หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

โครงสร้างหน่วย

มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ ส 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะเพื่อความสงบสุขของสังคม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. วิเคราะห์ปัญหาการเมืองสําคัญในประเทศจากแหล่งข้อมูลต่างๆ พร้อมทั้งเสนอแนวทาง แก้ไขปัญหาทางการเมืองการปกครองที่นําไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

  2. วิเคราะห์ความสําคัญและความจําเป็นที่ต้องชํารงรักษาไว้ซึ่งการปกครองตามระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

  3. เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

  4. ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและเสนอแนวทางพัฒนา

รายละเอียดขอบข่ายเนื้อหา

ตอนที่ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

   เรื่องที่ 1.1 สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

  เรื่องที่ 1.2 ฐานะและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ไทย

ตอนที่ 2 การขัดแย้งทางการเมืองของไทย

เรื่องที่ 2.1 สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่สําคัญของไทย

เรื่องที่ 2.2 ผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมืองต่อวิถีชีวิตของคนไทย

  เรื่องที่ 2.3 แนวทางแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย

ตอนที่ 3 บทบาทของการเมืองไทยที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  เรื่องที่ 3.1 ประเทศไทยในสังคมโลก

  เรื่องที่ 3.2 บทบาทของความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศ

  เรื่องที่ 3.3 การแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือระหว่างประเทศ

ตอนที่ 4 สิทธิมนุษยชน

  เรื่องที่ 4.1 หลักการของสิทธิมนุษยชน

  เรื่องที่ 4.2 องค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

  เรื่องที่ 4.3 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เรื่องที่ 4.4 ประเทศไทยกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและแนวทางแก้ไข

เวลาที่ใช้ในการศึกษา 20 ชั่วโมง

สื่อการเรียนรู้

ชุดการเรียนทางไกลรายวิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง 3 รหัสรายวิชา สค33009 ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย

กิจกรรมการเรียนรู้

  1. ศึกษารายละเอียดจากชุดการเรียนทางไกล

  2. ปฏิบัติกิจกรรมแต่ละตอนที่กําหนด

  3. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากผู้รู้ หรือสื่อที่มีอยู่ในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ