เรื่องที่ 1.4

หมอชีวกโกมารภัจจ์

ที่มา : https://www.baanjomyut.com/library/chiwaga.html

เรื่องที่ 1.4 หมอชีวกโกมารภัจจ์

หมอชีวกเป็นบุตรนางโสเภณีนามว่า สาลวดี นางนคร โสเภณีผู้ทรงเกียรติแห่งเมืองราชคฤห์ โดยพระเจ้าแผ่นดินทรง แต่งตั้ง มีเงินเดือนและค่าตัวสําหรับผู้ร่วมอภิรมย์อีกคนละ 100 กหาปณะ (ประมาณ 400 บาท)

เพราะไม่ได้ตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดมาแล้วเป็นชายด้วย นางจึงไม่เลี้ยง สั่งให้เอาไปทิ้งที่หน้าประตูวัง เช้าตรู่วันนั้น เจ้าฟ้า อภัย พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปพบเข้า จึงนําไปเลี้ยง เป็น บุตรบุญธรรมตั้งชื่อให้ว่าชีวกโกมารภัจจ์ แปลว่า ผู้ยังมีชีวิตรอดมาได้ตอนเป็นเด็ก

ชีวกเป็นคนฉลาดมีปฏิภาณเฉียบคมถูกเด็กๆ ในวังค่าเสียดสีว่า เป็นลูกไม่มีพ่อ จึงมีมานะจะเอาชนะหาความรู้ใส่ตัวไม่ให้ใครดูถูก จึงหนีไปกับกองคาราวานไปยังเมืองตักกสิลาฝากตัว เป็นศิษย์เรียนวิชาแพทย์กับอาจารย์ทิศาปราโมกข์ เรียนอยู่ 7 ปีก็จบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดเมืองนอน

อาจารย์ให้เสบียงมานิดหน่อยหมดระหว่างทาง จึงต้องใช้วิชาความรู้ที่เรียนมารักษาโรคปวดหัว ของภรรยาเศรษฐีเมืองสาเกต ที่เป็นมา 7 ปีแล้ว รักษาหมอที่ไหนก็ไม่หาย สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วย การปรุงยาขนานเดียว ได้รับรางวัล 4,000 กหาปณะ

เมื่อกลับถึงเมืองราชคฤห์แล้วได้มีโอกาสรักษาโรคภคันทบาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร) ของพระเจ้า พิมพิสารจนหายขาด พระเจ้าพิมพิสารจึงแต่งตั้งให้เป็นแพทย์หลวงประจําพระราชสํานัก ได้พระราชทาน บําเหน็จจํานวนมาก รวมทั้งสวนมะม่วงด้วย

ท่านได้ผ่าตัดเนื้องอกในลําไส้ของบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งให้หายขาดจากโรคร้าย ได้แล้วได้ผ่าตัดสมองเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์คนหนึ่งจนอาการโรคปวดศรีษะหายขาด

จากนั้นมาชื่อเสียงเกียรติคุณของหมอชีวกก็แพร่สะพัดไปทั่วเมืองว่าเป็นหมอเทวดา ชื่อเสียงได้ฟังขจร ไปยังต่างแดน ถึงเมืองอุชเชนีแคว้นอวันที่ซึ่งอยู่ห่างไกล พระเจ้าจัณฑปัชโชต กษัตริย์ผู้คร้ายประชวรด้วย โรคปวดพระเศียรข้างเดียวมาเป็นเวลานาน 7 ปีแล้ว จึงส่งราชทูตมาขอจากพระเจ้าพิมพิสารให้ไปรักษา หมอชีวกถวายการรักษาจนหาย แต่ก็เกือบถูกประหารชีวิตเพราะกษัตริย์ไม่ชอบเนยใส หมอชีวกปรุงยาใส่เนยใส ถึงกับสั่งคนตามล่าหาว่าหมอชีวกแกล้ง แต่หมอชีวกก็เอาชีวิตรอดกลับมาได้ด้วยปัญญาของตน

เมื่อพระเจ้าจัณฑปัชโชตหายประชวรแล้วทรงสํานึกในบุญคุณหมอชีวกจึงทรงส่งผ้ากัมพล หรือ ผ้าแพรเนื้อละเอียดอย่างดีสองผืนไปพระราชทานแก่หมอชีวก

หมอชีวก ได้นําผ้าสองผืนนั้นไปถวายพระพุทธเจ้า จนเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ พระภิกษุสงฆ์รับผ้าสําเร็จที่ชาวบ้านถวายได้แต่บัดนั้นมาทําให้คหบดี และชาวเมืองต่างดีใจพากันนําจีวรมา ถวายพระเป็นจํานวนมาก

ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมื่อบําเพ็ญพุทธกิจตลอดทั้งวัน ทรงมีเวลาพักผ่อน น้อย พุทธกิจ 5 ประการคือ

1. เวลาเช้ามืด ทรงตรวจดูอุปนิสัยสัตว์โลกที่ควรโปรด

2. เช้า เสด็จออกบิณฑบาต หรือโปรดสัตว์

3. เวลาเย็น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัท

4. เวลาค่ำ ทรงให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์

5. เวลาดึก ทรงแก้ปัญหาเทวดา

พระวรกายของพระองค์จึงเกิดหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ท้องผูกอย่างร้ายแรงเนื่องจากนั่งนาน พระอานนท์จึงไปหาหมอชีวกแจ้งพระอาการของพระพุทธเจ้าให้ทราบ หมอชีวกได้ไปถวายยาถ่าย พระวรกาย ของพระพุทธองค์ได้กลับเป็นปกติดังเดิม และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจําพระองค์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พร้อมทั้งถวายสวนมะม่วงให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าอีกด้วย

ที่มา : http://dhamma.serichon.us/2020/04/01/ประวัติย่อหมอชีวก/

หมอชีวกได้ถวายการรักษาพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธองค์ถูกพระเทวทัตลอบทําร้ายกลิ้งหิน บนยอดเขาคิชฌกูฏหมายจะให้ทับพระองค์ให้สิ้นพระชนม์แต่ก็ทําได้แค่ทําให้พระบาทของพระพุทธองค์มี พระโลหิตห้อเท่านั้นหมอชีวกได้ถวายการรักษาที่สวนมะม่วงนั้น

หมอชีวกตลอดชีวิตท่านยุ่งอยู่กับการรักษาโรคคนทั้งมืองไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมแต่ท่านก็เป็นพระโสดาบัน ได้ใช้วิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาบําเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ไม่เลือกยากดีมีจน จนได้รับ ยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเอตทัคคะในด้านเป็นที่รักของปวงชนคนเช่นนี้ได้ชื่อว่าไม่เสียชาติเกิดโดยแท้ และ เราควรเอาเยี่ยงอย่างเป็นอย่างยิ่ง