เรื่องที่ 3.7 

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั้น ปัญญานันโท) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ หลวงพ่อ ปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์ คนสําคัญของพระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) และผู้อุทิศชีวิตให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต

พระพรหมมังคลาจารย์กําเนิดที่ตําบลคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั้น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุป นันทนาราม จังหวัดระนอง โดยมี พระรณังคมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมี พระจรูญกรณีย์ เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474

หลังจากพระพรหมมังคลาจารย์ อุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวร พระพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสํานักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จน สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ 1 ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโทและเอก ในปีถัดมา จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่สํานัก เรียนวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทําให้หลวงพ่อต้องหยุดการศึกษา ไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลําเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจําพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปืนบังอร รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จําพรรษาอยู่นี้ก็ ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป

พ.ศ. 2477 หลวงพ่อได้เดินทางไปจําพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมก ขพลาราม อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดําเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตาม หลักคําสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

พ.ศ. 2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่ากับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรมร่วม เดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อ เดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ

ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมใน ภาคพื้นยุโรปหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้ดําเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติ รูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูด ปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้า หาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรก ๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรม แบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ จะ ไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจํานวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์ แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุ โทรทัศน์

นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคําปราศรัยในการประชุมองค์กร ศาสนาของโลกเป็นประจําอีกด้วย

โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้ง ด้านศาสนา สังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับ รางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดําเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและ สังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึก โรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดําเนินการจัดหาทุนสร้างวัด ปัญญานันทาราม ซึ่งกําลังดําเนินการอยู่ แม้ว่าคําสอนของหลวงพ่อ จะเป็นคําสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นหนึ่งใน บรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นําคําสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสม สําหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึง ได้รับการขนานนามว่า “ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย” ในปัจจุบัน

ผลงานงานด้านการปกครอง

พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์

พ.ศ. 2506 ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9 เป็นรองเจ้าคณะภาค 18

พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

ผลงานด้านการศึกษา

พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าสํานักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฎ์

พ.ศ. 2512 เป็นผู้อํานวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา

พ.ศ. 2524 เป็นผู้อํานวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฎ์

     เป็นผู้อํานวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฎ์

ผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศานา

พ.ศ. 2492-2502 เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจําวันพระและวันอาทิตย์ ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่

พ.ศ. 2500 เป็นประธานมูลนิธิ "ชาวพุทธมูลนิธิ" จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์

     เป็นผู้ริเริ่มการทําบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฎ์

     เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน 

พ.ศ. 2520 เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา

พ.ศ. 2525 รับเป็นองค์แสดงธรรมแก่วุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2534 เป็นผู้ริเริ่ม ค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน เรียกว่า "ค่ายพุทธบุตร" ในโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลําพูน เชียงราย ฯลฯ

พ.ศ. 2536 จําพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา


ผลงานด้านวิทยานิพนธ์ ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น

1. ทางสายกลาง

2. คําถามคําตอบพุทธศาสนา

3. คําสอนในพุทธศาสนา

4. หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์

5. รักลูกให้ถูกทาง

6. ทางดับทุกข์

7. อยู่กันด้วยความรัก

8. อุดมการณ์ของท่านปัญญา

9. ปัญญาสาส์น

10. ชีวิตและผลงาน

11. มรณานุสติ

12. ทางธรรมสมบูรณ์แบบ

13. 72 ปี ปัญญานันทะ

14. กรรมสนองกรรม เป็นต้น


เกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัล "สังข์เงิน" จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะ

พระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย

พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัล "นักพูดดีเด่น" ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2525 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา เนื่องในโอกาส สมโภช

กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากกรมการศาสนา โดยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล คือ

ประเภท ก.บุคคล และประเภท ข.สื่อสารมวลชน (รายการส่งเสริมธรรมะทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)

พ.ศ. 2524 ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2531 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง

พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโร

พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2548 ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในโอกาสงานครบรอบ 100 ปี โรงเรียน พัทลุง จากโรงเรียนพัทลุง

พ.ศ. 2550 ได้รับยกย่องเชิดชู ในฐานะ "ผู้สูงอายุแห่งชาติ" ประจําปี 2550 ผู้มีผลงานดีเด่นคน แรก (รูปแรก) ของประเทศ

พระพรมหมังคลาจารย์ถึงแก่มรณภาพเมื่อเวลา 9.09 น. ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาล ศิริราช ด้วยเหตุติดเชื้อในกระแสโลหิตสิริรวมอายุได้ 96 ปี 5 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทาน โกศแปดเหลี่ยมและรับศพไว้ในพระราชานุเคราะห์

ที่มาจาก http://www.dhammathai.org/sounds/panya.php

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1.เป็นธรรมกถึก ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีวาทศิลป์ พูดจูงใจคน ได้อย่างยอดเยี่ยม ท่านอธิบาย ธรรมะด้วยภาษาง่าย ๆ ยกเหตุการณ์ปัจจุบันมาประกอบ ทําให้ผู้ฟังเห็นจริงไปด้วย ขณะเดียวกันก็แทรก อารมณ์ขัน ทําให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจที่ได้ฟัง

2. เป็นพุทธสาวกที่ดี เป็นพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ไม่ยึดติดยศถาบรรดาศักดิ์ ท่านเป็นพุทธ สาวกที่มีศีลาจารวัตรงดงาม ไม่ด่างพร้อย อุทิศชีวิตเพื่อสั่งสอนประชาชนตลอดมาโดยไม่ย่อท้อ

3. เป็นนักปฏิรูปพระศาสนา ปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ใหม่เป็นการยืนปาฐกถาแทนการนั่งธรรมาสน์ ใช้ภาษา ง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง อาราธนาเทศน์ก่อนเสมอ นอกจากนี้ยังปฏิรูปพิธีศพให้สวดเพียงจบเดียวเวลาที่เหลือให้ฟังเทศน์ เพื่อให้ศาสนิกชนได้รับความรู้และข้อคิดกลับไปด้ว