เรื่องที่ 4.2 องค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

  ในประเทศไทยจะมีองค์กรที่ให้ความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนชาว ไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาพํานักอยู่ในประเทศไทย ดังนี้

  1. องค์กรทางศาล เป็นองค์กรฝ่ายตุลาการที่ใช้หลักพิจารณาพิพากษาตัดสิน ชี้ขาดข้อพิพาท เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ผลของคําพิจารณาพิพากษาของศาลมีผลบังคับให้ต้องปฏิบัติตาม เพื่อพิทักษ์สิทธิ มนุษยชนที่ทุกคนพึงมี ได้แก่ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร อํานาจหน้าที่ของศาลเป็นไปตามที่ รัฐธรรมนูญกําหนด

 2. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นองค์กรอิสระที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้ โดยทําหน้าที่พิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงตามคําร้องเรียนในกรณีที่

2.1 ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วน ท้องถิ่นไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด

2.2 ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วน ท้องถิ่นปฏิบัติ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียน หรือประชาชน โดยไม่เป็นธรรม

ไม่ว่าการกระทําดังกล่าวจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่ก็ตาม เมื่อมีคําร้องเรียน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภาจัดทํารายงานและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา

  3. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญเพื่อดูแล ในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ เพื่อส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะทางด้านนโยบาย กฎหมาย มาตรการต่าง ๆ ให้แก่รัฐสภา รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิดความเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ หลัก สิทธิมนุษยชนดังกล่าวครอบคลุมทั้งกฎกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพที่ได้รับ การรับรองและคุ้มครองตามกฎหมาย

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก 6 คน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้ ประสบการณ์ด้านการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเป็นที่ประจักษ์ มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งเพียงวาระเดียว

บทบาทและอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีดังนี้

  3.1 ตรวจสอบและรายงานการกระทํา หรือการละเลยการกระทําอันเป็นการละเมิดสิทธิ มนุษยชน หรือการกระทําที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย เป็นภาคี และเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทําหรือละเลยการกระทํา ดังกล่าว หากบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าวไม่ดําเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาต่อไป

 3.2 เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

  3.3 เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่ากฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง

  3.4 ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายเมื่อ ได้รับการร้องขอจากผู้เสียหาย และเป็นกรณีที่ เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

  3.5 เสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอให้การปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

  3.6 ส่งเสริมการศึกษาวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

  3.7 ส่งเสริมความร่วมมือ และประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์กรเอกชน และองค์กร อื่น ๆ ด้านสิทธิมนุษยชน

  3.8 ประเมินผลและจัดทํารายงานผลการปฏิบัติงานประจําปีเสนอต่อรัฐสภา

  3.9 อํานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การพิจารณาดําเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีวิธีการดังนี้

  1) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะต้องให้โอกาสผู้ร้อง หรือผู้เกี่ยวข้องและผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง รายละเอียด เสนอพยานหลักฐานตามสมควรเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าการกระทําดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิ มนุษยชน

  2) เป็นสิทธิของคู่กรณีที่จะนําทนายความ หรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในกระบวนการ พิจารณาตรวจสอบได้

  3) ในการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการอาจแต่งตั้งอนุกรรมการคณะ หนึ่งหรือหลายคณะเพื่อสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงรับฟังคําชี้แจง และพยานหลักฐาน

  4) ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบคณะกรรมการดําเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีสามารถตก ลงกันได้ และจัดทําเป็นหนังสือเพื่อยุติเรื่อง

  5) เมื่อคณะกรรมการได้ดําเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว หากปรากฏว่ามีการกระทํา หรือ ละเลยการกระทํา ให้คณะกรรมการจัดทํารายงานผลการตรวจสอบ ระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง ดังนี้

  (1) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  (2) เหตุผลประกอบความคิดเห็น

  (3) มาตรการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  (4) ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการกระทํา หรือการละเลยการกระทําไม่เป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชน แต่มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม คณะกรรมการอาจกําหนดแนวทางแก้ไขเยียวยาความเสียหาย ให้แก่ผู้กระทําการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  6) เมื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทําการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบแล้ว ให้ดําเนินการตามมาตรการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด และแจ้งผลให้คณะกรรมการทราบ

  7) ในกรณีที่บุคคล หรือหน่วยงานที่กระทําการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ดําเนินการแก้ไข ให้ คณะกรรมการรายงานต่อนายกรัฐมนตรี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน เว้นแต่ไม่ได้อยู่ในอํานาจ ของนายกรัฐมนตรี ให้รายงานต่อรัฐสภา

ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มีดังนี้

  1. กฎบัตรสหประชาชาติ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยชัยชนะเป็นของฝ่าย สัมพันธมิตร มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น ในค.ศ. 1945 โดยมีการประชุมใหญ่ที่เมืองซานฟรานซิส โก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อลงมติรับรองกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อเป็นธรรมนูญในการดําเนินงานตาม มติของสหประชาชาติ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับสากล เช่น

  ข้อ 1 ความมุ่งหมายของสหประชาชาติเพื่อบรรลุความร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะ แก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม หรือมนุษยธรรมรวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนการเคารพต่อ สิทธิมนุษยชน และอิสรภาพอันเป็นหลักมูลฐานของทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ

ศาสนา

  ข้อ 13 บรรดาประเทศสมาชิกจะต้องริเริ่มการศึกษาและทําคําแนะนําในการส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาการอนามัย เพื่อช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิ มนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานของทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติเรื่องเชื่อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา

  ข้อ 55 ด้วยความมุ่งหมายในการสถาปนาภาวการณ์แห่งเสถียรภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่ง จําเป็นสําหรับความสัมพันธ์โดยสันติและโดยฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย ยึดความเคารพต่อ หลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน และการกําหนดเจตจํานงของตนเอง ของประชาชนเป็นมูลฐาน สหประชาชาติจะต้องส่งเสริมการเคารพโดยสากล และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็น หลักมูลฐานสําหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา

  2. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Universal Declaration of Human Rights) การจัดทําสาส์นรับรองสิทธิมนุษยชนมีจุดประสงค์ เพื่อเป็นมาตรฐานกลางสําหรับทุก ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ถือเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติเดียวกัน และในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2527 สหประชาชาติได้พิจารณาลงมติรับรองสาส์นสิทธิมนุษยชน โดยเรียกชื่อว่า “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน” จัดได้ว่าเป็นการรับรองเอกสารรับรองสิทธิมนุษยชนที่นานาประเทศให้ความสําคัญ จึงเป็นสิทธิ ระหว่างประเทศที่ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกต่างช่วยกันสอดส่องดูแล แก้ไขกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเทศใดประเทศหนึ่ง อันเป็นหลักสําคัญที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ และกําหนดให้ทุกวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชน โลก

การมีส่วนร่วมคุ้มครองปกป้องตามหลักสิทธิมนุษยชน

  ปัจจุบันประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีแห่งข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน แต่ก็เข้า ร่วมเป็นภาคีอนุสัญญากติกาและความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนของสหประชาชาติ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.ศ. 2532 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2509 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางการเมืองของสตรี พ.ศ. 2495 ความตกลงระหว่าง ประเทศว่าด้วยการปราบปรามการค้าทาสผิวขาว พ.ศ. 2447 และ พ.ศ. 2453 เป็นต้น ทั้งหมดจัดเป็นเอกสารสิทธิ มนุษยชนที่ประเทศไทยร่วมทําข้อตกลงด้วยเพื่อแสวงหาความร่วมมือในอันที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้การร่วมทําข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญได้กําหนดไว้

การมีส่วนร่วมคุ้มครองปกป้องตามหลักสิทธิมนุษยชน สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีอนุสัญญา กติกา หรือความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

  2. มีส่วนร่วมในการส่งเสริม ให้ความเคารพ และปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือหลักสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ เช่น การที่รัฐให้ความสําคัญกับสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคที่ประชาชน ทุกคนควรจะมีทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เป็นต้น หรือกรณีของเชลยศึก หรือนักโทษ รัฐ จะต้องไม่กระทําการอันถือเป็นการทารุณ ในระหว่างที่มีการสอบสวน เช่น ใช้วิธีทรมาน การทําอนาจาร หรือการละเมิดทางเพศ หรือวิธีอื่นที่จัดเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  3. ให้ความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การพยาบาล สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ต่าง ๆ แก่ประเทศที่อยู่ภาวะสงคราม เช่น กรณีของประเทศไทยที่ส่งทหารให้ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวแก่ ประเทศอัฟกานิสถาน หรือประเทศอิรัก เพื่อการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยชนเป็นต้น

  4. แก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อรองรับสิทธิเสรีภาพบางประการที่ ประชาชนควรจะได้รับ

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพต่างๆ ไว้เป็นจํานวน มาก โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพที่กําหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติอันถือเป็นตรา สารแม่บทของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน