เรื่องที่ 1.3

พระนางมัลลิกา

เรื่องที่ 1.3 พระนางมัลลิกา

พระนางมัลลิกา ทรงเป็นธิดาของนายมาลาการ (ช่างทํา ไม้) นางมีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนํามาให้บิดา ทํา พวงมาลัยทุกวันหรือไม่ก็จัดดอกไปให้เป็นระเบียบเพื่อไว้ขายเป็นประจํา นอกจากนี้นางยังได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนาจาก พระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย

เมื่อนางมีอายุประมาณ 16 ปี ขณะเก็บดอกไม้นางได้ร้องเพลง ไปพลางเก็บดอกไม้ไปพลางอย่างมีความสุข และในขณะนั้นองพระเจ้า ปเสนทิโกศล ได้ปลอมพระองค์เป็นสามัญชน ได้ฟังเพลงที่นางขับร้อง ได้อย่างไพเราะจับใจจึงปรากฏพระองค์ขึ้นและสนทนากับนาง ก็รู้สึก พอพระทัยมากขึ้นต่อมาอีกสองสามวัน พระองค์จึงส่งเจ้าหน้าที่ให้ไปรับ นางมาไว้ในพระราชวังนางจึงรู้ความจริงว่า บุรุษที่นางสนทนาด้วยในวัน ก่อนนั้นเป็นพระราชาพระนามว่าปเสนทิโกศลและพระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ทรงอภิเษกสมรสกับนางและทรงสถาปนาให้เป็นพระมเหสีด้วย

ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7411

พระนางมัลลิกาเป็นสตรีที่มีความเฉลียวฉลาดมีปฏิภาณไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีทรงเป็นที่รัก และชื่นชมของพระสวามีเป็นอย่างมาก พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงแม้ว่าในระยะหลังนี้พระองค์ จะหันมาสนใจ ในพระพุทธศาสนาก็ยังมีความเชื่อลัทธิดั้งเดิมบางอย่างอยู่ เช่น เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชายัญ ครั้งหนึ่ง พระองค์รับสั่งให้ตระเตรียมพิธีบูชายิ่งใหญ่ มีการฆ่าสัตว์ เพื่อเซ่นสรวงอย่างละ 700 ตัว พระนางมัลลิกาทรง ทัดทานมิให้พระองค์ทําบาป และได้แนะนําให้พระองค์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอรับคําแนะนําซึ่งพระองค์ที่ ทรงทําตาม และยกเลิกพิธีบูชายัญ

อนึ่งเมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลแข่งกับชาวเมืองทําบุญกัน ประชาชนมักจะทําทานอันประณีตและมโหฬาร พระเจ้าปเสนทิโกศลจนพระทัยไม่รู้จะทําประการใด จึงจะทําให้ทานของพระองค์มโหฬารและแปลกใหม่ กว่าประชาชน จึงขอรับคําแนะนําจากพระนางมัลลิกา ซึ่งพระนางมัลลิกาก็แนะนําให้พระองค์ทรงทํา “อสทิสทาน” (ทานที่ไม่มีใครเหมือน) และพระองค์ก็ทรงทําตาม นับว่าเป็นความเฉลียวฉลาดอันเกิดจาก สติปัญญาของพระนางมัลลิกาอย่างแท้จริง

ที่มา : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=9132

พระนางมัลลิกาไม่มีพระราชโอรสเมื่อพระนางพระครรภ์แก่ จวนจะมีประสูติกาล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมีความปรารถนาอยากได้พระราชโอรส แต่เมื่อพระนางมัลลิกาประสูติพระราชธิดา ทําให้พระองค์ เสียพระทัยมาก จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรับทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสปลอบพระทัยว่า ธิดาหรือ โอรสไม่สําคัญ เพศมิใช่เป็นเครื่องแบ่งหรือบอกความแตกต่างในด้านความรู้ความสามารถ สตรีที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติธรรม และเป็นมารดาของบุคคลสําคัญ ย่อมประเสริฐกว่าบุรุษ ด้วยพระดํารัสนี้ ทําให้พระเจ้า ปเสนทิโกศลทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง

ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระนางมัลลิกาว่า พระนางรักพระองค์หรือไม่ รักมากเพียงใด แต่พระนางมัลลิกากลับตอบว่า พระนางรักตนเองมากกว่าสิ่งใด ด้วยคําตอบของพระนางทําให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงน้อยพระทัยด้วยทรงคิดว่าพระ มเหสี ไม่รักพระองค์เสมอเหมือนชีวิตของนาง เมื่อมีโอกาสเหมาะ จึงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงเรื่องดังกล่าว พระพุทธเจ้ากลับตรัสว่า “มัลลิกาพูดถูกแล้วมหาบพิตร เพราะบรรดาความรักทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีความรักใดจะเท่ากับความรักตนเองมัลลิกาพูดคําจริงตรงกับใจเธอ มหาบพิตรควรจะชื่นชมมเหสีที่ยึดมั่นในสัจจะ (ความจริง) เช่นนี้” พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ฟังพระดํารัสนี้แล้ว จึงค่อยคลายความน้อยพระทัยลงได้

พระนางมัลลิกาเป็นพุทธสาวิกาผู้มั่นคงในธรรมและช่วยคนอื่นให้เข้าถึงธรรมด้วย ในฐานะพระมเหสี ของพระราชา พระนางเป็นพระสาวิกาพึ่งตัวเองได้ในทางธรรมและเป็นที่พึ่งของผู้อื่นโดยเฉพาะพระสวามี พระนางจึงทรงเป็นสตรีตัวอย่างที่ดีท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. พระนางมัลลิกาเป็นผู้กตัญญูกเวที กล่าวคือ เมื่อพระนางยังเป็นเด็กสาวธิดาของนายมาลาการนั้น พระนางได้ช่วยบิดาเก็บดอกไม้ในสวนและจัดให้เป็นระเบียบเพื่อนําไปขายทุกวัน นับว่าพระนางเป็นผู้กตัญญู ช่วยเหลือกิจการของบิดาและมีความขยันเป็นอย่างยิ่ง

2. พระนางมัลลิกาเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงทัดทานพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นพระสวามี มิให้กระทําบาปด้วยการฆ่าสัตว์บูชายัญ และทรงแนะนําให้พระสวามีให้พึ่งตนเองด้วยการปฏิบัติธรรมและ ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมความดี พระนางจึงทรงเป็นที่รักและโปรดปรานของพระสวามีเป็นอย่างยิ่ง

3. พระนางมัลลิกาทรงเป็นพุทธสาวิกาผู้มั่นคงในพระพุทธศาสนา และช่วยคนอื่นให้เข้าถึงธรรมใน พระพุทธศาสนาด้วย