ตอนที่ 1

หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์

หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์มีทั้งความสอดคล้องและความแตกต่างกัน ดังนี้ 

1. ความสอดคล้องกัน

1.1 ด้านความเชื่อ วิทยาศาสตร์ถือว่าก่อนจะเชื่ออะไรนั้นต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล และต้องมีหลักฐานยืนยันวิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อว่าการทดลองให้ความจริงแก่เราได้ และไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดําเนินมาอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล วิทยาศาสตร์อาศัยปัญญาและเหตุผลตัดสินความจริง

พระพุทธศาสนามีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ดังหลักคําสอนที่ปรากฏในกาลามสูตร พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า การจะเชื่ออะไรนั้นจะต้องทดลองพิสูจน์ด้วยตนเองโดยอาศัยสติ ปัญญาและเหตุผล แต่อย่าเชื่อดังต่อไปนี้



1) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการฟังตามกันมา 

2) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการถือสืบ ๆ กันมา

  3) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการเล่าลือ 

4) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการอ้างคัมภีร์ 

5) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะนึกคิดเอาเอง 

6) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการคาดคะเนเอา 

7) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการตรึกตรอง 

8) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะตรงกับความเห็นของตน

9) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อ 

10) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะท่านเป็นครูของเรา

ที่มา: http://dhamma.serichon.us/2019/03/30/กาลามสูตร-เอาไปพูดควรรู/

พระพุทธองค์ทรงสอนต่อไปว่าเมื่อใดที่เราอาศัยปัญญาทดลองด้วยตนเองแล้วเห็นว่าคําสอนใดเป็นเป็นคําสอนที่มีคุณประโยชน์แล้วจึงค่อยเชื่อ ทรงสอนมิให้เชื่ออย่างงมงาย แต่เน้นการทดลองปฏิบัติ เมื่อทดลอง ได้ผลทางปฏิบัติแล้วจึงเชื่อ


พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องศรัทธาเหมือนกัน แต่ศรัทธาไม่ใช่วิธีสุดท้ายที่จะตัดสินว่าความจริง คืออะไร ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงเครื่องชักจูงให้คนเข้าไปทดสอบความจริง แต่ตัวตัดสินความจริง คือ “ปัญญา” ในคําสอนเรื่องมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นหนทางที่จะพามนุษย์ไปสู่นิพพาน อันเป็นความจริงอันสูงสุดนั้นไม่ปรากฏว่ามีศรัทธาอยู่ด้วย ในการสอนหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนนั้น หากในหลักธรรมใดมีศรัทธาอยู่จะต้องมีปัญญากํากับด้วยเสมอ เช่น พละ 5 มี ศรัทธาวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในหลักอริยทรัพย์มีศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น

1.2 ด้านความรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนายอมรับความรู้ที่ได้จาก “ประสบการณ์” ประสบการณ์ หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิดบางอย่าง เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึก อยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์ คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคําอธิบาย วิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อ หรือยึดถืออะไรล่วงหน้า แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์ สืบสาวไปเรื่อย ๆ จะไม่อ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์และการทดลอง พระพุทธองค์ ก็ทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย และในที่สุดคือความ ทุกข์ พระองค์มีพระประสงค์จะค้นหาสาเหตุแห่งทุกข์ ในการค้นหานี้พระองค์ไม่ได้เชื่ออะไรล่วงหน้าอย่าง ตายตัว ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใด ๆ ที่จะให้คําตอบได้ แต่ได้ทรงทดลองด้วยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์เอง พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีส่วนที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วน พระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ทางจิตใจ

2. ความแตกต่าง

2.1 ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ วิทยาศาสตร์มุ่งเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผลที่ตามมา เช่น เมื่อเกิดฟ้าผ่า ต้องรู้สาเหตุการเกิดฟ้าผ่าและผลที่เกิดจากฟ้าผ่า

พระพุทธศาสนามุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน แต่เน้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ มากกว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือสอนให้คนเป็น

คนดี

2.2 ความต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ต้องการเรียนรู้กฎแห่งธรรมชาติ และหาทาง ควบคุมธรรมชาติ หรือเอาชนะธรรมชาติ กล่าวคือ วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอก แต่พระพุทธศาสนาเน้นการควบคุมภายในจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบสุขใน โลกมนุษย์วิทยาศาสตร์ มุ่งเปลี่ยนธรรมชาติ แต่พระพุทธศาสนามุ่งเปลี่ยนจิตใจคน

2.3 การยอมรับโลกแห่งสสาร วิทยาศาสตร์ยอมรับโลกแห่งสสารที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ว่ามีจริง โลกที่อยู่พ้น จากนั้นวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ

พระพุทธศาสนาเชื่อว่ามีสัจธรรมสูงสุด (นิพพาน) ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ ที่เต็มไปด้วยกิเลสสัมผัสไม่ได้ ปรมัตถ์ธรรมสูงสุด ผู้ที่พบแล้วก็ยากที่จะอธิบายให้คนอื่นรู้ได้ เป็นสภาวะที่ผู้รู้เอง เห็นเองจะพึงประจักษ์เฉพาะตัวเอง

2.4 มุ่งเอาความจริงมาตีแผ่ วิทยาศาสตร์มิได้สนใจเรื่องศีลธรรม เรื่องความดี ความชั่ว สนใจเรื่องค้นเอาความจริงมาตีแผ่ให้ประจักษ์เพียงอย่างเดียว การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงมีทั้งคุณและโทษ

พระพุทธศาสนามีคําสอนที่เน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุขเป็นลําดับ จนถึงความสงบสุขสูงสุดที่เรียกว่า นิพพาน

ที่มา: https://ngthai.com/science/21673/scienctificprocessing/

การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์ 

กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ แยกได้เป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 

1.ตั้งปัญหาให้ชัดเจน คือ ดูว่าปัญหาคืออะไรแน่ 

2.ตั้งคําตอบชั่วคราวเพื่อทดสอบคําตอบชั่วคราวคือคําตอบที่คิดว่าถูกต้องที่สุดที่ความรู้ ขณะนั้นจะทําให้ได้ 

3. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 

4. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบคําตอบว่าผิดหรือถูก 

5. ถ้าคําตอบนั้นถูก ก็ปรับเป็นคําอธิบายหรือทฤษฎีไว้จนกว่าจะมีคําตอบใหม่มาล้าง 

6. นําทฤษฎีนั้นมาอธิบาย และประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา 

กระบวนการคิดแบบพระพุทธศาสนา มีดังนี้ 

1. พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าความทุกข์มีปัญหา จะต้องหาสาเหตุ

2. ทรงตั้งคําตอบชั่วคราว คือ ทรงเห็นว่าเจ้าสํานักลัทธิต่าง ๆ อาจให้คําตอบได้ และเมื่อเห็นว่า การบําเพ็ญทุกรกิริยาไม่อาจให้คําตอบได้ก็ทรงเลิกปฏิบัติ

3. ทรงรวบรวมข้อมูล คือเสด็จไปยังสํานักต่าง ๆ ที่เห็นว่าเก่ง ลองอดอาหาร และทรมานกายดูว่าจะได้คําตอบหรือไม่

4. ทรงวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบข้อมูลแล้วจึงเห็นว่าไม่ใช่คําตอบที่ถูกต้อง 

5. ทรงเปลี่ยนวิธีการหันมาทดลองบําเพ็ญเพียรทางจิตแทนจนประสบผลสําเร็จ 

6. ทรงนําคําตอบที่ได้ไปเผยแผ่แก่ชาวโลก

จากขั้นตอนทั้งหมดสามารถมองเห็นกระบวนการคิดของพระพุทธเจ้า เป็นวิธีคิดแบบเหตุผล หรือ คิดแบบอริยสัจ 4 ดังนี้

1. คิดแบบสาวหาเหตุปัจจัย คือ สืบค้น สืบสาวหาสาเหตุที่แท้จริง 

2. วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ คือ แยกย่อยออกเป็นส่วน ๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์ 

3. วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ คิดรู้ความเป็นไปธรรมดาของสรรพสิ่งตามความเป็นจริง 

4. วิธีคิดแบบอริยสัจ คือ คิดตามเหตุผล สืบสาวหาสาเหตุแล้วแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

5. วิธีคิดเชื่อม โยงหลักการและจุดมุ่งหมายให้สัมพันธ์กันว่าการกระทํานั้น ๆ ตรงกับหลักการและจุดมุ่งหมายหรือไม่

6. วิธีคิดแบบคุณ โทษ และทางออก คือ คิดทั้งในแง่บวก แง่ลบ และคิดเสนอแนวทางแก้ไข 

7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม คิดวิเคราะห์ถึงประโยชน์ที่แท้จริง หรือประโยชน์ไม่จริงของสิ่งนั้น ๆ

8. วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คิดเพื่อให้เกิดกําลังใจสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามเพื่อตนเองและสังคม

9. วิธีคิดเป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ คิดแบบมีสติ รู้เท่าทันปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่าน

10. วิธีคิดแบบจําแนกประเด็น และแง่มุมต่าง ๆ หรือพยายามมองหลาย ๆ มุม เพื่อให้ได้คําตอบหรือความเข้าใจที่ถูกต้อง

สรุปสาระสําคัญ

วิทยาศาสตร์มุ่งศึกษาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง แต่พระพุทธศาสนามุ่งศึกษาเพื่อบรรลุถึงความสงบสุข ทางใจ เพื่อสันติสุขในหมู่มวลมนุษย์