เรื่องที่ 1.5

พระอนุรุทธะ

เรื่องที่ 1.5 พระอนุรุทธะ

พระอนุรุทธเถระในอดีตชาติได้สร้างบุญญาธิการไว้ ด้วยการทําบุญกุศลมากมาย ในพุทธกาลท่านบังเกิดเป็นพระราช โอรสของเจ้าอมิโตทนะซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกันสามพระองค์ คือ พระเชษฐา (พี่ชาย) พระนามว่ามหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี ถ้านับตามลําดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระพุทธเจ้า

อนุรุทธกุมาร อยู่ในปราสาทสามหลัง ในฤดูทั้งสาม สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร (ทรัพย์ที่ทําให้คนได้รับเกิดความรัก ความชอบใจ) และบริวารยศไม่เคยรู้จักและไม่เคยได้ยินคําว่า“ไม่มี” ก็ไม่รู้จักและ ไม่เคยได้สดับเลย

ที่มา : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=18541

ที่มา : https://sites.google.com/site/bukhkhltnbaeb/phuthth-saw-phuthth-sawika/phra-xnu-ru-thth-thera

ขณะที่พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมของมัลลกษัตริย์ในเวลานั้นศากยกุมาร ซึ่งเป็นผู้มี ชื่อเสียงมีคนรู้จักมากออกบวชตามพระบรมศาสดาวันหนึ่งเจ้ามหานามะ ผู้เป็นพระเชษฐา มาปรารภถึงรื่องนี้แล้ว จึงปรึกษากับอนุรุทธะผู้น้องว่าในตระกูลของท่านไม่มีใครออกบวชตามพระบรมศาสดาเลย อนุรุทธกุมารตอบว่า พระองค์ตั้งอยู่ในความสุข ไม่สามารถจะออกบวชได้ พระเจ้ามหานามะจึงสอนการงาน ของผู้ครองเรือน เมื่ออนุรุทธะ ได้ฟังแล้วก็เห็นว่าการงานไม่มีที่สิ้นสุดที่สุดของการงานไม่มีปรากฏ จึงคิดเบื่อหน่ายในการงาน จึงขอออกบวชเเทน

ตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก 7 ประการ

พระอนุรุทธะ เมื่อได้อุปสมบทแล้ว เรียนพระกรรมฐานในสํานักพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแล้ว เข้าไปอยู่ราวป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน เมื่อเจริญสมณธรรมอยู่ ได้ตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก 7 ประการว่า

1. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารภน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก

2. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ

3. ธรรมนี้เป็นของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ

4. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน

5. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง

6. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง

7. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม

เมื่อพระอนุรุทธะตรึกตรองอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จมาถึงทรงทราบว่าพระอนุรุทธะ ตรึกตรองอยู่อย่างนั้น ทรงอนุโมทนาว่าชอบละๆ อนุรุทธะท่านตรึกตรองธรรม ที่พระมหาบุรุษตรึกตรอง ถ้าอย่างนั้น ท่านจงตรึกธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกเป็นที่แปดว่า

8. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมให้เนิ่นช้า

ครั้นตรัสสอนพระอนุรุทธะอย่างนี้แล้ว เสด็จกลับมาที่ประทับ ส่วนพระอนุรุทธะบําเพ็ญเพียร ไปก็ได้สําเร็จพระอรหัตผล

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. มีความพากเพียรยิ่ง ชีวิตในวัยเยาว์ของท่านสุขสบายมาก่อนแต่เมื่ออกบวชแล้วต้องประสบความ ลําบากมานอนตามป่าเขา มีชีวิตเรียบง่าย แต่ท่านก็เพียรพยามปฏิบัติธรรม ไม่ย่อท้อ จนบรรลุอรหันต์

2. เป็นผู้สํารวมระวังยิ่ง พระอนุรุทธะได้ทิพยจักษุตั้งแต่ยังไม่บรรลุอรหันต์ ท่านมักเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ อาจทําให้จิตใจวอกแวก แต่ท่านก็มีสติ มีความสํารวม บางครั้งที่เพลิดเพลินไปกับภาพที่เห็น ท่านก็จะไปขอ คําแนะนําจากพระสารีบุตร อัครสาวก ซึ่งให้คําแนะนําแนวทางปฏิบัติต่อท่าน

3. เป็นหลักแห่งพระธรรมวินัย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระอนุรุทธะเป็นพระผู้ใหญ่ องค์เดียวในสถานที่นั้น ท่านได้นั่งสมาธิเข้าฌานตามพระพุทธเจ้าไปด้วย แล้วคอยบอกพุทธบริษัทที่เฝ้าอยู่ว่า พระพุทธองค์ทรงเข้าฌานอยู่ และเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา คอยชี้แจงแก้ข้อสงสัยของพุทธบริษัท และ ได้กล่าวธรรมกถาเตือนสติพุทธบริษัทไม่ให้เศร้าโศกเสียใจ ว่าสังขารทั้งหลายมีการเกิด การดับเป็นธรรมดา