เรื่องที่ 3.1 

การธํารงรักษาพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัท 

พุทธบริษัท หมายถึง ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา 4 กลุ่ม คือ พระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งในสมัยต่อมามีการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยว่า พุทธศาสนิกชน  พุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน มีหน้าที่หลักในการธํารงรักษาพระพุทธศาสนา ดังนี้


https://sites.google.com/a/maesai.ac.th/aunchittha/xeksar-prakxb-kar-sxn-sangkhmsuksa-m-3/phraphuthth-sasna/hnwy-thi-5-hnathi-chaw-phuthth-laea-maryath-chaw-phuthth

https://www.youtube.com/watch?v=sqdpYmAegZA

1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ พระสงฆ์มีหน้าที่ศึกษาพระธรรมคําสอนของ พระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และนํามาเผยแผ่แก่มวลมนุษย์ให้ได้พบความสงบ และสันติสุขอย่าง แท้จริง พระภิกษุสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้หลายทาง ได้แก่

       1.1 การแสดงธรรมและปาฐกถาธรรม หรือเรียกกันทั่วไปว่า “เทศน์” ในโอกาสต่าง ๆ ทั้งงาน มงคลและงานอวมงคล พระสงฆ์จะต้องศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจ และนำมาถ่ายทอดให้กับประชาชน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ เลื่อมใสในศาสนามากขึ้น


1.2 การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง พระสงฆ์จะต้องเป็นผู้รักษาศีล มีความสำรวมทั้งกาย วาจา ใจ มีชีวิตเรียบง่าย ไม่ยึดติดกับลาภ ยศ หรือตำแหน่ง พอใจเพียงปัจจัย 4 มีเมตตากรุณา ไม่ผูกพยาบาท ไม่คิดร้าย ต่อผู้อื่น พระสงฆ์ที่ดีไม่ต้องเอ่ยคำสอน เพียงมีวัตรปฏิบัติที่งดงาม ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธามีจริยาวัตรที่ดี เช่น

       1) ออกบิณฑบาตตอนเช้า

       2) ทำวัตรสวดมนต์เจริญภาวนา

       3) พิจารณาปัจจัย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แล้วบริโภคใช้สอย อย่างมีสติ

       4) ทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยและบริเวณวัด

       5) ช่วยเหลือรับใช้พระอุปัชฌาย์และพระเถระผู้ใหญ่

       6) บริหาร หรือดูแลรักษาร่างกายและสิ่งของของตนให้สะอาดเรียบร้อย เช่น อาบน้ำ ตัดเล็บ ซักจีวร เป็นต้น

       7) ดำรงตนให้น่าเคารพกราบไหว้


https://sites.google.com/a/maesai.ac.th/aunchittha/xeksar-prakxb-kar-sxn-sangkhmsuksa-m-2/phraphuthth-sasna/hnwy-thi-5-hnathi-chaw-phuthth-laea-maryath-chaw-phuthth

http://ropynew.blogspot.com/2018/01/blog-post.html

https://www.youtube.com/watch?v=fCKnfJRxido

2. การแสดงบทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระสงฆ์มีหน้าที่โดยตรงในการเผยแผ่ ศาสนา โอกาสที่พระสงฆ์จะได้ทำหน้าที่นี้ ได้แก่

       2.1 การบรรยายธรรม ในปัจจุบันการบรรยายธรรมแตกต่างจากสมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนที่ จะต้องบรรยายต่อหน้าผู้คน ปัจจุบันอาจบรรยายธรรมโดยอาศัยระบบสื่อสารมวลชน เช่น ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ได้ การบรรยายเพื่อเผยแผ่พระศาสนานั้นต้องระมัดระวังในเรื่อง

                1) การดูหมิ่นศาสนาอื่น ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม

                2) ต้องรู้กาลเทศะที่เหมาะสม ไม่บรรยายพร่ำเพรื่อ

                3) ในการบรรยายเมื่อต้องเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ควรระบุว่าสิ่งใดคือข้อเท็จจริง สิ่งใดเป็น ความเห็น หรือควรหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น

       2.2 การจัดนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ หลักธรรมคำสอน อาจจะจัดพร้อมกับมีสื่ออื่น ๆ ประกอบ


3. การเป็นชาวพุทธที่ดีตามหลักทิศ 6 คำว่าทิศในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทิศเบื้องบน คือ พระสงฆ์ ทิศเบื้องหน้า คือ บิดามารดา ทิศเบื้องขวา คือ ครู อาจารย์ ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหาย ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา บุตร ธิดา ทิศเบื้องล่าง คือ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การปฏิบัติตามหลักทิศ 6 จะก่อให้เกิด ความสมานฉันท์ การเกื้อกูลกันระหว่างบุคคล เพื่อจะได้เป็นบิดามารดา ครูอาจารย์ ศิษย์ มิตรสหาย สามีภรรยา นายจ้างลูกจ้างที่ดี นําไปสู่การเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี


https://www.facebook.com/watsaladaeng/posts/2316050281775931/

https://sites.google.com/a/nmp.ac.th/navamindarajudis-phayap-school/khaw-kickrrm/khaykhunthrrmcriythrrmradabchanm6

4. การเข้าค่ายคุณธรรม เป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน ถ้าเยาวชนได้รับการพัฒนา อย่างถูกวิธี เยาวชนเหล่านี้ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป การเข้าค่ายคุณธรรมจะมี กิจกรรมต่าง ๆ ที่สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนให้นำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม


5. การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนาที่กำหนดขึ้น แสดงออกถึงความเชื่อทางศาสนา ซึ่งกระทำเพื่อให้เกิดความอบอุ่นทางใจ ทำให้การปฏิบัติศาสนกิจเป็นสิ่ง สำคัญและมีความน่าเชื่อถือ น่าศรัทธามากขึ้น


https://sites.google.com/site/mieang02122538/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-3-sasn-phithi/khwam-hmay-laea-khwam-sakhay-khxng-sasn-phithi

https://www.google.com/search

6. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะคือการประกาศตนว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นการแสดงให้ปรากฏ ว่าตนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชีวิตของตน ถึงแม้ประชาชนไทยจะนับถือ พระพุทธศาสนาตามบิดามารดา แต่การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ทำให้เกิดความซาบซึ้งในพระพุทธศาสนา กิจกรรมที่ทำช่วยกระตุ้นเยาวชนให้ตั้งมั่นในความเป็นพุทธมามกะของตน 

7. การบรรพชา อุปสมบท บรรพชา หมายถึง เว้นทั่ว เว้นโดยสิ้นเชิง คือ เว้นจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ เคยทำสมัยครองฆราวาส หันมาถือชีวิตสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ถือเพศบรรพชิต การบรรพชาเกิดขึ้นครั้งแรกใน สมัยพุทธกาลเมื่อพระราหุลกุมารบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 7 พรรษา ส่วนการอุปสมบท หมายถึง การบวช เป็นพระสงฆ์

       การบรรพชาทำให้เยาวชนใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น ได้รับการฝึกอบรมด้านวินัย กิริยามารยาท กล่อมเกลาจิตใจให้อยู่ในศีลในธรรม และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

การอุปสมบทมีประโยชน์ คือ ทำให้คนในวัยหนุ่มได้เรียนรู้พระธรรมวินัย ฝึกความสำรวม กาย วาจา ใจ ฝึกความอดทน ความรับผิดชอบ เรียนรู้ระเบียบประเพณีปฏิบัติของสังคม ช่วยค้ำชูและเผยแผ่ศาสนา


http://www.captiva-club.com/cctforum/index.php?topic=36370.0

https://sites.google.com/site/rongreiyndekdi/1-hnathi-chaw-phuthth/1-3-kar-barung-raksa-sasn-sthan

8. บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากวัดและพุทธสถาน สามารถทำได้ดังนี้

       8.1 บำรุงรักษาพุทธสถาน อุโบสถ วิหาร เจดีย์ ให้มั่นคงแข็งแรง และสะอาด

       8.2 รักษาศาสนสถานให้เป็นเขตพระรัตนตรัย มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ฆ่าสัตว์ หรือนําอบายมุขมา แปดเปื้อน


9. ปฏิบัติตามหน้าที่หลักของชาวพุทธ ดังนี้

       9.1 หมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเพิ่มพูนความฉลาดเฉียบแหลม ความแกล้วกล้า ความเป็นพหูสูตให้กับตนเองสามารถนำความรู้ไปบอกแสดง เผยแผ่แก่ผู้อื่นได้

       9.2 พยายามนำหลักธรรมที่ศึกษาไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยเลือกเอาหลักธรรมที่ เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของตนเอง เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่ตนเอง ครอบครัวและ สังคมต่อไป

       การธำรงรักษาพระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ที่พุทธศาสนิกชนทุกคนต้องปฏิบัติให้เป็นนิสัย เริ่มต้น จากการปฏิบัติเพื่อตนเอง ชุมชน และขยายไปถึงประเทศชาติและโลกต่อไป