เรื่องที่ 3.3 การแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือระหว่างประเทศ

  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อิทธิพลจักรวรรดินิยมของยุโรปเสื่อมลง ประเทศต่าง ๆ ที่เคยตก เป็นเมืองขึ้นได้เรียกร้องเอกราช สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นมามีบทบาทเป็นมหาอํานาจ และเริ่มเข้ามามีบทบาทใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

ค.ศ. 1990 เมื่อหมดยุคสงครามเย็นและมีการจัดระเบียบโลกใหม่ (New World System) จึงได้ มีการนําเอาแนวคิดเรื่องการพัฒนาการแบบยั่งยืนตามที่นักวิชาการเคยเสนอไว้ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1980 - 1990 มาพิจารณา การพัฒนาแบบยั่งยืนประกอบด้วยแนวความคิดที่สําคัญ 6 ประการ คือ

  1. ต้องช่วยกลุ่มคนที่ยากจนที่สุด เพราะพวกเขาจะไม่มีทางออกอื่นใดนอกจากการทําลาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  2. เน้นพัฒนาแบบพึ่งพาตัวเอง ภายใต้ความจํากัดทางสภาพธรรมชาติ

  3. การพัฒนาจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงด้านสิ่งแวดล้อม

  4. การพัฒนาจะต้องอยู่บนหลักการที่ว่าด้วยการมีสุขภาพอนามัยที่ดี การใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะสม การมีอาหารที่เพียงพอแก่การบริโภค

  5. การพัฒนาจะต้องอยู่บนหลักที่ว่าด้วยการส่งเสริมการริเริ่มของประชาชน

  6. มนุษยชาติ คือ ศูนย์กลางและหัวใจของการพัฒนา

ตั้งแต่ ค.ศ.1950 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกามีนโยบายป้องปรามจีน จึงมีนโยบายให้ความช่วยเหลือ ด้านต่าง ๆ แก่รัฐบาลไทย ทางด้านเศรษฐกิจ วิชาการและด้านการทหาร ประเทศไทยจึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และได้เข้า เป็นสมาชิกองค์กรชํานัญพิเศษหลายแห่ง เช่น องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ธนาคารโลก (IBRD) และองค์การสหประชาชาติ ก็ได้เข้ามาตั้งสํานักงาน ECAFE, UNICEF และ FAO ใน กรุงเทพฯด้วย

  จากการที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาบ้านเมืองตามแนวประเทศตะวันตก และช่วยให้ไทยอยู่ รอดรักษาเอกราชมาได้นั้น เมื่อมาถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลังยุคสงครามเย็นได้มีการนําระเบียบโลกใหม่ที่ใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือ ในการดําเนินนโยบายด้านการเมืองระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดระบบ ทุนนิยม โลกที่สนับสนุนการค้าเสรีและความช่วยเหลือกันใน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับสากล โลกในอนาคตไม่อํานวยให้ประเทศหนึ่งประเทศใดใช้วัฒนธรรมแสวงหาผลประโยชน์แบบ มือใครยาวสาวได้สาวเอาอีกต่อไป หลายประเทศหันไปจัดระเบียบเศรษฐกิจภายในกลุ่มย่อยด้วยการจัดตั้งกลุ่ม การค้า (Trading Block) หรือเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ขึ้น เช่น สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เป็นต้น การรวมกลุ่มดังกล่าว ทําให้ เกิดกระแสการเมืองยุคใหม่ (ยุคโลกาภิวัตน์) ที่มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ

  1.การแพร่ขยายตัวของการเมืองแบบประชาธิปไตยเสรีที่เน้นเสรีภาพทางการเมือง การลด อํานาจของศูนย์กลางและสนับสนุนการกระจายอํานาจ

  2. การเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขององค์กรเอกชนและองค์กรประชาชน การให้ ความสําคัญต่อชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มประชากรที่เคยถูกกีดกัน การมีส่วนร่วมทางการพัฒนาและทาง เศรษฐกิจ การเมือง เช่น สิทธิสตรี ตลอดจนการให้ความสําคัญต่อสิทธิเด็ก เป็นต้น

  3. การเน้นการร่วมมือกันพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นความมั่นคงร่วมกันของมวล มนุษย์ โดยการสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันข้ามรัฐ เพราะสภาพของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีลักษณะการกระจายตัว ข้ามอาณาเขตของรัฐหลายรัฐ และเชื่อมโยงกันทั่วโลก

 4. การสร้างความมั่นคงทางด้านการทหารลดน้อยลง การดําเนินนโยบายด้านการทหารจึงดําเนินการ ลดกําลังอาวุธ ลดความรุนแรงแสวงหาแนวทางและมาตรการพหุภาคี ในการจัดการทางยุทธศาสตร์ทั้งใน ระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Confidence Building Measures - CBM) การป้องกันการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์

สรุปสาระสําคัญ

  ท่ามกลางกระแสยุคโลกาภิวัตน์ที่สังคมไทยเปิดรับอารยธรรมตะวันตกจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจยุคใหม่ วิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1997 ที่ไทย ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดวิกฤตการณ์ทางการเมือง เป็นบทเรียนที่ทําให้คนไทย ต้องตระหนักและร่วมมือกันหาทางแก้ไขเพื่อหาหนทางออกให้กับสังคมไทย วิธีการแก้ไขปัญหาจะต้องทํา พร้อม ๆ กันไปทุกด้าน