เรื่องที่ 3.1 พระนาคเสน

พระนาคสนเกิดที่ชังคลคาม(หมู่บ้านกขังคละ) ใกล้ภูเขาหิมาลัยบิดามารดาเป็นพราหมณ์ชื่อโสณุตตระพรามหณ์และโสณุตตระพราหมณี เหตุที่ชื่อนาคเสน เพราะเมื่อตอนเกิดใหม่ ๆ มีความงามบริสุทธิ์โสภา เมื่ออายุได้ 7 ขวบ บิดามารดาจึงให้เรียนไตรเพท อันเป็นวิชาของพราหมณ์ และศิลปศาสตร์คือวิชาอื่นที่อาจารย์ สอนนอกเหนือจากคัมภีร์ไตรเพท นาคเสนกุมารสามารถเรียน11 และจบในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเรียนจบแล้วได้ถามบิดา ศิลปวิทยา

สําหรับคนในสกุลพราหมณ์มีให้เรียนเท่านี้หรือ เมื่อบิดา ตอบว่า มีเพียงเท่านี้ก็รู้สึกว่ามันน้อยนิดเหลือเกิน จึงไปนั่งนึกถึงสิ่งที่เป็นสาระของคัมภีร์และศิลปวิทยาที่เรียนมา ก็นึกเห็นว่าศิลปศาสตร์และไตรเพทที่เรียนมานั้นเหมือนลอมฟาง ว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร

สมัยนั้น มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อว่า โรหณะ ผู้มาบิณฑบาตที่บ้านโสณุตตระพราหมณ์เป็นประจํา รู้ว่านาคเสนกุมาร คิดอยากเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นแก่นสาร จึงเข้าไปหานาคเสนกุมาร ผู้กําลังนั่งรําพึงถึงศิลปวิทยาที่ เรียนมา เมื่อนาคเสนกุมารเห็นเข้าก็มีใจยินดีเกิดปีติโสมนัสจึงไต่ถามพระโรหณะต่างๆ เช่นทําไมท่านจึงนุ่งห่ม เช่นนี้ ทําไมท่านจึงปลงผมและ โกนหนวดออก เมื่อนาคเสนกุมารได้ฟังพระโรหณะตอบแล้วได้เกิดความเลื่อมใส และขออนุญาตบิดามารดาบรรพชา

นาคเสนกุมารบวชเป็นสามเณรที่ถ้ําคูหารักขิตะเลณะ ท่ามกลางพระอรหันต์จํานวนมาก พระโรหณะผู้เป็นอุปัชฌาย์เห็นปัญญาอันเฉียบแหลมของสามเณรคิดว่าถ้าให้เรียนพระสูตรกับพระวินัยคงไม่ลึกซึ้งเหมือนปรมัตถธรรม ดังนั้น พระโรหณะจึงให้สามเณรเรียนพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ เมื่อสามเณรได้ฟังพระโรหณะสาธยายอภิธรรมให้ฟังเพียงครั้งเดียวก็สามารถจดจําพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ได้หมด นาคเสน สามเณรจึงไปสาธยายให้พระอรหันต์ทั้งหลายฟัง เมื่อสามเณรสาธยายจบ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงได้สรรเสริญว่าสามเณรอายุเพียง 7 ขวบ ก็สามารถจดจําพระอภิธรรมได้หมดพระพุทธศาสนาของพระศาสดาคงเจริญรุ่งเรืองต่อไปอีกแน่

ต่อมาเมื่อนาคเสนสามเณรมีอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌาย์ เช่นเดิมวันรุ่งขึ้นได้ออกบิณฑบาตกับพระอุปัชฌาย์ ขณะเดินตามหลังได้คิดในใจว่า อุปัชฌาย์ของเราโง่เขลาจริง รู้แต่พระอภิธรรมอย่างเดียว ไม่รู้พระพุทธวจนะอื่นเลย พระโรหณะรู้ความคิดของพระนาคเสน จึงบอกว่า ความคิดเช่นนั้นไม่สมควรทั้งแก่ตัวเราและตัวท่านพระนาคเสนรู้ว่าพระอุปัชฌาย์รู้ความคิดจึงคิดว่า อุปัชฌาย์นี้มีปัญญา ควรจะให้งดโทษแก่เรา จึงกล่าวขอขมาโทษกับพระอุปัชฌาย์

พระโรหณะกล่าวว่าเรางดโทษแก่ท่านไม่ได้ เว้นแต่ท่านทําให้พระยามิลินท์กษัตริย์แห่งเมืองสาคละนครเลื่อมใสได้เมื่อใด เราจะงดโทษให้เมื่อนั้น พระนาคเสนกล่าวตอบว่าอย่าว่าแต่พระยามิลินท์พระองค์เดียวเลย แม้พระยาทั้งชมพูทวีปเรียงตัวกันเข้ามาถามปัญหา ก็สามารถทําให้เลื่อมใสได้ พระโรหณะกล่าวว่าท่านอย่าพูด อย่างนั้น ไว้พูดกันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ทําให้พระยามิลินท์เลื่อมใสแล้ว ในพรรษานั้นพระโรหณะได้ส่งพระนาคเสน ไปจําพรรษากับพระอัสสคุตเถระ ณวัตถิยะเสนาสน์ พระอัสสคุตเถร ไต่ถามถึงเหตุที่มาของพระนาคเสน จึงทราบว่าเป็นผู้มีปัญญาปรารถนาที่จะเรียนพระไตรปิฎก แต่เนื่องจากท่านไม่ชํานาญพระไตรปิฎก จึงแกล้งทําเป็น ลงพรหมทัณฑ์ด้วยการไม่พูดด้วยแล้วก็นิ่งเฉย พระนาคเสนได้บํารุงพระเถระด้วยอุปัชฌายวัตร เช่น กวาดบริเวณ จัดน้ำล้างหน้า น้ำบ้วนปากและไม้สีฟันมาตั้งไว้ พระอัสสคุตเถระไม่ยอมรับการบํารุงนั้นท่านกวาดบริเวณเสียใหม่ เทน้ําทิ้งเปลี่ยนไม้สีฟันใหม่ ทรงทําเช่นนี้ตลอด 3 เดือน โดยมิได้พูดจากับพระนาคเสนเลย

เมื่อออกพรรษาแล้ว มีอุบาสิกาผู้ปรนนิบัติพระเถระมาตลอด 30 ปีคนหนึ่งประสงค์จะถวายภัตตาหาร จึงถามพระเถระว่ามีภิกษุจําพรรษากับท่านบ้างไหม พระเถระตอบว่ามีอยู่รูปหนึ่ง อุบาสิกาจึงนิมนต์พระเถระ กับพระนาคเสนไปฉันภัตตาหารที่บ้านในวันรุ่งขึ้น รุ่งเช้าพระอัสสคุตเถระผู้ไม่ได้พูดกับ พระนาคเสนาตลอด พรรษาจําต้องพูดในวันนั้นว่าอุบาสิกานิมนต์ให้ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน พูดเท่านี้แล้วก็นั่งสบง ครองจีวรอุ้มบาตร ไปบ้านอุบาสิกา เมื่อฉันเสร็จแล้ว พระอัสสคุตเถระจึงให้พระนาคเสนกล่าวอนุโมทนา ส่วนท่านกลับไปก่อน อุบาสิกาจึงกล่าวกับพระนาคเสนว่า “โยมนี้แก่เฒ่าแล้วใคร่จะฟังธรรมะอันลึกซึ้งเพื่อจะได้เจริญสติปัญญา” พระนาคเสนจึงกล่าวอนุโมทนาด้วยธรรมที่สมควรกับสติปัญญาของอุบาสิกา อุบาสิกาพิจารณาตามธรรมที่ พระนาคเสนแสดงเมื่อจบแล้วก็ได้บรรลุโสดาบัน

หลังจากนั้นพระอัสสคุตเถระได้ส่งพระนาคเสนไปอยู่กับพระธรรมรักขิตที่อโศการาม เมืองปาตลีบุตร เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก ในระหว่างเดินทางพระนาคเสนได้อาศัยเกวียนของพ่อค้าคนหนึ่ง และแสดงธรรมจนพ่อค้าบรรลุโสดาบัน เมื่อไปถึงมืองปาตลีบุตร พระนาคเสนได้ศึกษาพระไตรปิฎกด้วยภาษามคธกับพระธรรมรักขิต เถระ ร่วมกับพระสงฆ์จากลังกา พระนาคเสนใช้เวลาเรียนพุทธพจน์ที่เป็นเนื้อความล้วน 3 เดือนที่เป็นอรรถกถา 3 เดือนรวม 6 เดือน พระธรรมรักขิตเถระเห็นพระนาคเสนมีสติปัญญาดีมีความเชี่ยวชาญพุทธพจน์เป็นอย่างยิ่ง แต่ยังเป็นปุถุชนอยู่แม้จะเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกจึงกล่าวเปรียบอุปมาให้พระนาคเสนฟังว่า “ธรรมดาคน เลี้ยงโค รีดนมโคขาย แต่ไม่รู้รสนมโคฉันใด บุคคลผู้เป็นปุถุชนแม้จะเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก แต่ไม่รู้รสแห่งมรรคผลอันสมควรแก่สมณะก็เช่นนั้น” พระนาคเสน ได้ฟังเช่นนั้นก็เข้าใจจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะค่อยๆ พิจารณาให้รู้รสนั้น แล้วกลับมาที่พัก พิจารณาด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐานจนสําเร็จพระอรหันต์ ฝ่ายพระอรหันต์ ที่อยู่ที่ถ้ำคูหารักขิตะเลณะทราบว่าพระนาคเสนบรรลุพระอรหันต์ จึงส่งทูตมานิมนต์ให้ไปยังสาคละนครเพื่อแสดงธรรมต่อพระยามิลินท์

พระยามิลินท์นั้นตั้งปัญหาถามพระเถระรูปต่าง ๆ จนคร้านจะตอบเป็นจํานวนมาก เมื่อพระองค์ได้ฟัง กิตติศัพท์ของพระนาคเสน จึงสั่งให้อํามาตย์ไปนิมนต์พระนาคเสน แต่พระนาคเสนกลับให้ทูลเชิญพระราชามาหาพระยามิลินท์จึงเสด็จมาหาพระนาคเสนที่อสงไขยบริเวณแล้วตรัสถามปัญหากับพระนาคเสนดังปรากฏใน หนังสือมิลินทปัญหา จนพระยามิลินท์เลื่อมใส เช่น พระยามิลินท์ถามว่าพระพุทธเจ้ามีองค์จริงหรือไม่ พระนาคเสน ตอบว่ามี เมื่อถูกชักว่า ท่านเกิดไม่ทัน ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า ท่านรู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระนาคเสนใช้ปฏิภานโต้กลับว่า มหาบพิตร ท่านคงไม่ปฏิเสธใช่ไหมว่ากษัตริย์ต้นวงศ์ของพระองค์มีจริง พระยามิลินท์ ตอบว่าไม่ปฏิเสธ เพราะกษัตริย์ต้นวงศ์ของ โยมมีจริงๆ พระนาคเสนซักว่า มหาบพิตรเกิดไม่ทัน ไม่เคยเห็น มหาบพิตรรู้ได้อย่างไรว่ากษัตริย์ต้นวงศ์ของพระองค์มีจริง พระนาคเสนได้ช่วยเหลือการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในระยะกาลต่อมาจนนิพพาน

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้ใฝรู้อย่างยิ่ง เรียกคุณธรรมนี้ว่า ธัมมกามตา คือฉันทะใคร่รู้ใคร่ศึกษา เริ่มตั้งแต่เรียนจบ คัมภีร์ไตรเพทของศาสนาพราหมณ์ตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วพิจารณาเห็นว่า เป็นเหมือนลอมฟางว่างเปล่า ไม่มี แก่นสาร เมื่อบวชในพระพุทธศาสนาแล้วได้ศึกษาพระอภิธรรมจากพระโรหณะ จนเชี่ยวชาญในพระอภิธรรม ทั้งยังศึกษาพระพุทธวจนะ (พระไตรปิฎก) ในสํานักของพระธรรมรักขิต โดยใช้เวลาไม่นานก็เรียนจบ พระไตรปิฎก ซึ่งความสําเร็จทั้งหมดนี้เป็นผลเนื่องมาจากความเป็นผู้ใฝ่รู้นั่นเอง

2. ยอมรับผิดและแก้ไขตนเอง เป็นธรรมดาของผู้ที่มีความรู้มากหรือเป็นพหูสูตร มักจะมีความเชื่อมั่น ในตนเองสูง จนบางครั้งเลยขอบเขตจนกลายเป็นทิฏฐิมานะ ดูหมิ่น ดูแคลนผู้อื่น ซึ่งพระนาคเสนก็เป็นเช่นนั้นในบางครั้ง แต่เมื่อรู้สึกตัวว่าผิด ก็พร้อมที่จะรับผิดและพยายามแก้ไข

3. ฉลาดในการอธิบายธรรม พระนาคเสนถึงแม้จะเป็นพระปุถุชน ยังมิได้บรรลุพระอรหันต์ แต่ก็สามารถอธิบายธรรมให้ผู้อื่นรับรู้จนได้เป็นอริยบุคคลหลายคน นับว่าพระนาคเสนมีความฉลาดในการอธิบายธรรมให้ถูกกับบุคคลได้ดี

4. มีความอดทนเป็นเยี่ยมแม้พระอัสสคุตเถระจะไม่ยอมรับและไม่พูดจาด้วยตลอด 3 เดือนแต่พระนาคเสนก็มีความอดทนเพื่อจะได้ศึกษาวิชาความรู้ ไม่แสดงอาการเกียจคร้าน หมั่นปรนนิบัติอาจารย์จนถึงที่สุด และได้รับการยอมรับให้ศึกษาเล่าเรียนได้ นับว่าพระนาคเสนมีความอดทนเป็นอย่างยิ่ง

ที่มาจาก https://supansanetpim.wixsite.com/education/blank-11