เรื่องที่ 4.1 หลักการของสิทธิมนุษยชน

  สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่เกิดในฐานะที่เป็นมนุษย์ แต่ตามพระราชบัญญัติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กําหนดไว้ว่า สิทธิมนุษยชนที่ได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองต้อง เป็นสิทธิมนุษยชนที่กฎหมายรับรองแล้วเท่านั้น ดังนั้น การคุ้มครองปกป้องตนเองตามหลักสิทธิมนุษยชน จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายแต่ละประเภท ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1.สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ได้ บัญญัติเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทยไว้ในมาตรา 3 ดังนี้ “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค ชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและ ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มรองตามกฎหมายนี้” จากบัญญัติ ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ ที่ประชาชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองมาก่อน เช่น สิทธิเสรีภาพ ในร่างกาย สิทธิในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในเคหสถาน เสรีภาพในการเดินทาง และการเลือกที่อยู่อาศัย ฯลฯ ยังคงได้รับการคุ้มครองอยู่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

  2. สิทธิตามกฎหมายไทย เป็นสิทธิตามกฎหมายไทยที่ตราขึ้นเพื่อกําหนดขอบเขตอันเป็น สาระสําคัญของสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประการอื่น เช่น การประกาศใช้ พระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการค้าเด็กและสตรี พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 เป็นต้น

  3. สิทธิตามสนธิสัญญา เป็นสิทธิที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา หรือเข้าร่วมทํา ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยมีพันธกิจต้องปฏิบัติตามและบรรดาประเทศ สมาชิกต่าง ๆ ต้องเคารพและปฏิบัติตามเช่นกัน เช่น อนุสัญญาภายใต้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2509 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2509 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางการเมืองของสตรี พ.ศ. 2495 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ พ.ศ. 2482 เป็นต้น