เรื่องที่ 3.2 บทบาทของความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศ

  ก่อนกําเนิดของรัฐประชาชาติ (Nationstate) ในศตวรรษที่ 20 คนไทยยังไม่มีแนวความคิด ความรู้สึกของการรวมชนเผ่าต่าง ๆ เป็นชาติไทยหรือรัฐที่มีอาณาเขตดังเช่นปัจจุบัน หากมีแต่เพียงความคิด เกี่ยวกับการรวมอํานาจเหนือเชื้อชาติและเผ่าชนต่างๆ ของอํานาจศูนย์กลาง ลักษณะการปกครองจึงเป็นการ กระจายอํานาจที่ชนชั้นนําในท้องถิ่นมีอํานาจมากทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ รัฐบาลส่วนกลางจึงไม่ สามารถควบคุมบรรดาเจ้าเมืองในหัวเมืองรอบนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น ในยุคแรกหรือสมัยสุโขทัยและ กรุงศรีอยุธยา การบริหารราชการบ้านเมืองจึงเน้นการป้องกันประเทศ ข้าราชการจึงเป็นทั้งทหารและพลเรือน พร้อม ๆ กันไป


  ครั้นภัยลัทธิจักรวรรดินิยมทวีความรุนแรงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงความด้อยของประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร และเทคโนโลยี หรือวิทยาการแผนใหม่อันก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของ ประเทศ จึงได้เร่งรัดพัฒนาระบบราชการ ให้สามารถตอบโต้การคุกคามจากภายนอก มีการส่งคนไปเรียนวิทยาการจากต่างประเทศ จ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการเป็น ที่ปรึกษา ปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในการบริหารราชการแผ่นดินที่เน้นความมั่นคงป้องกันมิให้เกิดความ ขัดแย้งกับชาติตะวันตกเป็นหลัก รัชการที่ 5 จึงทรงจัดการปกครองแบบรวมอํานาจเข้าสู่ศูนย์กลางและทรงให้ความสําคัญแก่งานกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหมแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 งานการเมืองของ กระทรวงมหาดไทยมีมากกว่าเพราะต้องควบคุมดูแลการปกครองทั่วทั้งพระราชอาณาจักร และยังต้องดูแลด้านอื่น ๆ เช่น ด้านตํารวจด้านการป่าไม้แร่ธาตุ งานสรรพากรและงานสาธารณสุข 

  สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้จะมีการตระหนักถึงภัยลัทธิคอมมิวนิสต์แล้ว แต่ลัทธิดังกล่าวก็ยังไม่ได้มีรูปธรรมของการเคลื่อนไหวอย่างมีระบบ และเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่มุ่งล้มล้าง อํานาจรัฐอย่างแท้จริง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) รัฐบาลยุคนั้นจึง ยังมิได้มีการผนึกกําลังและปรับกลไกของรัฐเพื่อการต่อสู้กับลัทธินี้โดยตรง มีแต่เพียงอาศัยมาตรการ ทางกฎหมายเป็นด้านหลัก เช่น การออกพระราชบัญญัติการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งออกมา เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1933 (พ.ศ. 2476)


  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แรงกดดันจากสงครามเย็นและการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยต้องดําเนินนโยบายเข้าข้างโลกเสรี แนวคิดในการพัฒนาด้านกองทัพและตํารวจถูกนําเข้ามายัง ชนชั้นผู้นําไทย การสร้างรัฐให้แข็งแกร่ง เพื่อต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ เพื่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ หน่วยงาน ทางหารและความมั่นคง มีบทบาทสูงและขยายตัวมากขึ้น การเน้นความมั่นคงในยุคสงครามเย็นได้ส่งผลต่อ พัฒนาการของรัฐไทยในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทําให้ไทยต้องเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ใน ค.ศ. 1954 มีข้อตกลงร่วมทางด้านการประกันความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกา กับไทยใน ค.ศ. 1962 ข้อตกลงว่าด้วยกิจกรรมพัฒนาและการวิจัยการสื่อสารวิทยุ (ค.ศ. 1964) ข้อตกลงว่า ด้วยการจัดตั้งดําเนินการและสนับสนุนกิจกรรมด้านการพัฒนาและวิจัยการสื่อสารวิทยุ (ค.ศ. 1965) ข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้สนามบินอู่ตะเภา (ค.ศ. 1967) และข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันภัยทางอากาศร่วมไทยสหรัฐฯ (ค.ศ. 1967) เป็นต้นความสัมพันธ์นี้ ได้นําประเทศเข้าสู่ความขัดแย้งในระดับภูมิภาคที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ กําหนดนโยบายหลักตลอดมา คือ สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และความขัดแย้งในกัมพูชา