เรื่องที่ 3.10 

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้า ปราสาททองกับพระอัครเทวี พระองค์เจ้าศิริราชกัลยา ทรงพระราชสมภพ ณ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 (จุลศักราช 994) เมื่อยังทรงพระเยาว์ มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้านรินทร์” ครั้นเจริญพระชันษาได้ 1 เดือน สมเด็จพระราชบิดาตรัสให้มีการพระราชพิธีขึ้นพระอู่ก็มีเหตุมหัศจรรย์ คือในระหว่างพระราชพิธีนั้น ขณะที่พระราชกุมารบรรทมอยู่ในพระอู่ พระญาติ วงศ์ฝ่ายในบังเอิญเห็นเป็น 4 พระกรแล้วจึงกลับเป็นปรกติเป็น 2 พระกร สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงตรัสให้เอานิมิตนั้นเปลี่ยนพระนามเสียใหม่ว่า “ พระนารายณ์ราชกุมาร”

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา เมื่อเวลาบ่าย 2 โมง ของวันพฤหัสบดี เดือน 12 แรม 2 ค่ํา ปีวอก อัฏศก จุลศักราช 1018 (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199)

กล่าวกันว่า ในรัชกาลของพระองค์ บ้านเมืองมีความเจริญในด้านศิลปวิทยาและการศึกษา ราษฎรเป็นสุขสมบูรณ์เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงมีปัญญาเฉลียวฉลาด บํารุงบ้านเมืองดี ทั้งทรง เป็นปราชญ์และกวี สิ่งสําคัญที่สุดคือการติดต่อกับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช การค้า ขายกับต่างประเทศเจริญมาก จึงเกิดขัดใจกันกับพวกฮอลันดา ซึ่งกําลังมีอํานาจอยู่ พระองค์ทรงหวั่นเกรงภัย จะมาจากฝรั่ง จึงให้สร้างป้อมขึ้นที่เมืองธนบุรีและนนทบุรี และดัดแปลงเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีอีกแห่ง หนึ่งฝ่ายพวกบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในกรุงศรีอยุธยา เห็นเป็นโอกาสดีก็เข้า อาสาช่วยในการก่อสร้างและทูลไปยังพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสให้ส่งทูตมาฝากฝังพวกตน ฝ่ายสมเด็จ พระนารายณ์ก็ทรงยินดี ที่จะผูกไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ ซึ่งกําลังมีอํานาจยิ่งใหญ่อยู่ในยุโรป ฮอลันดากับอังกฤษมีความยําเกรงมาก ทั้งมีพระประสงค์จะให้ไทยได้รับความรู้จากฝรั่งเศสด้วย ตอนกลางของรัชสมัยของพระองค์ มีฝรั่งชาติกรีก ชื่อฟอลคอน เข้ามารับราชการเป็นที่พอพระทัยมาก จนได้ตําแหน่งหน้าที่สําคัญและได้รับยศเป็น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ให้ประเทศไทย นานัปการ บ้านเมืองในสมัยของพระองค์ได้รับการยกย่องจากประวัติศาสตร์ว่า ฟังเฟื่องด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิต เกริกก้องกําจายด้วยศิลปวรรณคดี และยิ่งไปกว่านั้นในความสัมพันธ์กับต่างประเทศนับเป็นครั้งแรกที่ รุ่งเรืองจนเป็นที่เลื่องลือ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต ณ วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ํา ปีมะโรง จุลศักราช 1050 ตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 เป็นปีที่ 32 ในรัชกาล พระชันษาสิริรวมได้ 56 พรรษา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนอกจากจะทรงเป็นขัตติยกวีจําเพาะพระองค์เองแล้ว หากแต่ในรัช สมัยของพระองค์ก็ยังพรั่งพร้อมไปด้วยนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และพระมหาเถรานุเถระผู้แตกฉานในคัมภีร์ พระไตรปิฎกและทรงวิทยาคุณ พระองค์ทรงฝักใฝ่ในทางพระธรรมและข้อวัตรปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ทรงสนทนากับพระเถระทั้งหลาย ดังจะเห็นได้จากพระราชปุจฉาหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์

ความหนักแน่นทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเห็นได้ชัดเมื่อมีการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์มายังประเทศไทย บาทหลวงของศาสนาคริสต์ได้นําหลักคําสอน ในคัมภีร์ไบเบิลมาให้พระองค์ ทรงศึกษา วันหนึ่งมีบาทหลวงถือไม้เท้ามีไม้กางเขนอันใหญ่เหมือนกับโป๊ปถือเข้าไปเฝ้าพระองค์ บอกกับ พระองค์ว่า “ถึงเวลาแล้ว เพราะว่าพระองค์ทรงรู้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้าของพระเยซูคริสต์ดีแล้ว ควรจะรับศีล เป็นคาธอลิคเสียที” พระองค์ทรงตอบว่า “ถ้าพระผู้เป็นเจ้าในคัมภีร์ของท่านมีอยู่จริง มีอํานาจพิเศษจริงๆ พระผู้เป็นเจ้าของท่านก็คงทราบว่าประเทศไทยนี้เป็นเมืองนับถือพระพุทธศาสนา แล้วพระผู้เป็นเจ้าให้ ข้าพเจ้ามาเกิดในประเทศไทยก็เท่ากับว่าให้มาเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัท นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าข้าพเจ้า เปลี่ยนจิตเปลี่ยนมานับถือศาสนาคาทอลิคที่พวกท่านให้ข้าพเจ้านับถือ มันก็ขัดกับความต้องการของพระผู้เป็นเจ้า จะเป็น โทษเป็นบาป”

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ธรรมะนําการเมืองไทย ในสมัยนั้นมี การล่าอาณานิคม ท่านสามารถนําหลักธรรมะมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองให้พ้นจากการล่าอาณานิคมของ ประเทศตะวันตกได้อย่างสง่างาม จึงทรงรักษาไว้ได้ทั้งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

2. ทรงมีพระทัยหนักแน่นในการนับถือพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากพระองค์ทรงปฏิเสธการเข้ารีตศาสนาคริสต์

3. ทรงมีปฏิภาณเป็นเลิศในการแก้ปัญหา ทรงปฏิเสธการเข้ารีตอย่างนิ่มนวลและใช้วาจาที่คมคายยิ่งคือตรัสตอบพระเจ้าหลุยส์ที่ 14แห่งฝรั่งเศสว่า พระเจ้าคงมีพระประสงค์ให้คนนับถือศาสนาต่างกัน และคงประสงค์ให้พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าเมื่อใดที่พระเจ้าประสงค์ให้พระองค์นับถือคริสต์ศาสนา พระ เจ้าก็คงจะบันดาลให้พระองค์ทรงเลื่อมใสเอง วาทะอันคมคายนี้ทําให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไม่กล้ารบเร้าพระองค์ อีกต่อไป

4. ทรงเป็นอุบาสกตัวอย่าง สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ ยกย่องพระสงฆ์ ที่มีความรู้ทางบาลี มีการสอบวัดความรู้ ผู้ที่สอบไม่ผ่านให้เข้ารับราชการ จึงเป็นที่มาของคําว่า “สอบไล่”

5. ทรงมีพระปรีชา และเมตตากรุณาอย่างยิ่ง ทรงนําหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติ จนเป็นพระนิสัย ในตอนปลายรัชกาลที่พระองค์ทรงประชวร พระเพทราชากับขุนหลวงสรศักดิ์ได้ล้อมวังไว้ พระองค์เกรงว่าข้าราชบริพารจะถูกฆ่าตายหมด เลยโปรดฯให้นิมนต์พระสงฆ์มาทําพิธีให้พระราชวังเป็น วิสุงคามสีมา และอุปสมบทข้าราชบริพารทุกคนเพื่อให้พ้นภัย

ที่มาจาก https://www.tnews.co.th/variety/เหตุการณ์วันสวรรคต-สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชทานวังเป็นพระอุโบสถ