณภาพ ที่นั่นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2476 รวมอายุ 69 ปี
คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
ท่านเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าในการนําพระพุทธศาสนากลับมาสู่ดินแดนพุทธภูมิ หลังจากที่ สูญหายไปเป็นเวลาหลายร้อยปี อุทิศตนอย่างไม่ย่อท้อ ทํางานด้วยความวิริยะอุตสาหะจนเป็นที่ยอมรับของ คนทั่วไป ชาวพุทธยกย่องท่านว่าเป็นผู้นําพระพุทธศาสนากลับมาสู่แดนพุทธภูมิอีกครั้ง นอกจากนั้นยังเป็น ชาวพุทธที่เสียสละ และมีศรัทธาอย่างมุ่งมั่นในการที่จะรักษาพระพุทธศาสนาให้เป็นมรดกของชาวพุทธ ตลอดไป และสิ่งที่ท่านทุ่มเทมาตลอดชีวิตของท่านได้ประสบผลสําเร็จอย่างแท้จริง