ตอนที่ 2 ความสําคัญและคุณค่าของพระไตรปิฎก 

พระไตรปิฎก มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนามาก คือ

       1. พระไตรปิฎกเป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้

       2. พระไตรปิฎกเป็นที่รวบรวมพระธรรมวินัย คือ คำาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ ตรัสไว้ว่า นี่แหละคือศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย พุทธศาสนิกชนจึงได้ถือกันมาเป็นหลักว่า จะต้องรักษา เล่าเรียน และปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎก

       3. พระไตรปิฎกเป็นแหล่งต้นเดิมของคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอน คำอธิบาย คัมภีร์ หนังสือ ที่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว หรือเรียบเรียงไว้ ที่เป็นของพระพุทธศาสนา จะต้องมาจากแม่บทคือพระไตรปิฎก เพราะพระไตรปิฎกเป็นที่รักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาไว้ หรือรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้

       4. พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงในการกล่าวอ้างหลักการ หลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา ซึ่ง ถือว่าเป็นหลักฐานขั้นสุดท้าย

       5. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอนหรือคำกล่าวใด ๆ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

    6. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ของข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยอาศัยพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน

https://www.matichonweekly.com/column/article_242821

https://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=15011

นอกจากนี้พระไตรปิฎกยังมีคุณค่าต่อชาวพุทธในด้าน

       1. เป็นบันทึกหลักฐาน เกี่ยวกับลัทธิ ความเชื่อถือ ปรัชญา ขนบประเพณี วัฒนธรรม เรื่องราว เหตุการณ์ ในอดีตไว้มากมาย

       2. เป็นแหล่งสืบค้นแนวความคิดที่สัมพันธ์กับวิชาการต่าง ๆ เนื่องจากคำสอนในพระธรรมวินัย มีเนื้อหาสาระเกี่ยวโยงกับวิชาการหลายแขนง เช่น จิตวิทยา กฎหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ เป็นต้น

       3. เป็นแหล่งเดิมของคำศัพท์บาลีที่นำมาใช้ในภาษาไทย เนื่องจากภาษาบาลีเป็นรากฐานของ ภาษาไทย การศึกษาพระไตรปิฎกเปรียบเสมือนศึกษารากศัพท์ภาษาไทยด้วย

       การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมีคุณค่า ไม่เฉพาะแต่การศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยัง อำนวยประโยชน์ทางวิชาการด้านต่าง ๆ เช่น ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา เป็นต้น


สรุปสาระสำคัญ


       พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกพระธรรมคำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้า

 เปรียบเสมือนเป็นรัฐธรรมนูญในทางธรรม เป็นแม่แบบของแนวประพฤติปฏิบัติ ของพุทธบริษัท

https://www.dmc.tv/page_print.php?