เรื่องที่ 2.2 ผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมืองต่อวิถีชีวิตของคนไทย

ผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมือง อาจประมวลได้ 5 ประการคือ

  1. ความขัดแย้งเกิดขึ้นในภาวการณ์ที่สังคมเกิดความแตกแยกร้าวลึก ฝ่ายประชาชนไม่เป็น เอกภาพ แม้ผู้ที่เคยร่วมมือกันต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนก็แตกแยกเป็นหลายฝักหลายฝ่าย คู่ความขัดแย้งที่มีบทบาทสําคัญต่อความเป็นไปของสถานการณ์ไม่ได้อยู่ในสภาแต่อยู่นอกสภาและอยู่บน ท้องถนนอีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากจะมีกลุ่มคนรักอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่าง ที่เรียกกันว่า “รากหญ้า” และกลุ่มที่ต้องการ ให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจําชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ แล้ว ยังมีกลุ่มชนชั้นกลางที่เป็นนักเคลื่อนไหว นักวิชาการและเอ็นจีโอบางส่วนที่เป็นพลังประชาธิปไตยและ ต่อต้านการรัฐประหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (นปช.) เก่า ที่กลับมา ในนาม “คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550” (คปพร.) เป็นแกนนํา กับอีกฝ่ายหนึ่งคือ“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นที่รวมของนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยหลายกลุ่มและมีบทบาท สําคัญในการล้มรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณมาแล้วเป็นแกนนํา องค์ประกอบของคู่ความขัดแย้งดังกล่าว ประกอบกับข้อเท็จจริงซึ่งผ่านมาที่คนบางส่วนในคู่ความขัดแย้งแต่ละฝ่ายต่างแอบอิงใกล้ชิดกับอํานาจรัฐ และได้รับการปูนบําเหน็จรางวัล หรือได้รับการแต่งตั้งให้เข้าไปมีตําแหน่งหน้าที่จากผู้กุมอํานาจรัฐในปีกที่ตน ใกล้ชิดในยามที่ปีกนั้นมีชัยในการกุมอํานาจรัฐ ทําให้ภาพที่เป็นตัวแทนประชาชน เป็นตัวแทนพลัง ประชาธิปไตยขาดความบริสุทธิ์ไป

  2. ประชาชนอีกจํานวนหนึ่งที่ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลกระทบทางลบไปสู่วิถีการดําเนิน ธุรกิจหรือวิถีการดําเนินชีวิตปกติของพวกเขา ประชาชนเหล่านี้เริ่มจับตาดูสถานการณ์และตั้งคําถามกับ ตัวเองว่า “เราจะปล่อยให้ประเทศชาติตกเป็นตัวประกันของคนสองกลุ่มนี้กระนั้นหรือ”

  3. ความแตกแยกในหมู่ประชาชนมีส่วนปั่นทอนพลังฝ่ายประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่า คุณภาพความรับรู้ บทเรียน และอุดมการณ์ทางการเมืองของประชาชนปัจจุบันจะยกระดับกว่าของประชาชน ในสมัย 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวด้วยอารมณ์ ความรู้สึกและด้วย สถานการณ์พาไปมากกว่าความเข้าใจอย่างแท้จริงในอุดมการณ์ที่ตนกําลังต่อสู้อยู่ก็ตาม ข้อที่น่าเป็นห่วงคือ ทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันต่างไม่มีทีท่าจะรอมชอมเพื่อหาทางออกที่ทุกฝ่ายพอรับได้ และที่เป็นผลดีต่อการ ประคับประคองให้ระบอบประชาธิปไตยที่ต่างก็อ้างว่าทําเพื่อรักษาระบอบนี้ให้สามารถฟันฝ่าวิกฤตออกไป

  4. ความขัดแย้งเกิดขึ้นในภาวการณ์ที่สถาบันทหารมีความพร้อมและสามารถอาศัยความขัดแย้งใน หมู่ประชาชนกลับมาก่อรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้

  5. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออํานาจรัฐในการควบคุมการกระทําให้อยู่ภายใต้กฎหมาย ในด้านการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ รวมทั้งการลบหลู่สถาบันต่าง ๆ ที่เคยเป็นที่เคารพนับถือของ ประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดของคนในสังคมอย่างมาก สังคมเกิดความขัดแย้งสูงและ พร้อมที่จะใช้ความรุนแรง รวมทั้งไม่มีใครฟังใครเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการจลาจลและนําไปสู่วัฒนธรรมใหม่ ที่ตกต่ําลงได้ง่าย สายใยแห่งความปรองดอง ความเอื้ออาทรและการเปิดใจรับความคิดเห็นที่ปรารถนาดี รวมทั้ง การเคารพผู้อาวุโสกว่าถูกทําลายไป และแทนที่ด้วยความยโสโอหังและความรู้สึกกระหายในการมุ่งที่จะเอาชนะ แต่เพียงอย่างเดียว

  6. สังคมเกิดความวุ่นวายจากการปลุกปั่น ปลุกระดมด้วยกระแสข้อมูลข่าวสาร สื่อสารมวลชนของ แต่ละฝ่ายทําให้เกิดความขัดแย้งในสังคมซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลําดับ ทําให้เกิดการเข่นฆ่าประชาชน เผาทําลายทรัพย์สินเสียหาย กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศที่เสมือนบ้านป่าเมืองเถื่อน

  7. การพัฒนาประเทศเข้าสู่ภาวะชะงักงัน เศรษฐกิจเสียหาย เพราะคนงานออกไปชุมนุมประท้วง การท่องเที่ยวซบเซาเพราะชาวต่างประเทศไม่กล้ามาเที่ยวเมืองไทย