ตอนที่ 4 ความสําคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการศึกษา การเมือง การสร้างสันติภาพของโลก

ความสําคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการศึกษา

  การศึกษาในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ผู้ชายไทยเกือบทุกคนหากจะศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการ ต่าง ๆ ล้วนต้องไปศึกษาเล่าเรียนที่วัด โดยมีพระสงฆ์เป็นครูสอน ภาษาที่ใช้เล่าเรียนสันนิษฐานว่าใช้ภาษาบาลี ในพระพุทธศาสนาเป็นรากฐาน ต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคําแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี พ.ศ. 1826 จึงมีการเล่าเรียนเป็นภาษาไทย ซึ่งก็ผสมผสานการเรียนไปกับภาษาบาลี สมัยอยุธยา ได้มีการแบ่งแยก การศึกษาเป็นฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร ทั้งนี้เพราะในสมัยอยุธยามีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มากมาย ประกอบกับได้มีพวกมิชชันนารีหรือนักบวชสอนศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแผ่ศาสนา สมัยนั้นจึงได้มี การศึกษาวิชาสามัญทั่วไป วิชาชีพต่าง ๆ รวมกับการศึกษาที่มีอยู่เดิมที่ผู้ชายไทยส่วนใหญ่มักจะได้เรียนในวัด จากพระสงฆ์ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้แยกการเรียนภาษาไทยกับภาษาบาลีออกจากกันตามลําดับโดย เด็ดขาด และแยกการศึกษาเป็นฝ่ายอาณาจักรกับฝ่ายพุทธจักร กล่าวคือ ฝ่ายอาณาจักรก็จะมีการศึกษาตาม แบบเรียนที่ได้มีการแต่งและเรียบเรียงขึ้นใหม่ ทั้งยังมีการเรียนภาษาต่างประเทศ ดาราศาสตร์ และอื่น ๆ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีการแยกการเรียนการศึกษาเป็นอาณาจักรและพุทธจักร แต่คนไทยส่วนใหญ่สมัยนั้น ล้วนได้รับการศึกษาจากวัดจากพระสงฆ์โดยการบวชเรียน จึงมีกฎเกณฑ์ทางราชการกําหนดไว้ว่า ผู้ใดจะ เข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาก่อน

  แบบเรียนภาษาไทยได้เริ่มมีการแต่งขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา เป็นแบบเรียนที่เรียบเรียงขึ้นตาม แบบอย่างการเรียนภาษาบาลี เพราะได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ สมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระยา ดํารงราชานุภาพ ได้แต่งแบบเรียนเร็วสําหรับการเรียนการสอนภาษาไทยขึ้นใหม่ ก็เป็นแบบเรียนที่ใช้ หลักการทางพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้เรียนที่เป็นเด็กตั้งแต่ชั้นมูล(อนุบาลาถึงประถมศึกษาได้มีพื้นฐานทั้ง ภาษาไทยและในด้านวิวัฒนาการทางสมอง สติปัญญา รู้วิเคราะห์ แยกแยะ ใช้ความคิดและเป็นพื้นฐานใน การศึกษาวิชาอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง แบบเรียนเร็วนี้เหมาะสมกับเด็กไทยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จึงทําให้ คนไทยสมัยนั้นแม้จบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็สามารถที่จะประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ครู ข้าราชการ และอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนามีความสําคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะจะให้ ทั้งความรู้และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติ ทําให้ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนเป็นคนที่สมบูรณ์ มีทั้ง ความรู้และความประพฤติดี การศึกษาทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์

พระพุทธศาสนากับการศึกษาที่สมบูรณ์

  การศึกษาที่สมบูรณ์ เป็นการศึกษาที่ทําให้บุคคลมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความสงบสุข และสามารถ แก้ปัญหาที่ประสบได้อย่างราบรื่น เป้าหมายการศึกษาที่สมบูรณ์ตามหลักพระพุทธศาสนาจึงเน้นให้บุคคลมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ มีความรู้ความเข้าใจในชุมชน และมี ความประพฤติดี

  1. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ ในมงคล 38 เรียกความรู้อย่างนี้ว่า “สิปปญจ” หมายถึง มีศิลปวิทยา มีความชํานาญในอาชีพของตน สามารถทํางานประกอบอาชีพเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้ การศึกษา ด้านวิชาชีพจึงเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์

  2. มีความรู้ความเข้าใจในชุมชน หมายถึง มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรม จารีต ประเพณี กฎหมาย สภาพการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน ท้องถิ่น สังคม ประเทศชาติและโลก การมีความรู้ความเข้าใจในชุมชนจะช่วยให้บุคคลเข้าใจสภาพสังคม สามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสความเปลี่ยนแปลง ของสังคมได้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข

 3. มีความประพฤติดี หมายถึง มีความรู้ในหลักจริยธรรม ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกต้องดีงาม การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องสอนให้คนเป็นคนดี มีคุณธรรมและปฏิบัติตามกรอบของศีลธรรมหรือหลักคําสอน ของพระพุทธศาสนาได้โดยเคร่งครัด

การศึกษาหากเน้นแต่ความรู้เพื่อนําไปประกอบอาชีพ บุคคลนั้นก็จะนําความรู้ไปใช้แสวงหา ผลประโยชน์ส่วนตน คดโกง ทุจริต อาศัยความรู้หาช่องทางให้ตนเองได้ทรัพย์สมบัติ เอาเปรียบและสร้าง ความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ทําให้สังคมไม่มีความสงบสุข การศึกษาจึงต้องเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์คือ มีความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ และมีคุณธรรม จริยธรรม ต้องเป็นคนเก่งและคนดีควบคู่กันไป 

  ดังคํากล่าวที่ว่า ความรู้คู่คุณธรรม หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนาจึงเน้นศึกษาตามหลัก “ไตรสิกขา” ไตร แปลว่า สาม สิกขา คือข้อที่จะต้องศึกษาหรือข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสําหรับศึกษา 3 ประการ ซึ่งเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย

  1. สีลสิกขา คือการศึกษาในเรื่องศีล เป็นการควบคุมกาย วาจา ให้เรียบร้อยเป็นปกติ ศีลที่ต้อง ศึกษาและลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นพื้นฐานในการดําเนินชีวิตให้ได้คือศีล 5 หากทุกคนมีศีล 5 สังคมก็จะมีแต่ ความสงบสุข

  2. จิตตสิกขา คือการศึกษาเพื่อพัฒนาจิต เป็นการศึกษาจิตและควบคุมจิตให้แน่วแน่ในสิ่งที่ดีงาม หากเราฝึกจิตเราให้ดี มีความหนักแน่นไม่หวั่นไหวไปตามกิเลส พฤติกรรมของเราก็จะดีตาม ดังคํากล่าว ที่ว่า “ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ” คือจิตเราจะคิดก่อนแล้วกายก็จะทําตาม ถ้าจิตคิดดีพฤติกรรมของเราก็จะดี หากจิตคิดไม่ดีพฤติกรรมก็จะออกมาในทางชั่ว การศึกษาเพื่อพัฒนาจิตจึงเป็นสิ่งสําคัญ


การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องศึกษาความรู้ ทางวิชาการและมีคุณธรรม จริยธรรม 

  3. ปัญญาสิกขา คือการศึกษาในเรื่องปัญญา คนที่มีปัญญาจะมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ตาม สภาพที่เป็นจริงทั้งทางโลกและทางธรรม ทําให้สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

การศึกษาตามหลักไตรสิกขา จึงมีความสัมพันธ์เกื้อกูลเป็นพื้นฐานให้แก่กันและกันคือ ปัญญาจะ เกิดขึ้นได้บุคคลนั้นจะต้องฝึกจิตให้เป็นสมาธิ จิตจะเป็นสมาธิบุคคลจะต้องมีศีลอันบริสุทธิ์คือควบคุมกาย และวาจาให้เป็นระเบียบก่อน หากจิต ไม่เป็นสมาธิปัญญาก็ไม่เกิด เราจะเห็นตัวอย่างได้ง่าย ๆ เมื่อทํา ข้อสอบหรือคิดสิ่งต่าง ๆ ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เงียบ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิจะได้คิดออกหรือทําข้อสอบได้ ดังนั้นเราจึงควรเจริญศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็นนิตย์

ความสําคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการเมืองและการสร้างสันติภาพของโลก

  การเมืองเป็นเรื่องของการแบ่งสรรผลประโยชน์และอํานาจ หากแบ่งสรรผลประโยชน์และอํานาจ ไม่ลงตัวไม่ว่าจะเป็นระดับชุมชน ประเทศ หรือ โลก ก็จะเกิดความขัดแย้งอาจจะรุนแรงถึงขั้นสู้รบกันตั้งแต่ ขนาดเล็กไปจนถึงสงครามขนาดใหญ่ลามไปทั่วโลก การเมืองทางโลกจึงเป็นการแสดงพลังอํานาจทุก ๆ วิถีทางเพื่อจะได้เหนือคู่ต่อสู้ อันจะทําให้สามารถแย่งชิงผลประโยชน์ในสัดส่วนที่มากกว่าคนอื่นแต่ พระพุทธศาสนากลับมีแนวคิดตรงกันข้ามกับการแสวงหาอํานาจที่มากกว่าคนอื่น แต่มุ่งเน้นในการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข ดังจะเห็นได้จากพระพุทธองค์ให้ความสําคัญที่จะปลดปล่อยมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ทรงต่อสู้กับแนวทางการปกครองที่ถือชั้นวรรณะของอินเดียที่เอาเปรียบซึ่งกันและกันมาสู่ความเสมอภาค และมีเสรีภาพในการดํารงชีวิต เช่น ผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะมาจากชั้นวรรณะใด จะมี ความเท่าเทียมกันคือ ถือศีล 227 ข้อเท่ากัน ภิกษุบวชใหม่แม้จะอยู่ในวรรณะที่สูงกว่าก็ต้องเคารพภิกษุที่ บวชก่อน ที่มีพรรษาแก่กว่า

  พระพุทธศาสนามีบทบาทสําคัญต่อการเมืองและการสร้างสันติภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะ เป็นศาสนาที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สอนให้คนมีเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนกัน สอนให้กระทํา ความดี ละเว้นความชั่ว มีความบริสุทธิ์ใจต่อกัน พระพุทธศาสนามีหลักคําสอนเกี่ยวกับทางด้านการเมือง และการสร้างสันติ พอสรุปเป็นตัวอย่างเพื่อความเข้าใจและเห็นชัดเจน ดังนี้

1. อธิปไตย 3 เป็นหลักความเป็นใหญ่ มี 3 ประการ

  1.1 อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือถือเอาตนเอง ฐานะศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ ผู้ที่ถือ ตนเองเป็นใหญ่นั้นจะต้องมุ่งทําความดี ละเว้นความชั่ว ด้วยการเคารพตนเอง

  1.2 โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ ถือความคิดเห็นของคนส่วนมาก เป็นใหญ่ มุ่งทําความดี ละเว้นความชั่ว ด้วยการเคารพเสียงชนหมู่มาก

  1.3 ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือถือหลักการความเป็นจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ความมีเหตุผล เป็นใหญ่ ให้ความสําคัญแก่การปฏิบัติตนตามหลักธรรม หากต้องการความถูกต้อง จะต้อง ยึดหลักธรรมาธิปไตย โดยมิได้ถือตนหรือถือ โลกเป็นใหญ่ เพราะบางที่การถือ โลกหรือเสียงส่วนใหญ่อาจ ไม่ถูกต้องทีเดียว เช่น พวกมากลากไป อาศัยว่ามีพรรคพวกมากกระทําไม่ถูกต้องแล้วอ้างว่าเป็นเสียงข้างมาก พระพุทธเจ้าทรงนิยมธรรมาธิปไตย คือถือเอาหลักธรรมเป็นใหญ่ ไม่นิยมอัตตาธิปไตยที่ถือเอาตนเป็นใหญ่หรือ โลกาธิปไตยที่ถือเอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นมิใช่สภา” สัตบุรุษ คือ ผู้ที่รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักชุมชน และรู้จักบุคคล

2. อปริหานิยธรรม 7 เป็นหลักธรรมสําหรับใช้ในการปกครอง เพื่อป้องกันมิให้การบริหารหมู่คณะ เสื่อมถอย แต่กลับเสริมให้เจริญฝ่ายเดียว ประกอบด้วย

  2.1 การหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการประชุมพบปะปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หาแนวทางพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

  2.2 ความพร้อมเพรียงกันประชุม เข้าประชุม เลิกประชุมและทํากิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง

  2.3 การไม่บัญญัติหรือล้มเลิกข้อบัญญัติต่าง ๆ คือ ไม่เพิกถอน ไม่ละเมิดข้อตกลงที่บัญญัติไว้ ควร ปฏิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้ ไม่บัญญัติหรือวางข้อกําหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ อันมิได้ตกลงบัญญัติไว้

  2.4 การให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์มา ยาวนาน ต้องให้เกียรติให้ความเคารพนับถือ รับฟังความคิดเห็นของท่าน

  2.5 การ ไม่ข่มเหงสตรี เป็นการให้เกียรติและคุ้มครองสตรีมิให้มีการกดขี่ข่มเหงรังแก

  2.6 การเคารพสักการะเจดีย์ คือการ ให้ความเคารพศาสนสถาน ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจําชาติ อันเป็นเครื่องเตือนความจํา ปลุกเร้าให้เราทําความดีและเป็นที่รวมใจของหมู่ชน

  2.7 การให้การอารักขาพระภิกษุสงฆ์หรือทรงศีล เป็นการให้ความอารักขาบํารุงคุ้มครอง เต็มใจต้อนรับ เพื่อให้ท่านเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน

การประชุมเป็นการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และหาแนวทาง พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน เราจึงควรมีความพร้อมเพรียง ในการประชุม 

3. สาราณียธรรม 6 หมายถึงการเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ปรารถนาดี เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ส่งเสริมให้เกิดเอกภาพ ภราดรภาพ ความเป็นพี่เป็นน้อง สันติสุขและสันติภาพ ประกอบด้วย

  3.1 เมตตากายกรรม คือการอยู่ด้วยกันด้วยการกระทําดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนทําร้ายกัน

   3.2 เมตตาวจีกรรม คือการพูดเจรจาด้วยความเมตตา ไม่กล่าวร้าย เสียดสีกัน เจรจาให้เข้าใจกัน

  3.3 เมตตามโนกรรม คือการไม่คิดร้ายซึ่งกันและกัน มีความซื่อสัตย์ เคารพในความคิดเห็นซึ่งกัน และกัน มีจิตเมตตาต่อกัน

  3.4 สาธารณ โภคี คือการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาโดยชอบธรรมแก่เพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค วิชาความรู้ รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ไม่ทําลายระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมวลมนุษย์ บําเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะโดยไม่เห็นแก่ตัว

  3.5 สีลสามัญญตา คือการรักษาความประพฤติ(ศีล)เสมอกัน มีความประพฤติดี รักษาระเบียบ วินัย รักษากฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ฝ่าฝืนมติหรือหลักการอันจะ ก่อให้เกิดความหวาดระแวงไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน

  3.6 ทิฐสามัญญตา คือการมีความเห็นร่วมกัน ไม่วิวาทเพราะความเห็นต่างกัน มีความเห็นที่ถูกต้อง ร่วมกัน มีความเชื่อมั่น ยึดถือในหลักการอุดมการณ์ร่วมกันหรือสอดคล้องกัน ในสังคมประชาธิปไตย จะต้องมีความเห็นความเข้าใจและเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตยร่วมกัน เช่น เข้าใจเรื่องสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ

4. สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวและผูกพันกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในสังคม เป็นหลักธรรมในการผูกมิตร ซึ่งจะส่งผลต่อดีการปกครองและ ก่อให้เกิดสันติภาพ ประกอบด้วย

  4.1 ทาน คือ การให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเสียสละ การช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของ เช่นเมื่อผู้อื่น ประสบเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม ไฟไหม้ เราก็ช่วยเหลือเขาด้วยการให้สิ่งของ อามิสทานเครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ตามกําลังความสามารถของเรา นอกจากนี้การให้ความรู้และการแนะนําสั่งสอนก็จัดเป็นทาน (ธรรมทาน)

  4.2 ปิยวาจา คือ มีวาจาดี เจรจาอ่อนหวานด้วยถ้อยคําที่สุภาพ อ่อนโยน เป็นคําพูดที่มีประโยชน์ ทําให้เกิดไมตรีมีความสามัคคีและเป็นที่รักใคร่นับถือของบุคคลอื่น

  4.3 อัตถจริยา คือ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น และไม่นิ่งดูดายที่จะช่วยเหลือผู้อื่นทั้งที่ร้องขอและไม่ได้ร้องขอ

  4.4 สมานัตตตา คือ ความเป็นคนมีตนสม่ำเสมอ กระทําตนเสมอต้นเสมอปลาย ไม่หยิ่งยะโส เมื่อตนได้ดีมีฐานะ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลที่ด้อยกว่าตน ปฏิบัติตนเป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอ

5. ทศพิธราชธรรม คือ คุณธรรมของผู้ปกครอง หรือธรรมของพระราชา มี 10 ประการ

  5.1 ทาน หมายถึงการให้และแบ่งปันให้มวลประชา บําเพ็ญตนเป็นผู้ให้ เอาใจใส่ จัดสวัสดิการ ให้การสงเคราะห์ อนุเคราะห์ประชาราษฎร์ให้ได้รับประโยชน์สุข มีความปลอดภัย ตลอดจน ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อน

  5.2 ศีล หมายถึง รักษาความสุจริต ประพฤติดีงาม สํารวมกายและวาจาให้เป็นปกติหรือเป็นไป ในทางที่ดีงาม

  5.3 ปริจาคะ หมายถึง บําเพ็ญกิจด้วยเสียสละ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบสุข ของบ้านเมือง

  5.4 อาชวะ หมายถึง ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง สุจริต จริงใจไม่หลอกลวงประชาชน ไม่ฉ้อราษฎร์ บังหลวง

  5.5 มัททวะ หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน มีอัธยาศัยดี ไม่เย่อหยิ่ง มีกิริยาสุภาพนุ่มนวล ไม่ถือตน ไม่หลงใหลในอํานาจ

  5.6 ตบะ หมายถึง พ้นจากการมัวเมา ตัดกิเลสตัณหามิให้เข้าครอบงําจิตใจ ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสําราญ ซึ่งจะส่งผลให้เสียการงาน

  5.7 อักโกธะ หมายถึงความไม่โกรธ ไม่วินิจฉัยความและกระทําการด้วยอํานาจความโกรธ มีเมตตาธรรมประจําใจ มีจิตใจมั่นคง สุขุมเยือกเย็น สามารถข่มใจอดกลั้นความไม่พอใจไว้ได้

 5.8 อหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียน ไม่หลงอํานาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ผู้ที่ด้อยกว่าตน

 5.9 ขันติ หมายถึง ความอดทน อดทนต่องานที่ตรากตรํา อดทนต่อความเหนื่อยยาก อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่อโลภะ โทสะ โมหะ

  5.10 อวิโรธนะ หมายถึง ความไม่คลาดธรรม ประพฤติตนอยู่ในธรรม ไม่ประพฤติผิดทํานอง คลองธรรม การใดที่เป็นไปด้วยความชอบธรรมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนก็ไม่ขัดขวาง วางตนหนักแน่น มั่นคง ไม่เอนเอียงไปเพราะอํานาจของความลําเอียงที่เรียกว่า อคติ 4 คือ ฉันทาคติ (ลําเอียงเพราะความรัก) โทสาคติ (ลําเอียงเพราะความโกรธ) โมหาคติ (ลําเอียงเพราะความหลง) ภยาคติ (ลําเอียงเพราะความกลัว) ทศพิธราชธรรมข้อนี้ถือว่าเป็นหลักธรรมที่มีความสําคัญมาก เพราะได้รวมหลักธรรมทั้งหมดคือไม่คลาดจาก การปฏิบัติธรรม

  หลักธรรมเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนามีบทบาทสําคัญต่อการเมืองและการสร้าง สันติภาพ เพราะมีหลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติทั้งผู้ปกครองหรือผู้นําและประชาชนในสังคม หากทุกคนปฏิบัติ ตามคุณธรรมดังกล่าว การปกครองก็เป็นไปอย่างราบรื่นและสงบสุข หลักธรรมสอนให้ผู้นําและประชาชนมี คุณธรรม มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความยุติธรรม และยังสอนให้ละกิเลส อันประกอบด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งนําไปสู่ความไม่เบียดเบียนกันสังคมก็จะมีแต่สันติภาพและสงบสุข


สรุปสาระสําคัญ

  พระพุทธศาสนามีความสําคัญต่อการศึกษา การเมือง และการสร้างสันติภาพของโลก เพราะ หลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธศาสนามุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลให้เป็นคนดี มีคุณธรรม ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ละเว้นการเอารัดเอาเปรียบ มุ่งร้ายเบียดเบียนกัน สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งจะนําไปสู่สันติภาพของโลกได้ในที่สุด