เรื่องที่ 4.2 คุณลักษณะและหน้าที่ของพลเมืองดี

ที่มา: https://sites.google.com/site/janejirajomjai/neuxha-bth-reiyn/--hnathi-khxng-phlmeuxng-di-khxng-sangkhm-tam-raththrrmnuy



  พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติ คำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักผิดชอบชั่วดีตามหลัก จริยธรรม และหลักธรรมของศาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้า ให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

1. หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

       พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ

                1.1 ด้านสังคม ได้แก่

                      1) การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล

                      2) การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น

                      3) การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า

                      4) การตัดสินใจ โดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

                     5) การเคารพกฎระเบียบของสังคม และกฎหมาย

                     6) การมีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ

                     7) มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน หมายถึง มีความรักความผูกพัน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมตัวเป็นกลุ่มต่าง ๆ

ที่มา: https://sites.google.com/site/sakanza1234567/khorngsrang-thang-sangkhm/kar-cad-rabeiyb-thang-sangkhm

ที่มา: https://money.kapook.com/view99855.html

1.2 ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่

                      1) การประหยัดและอดออมในครอบครัว

                      2) การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ

                         3) การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า

                         4) การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

                         5) การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

1.3 ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่

                          1) การเคารพกฎหมาย

                          2) การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

                          3) การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า

                          4) การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

                          5) การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม กล้าเสนอตนเองในการทําหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา

                          6) การทํางานอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา

ที่มา: https://www.matichon.co.th/politics/news_1525572

ที่มา: https://www.pinterest.com/pin/565201821962695515/

ที่มา: https://sites.google.com/site/suxsatyxdthnseiysla/khwam-hmay-khxng-kha-wa-seiy-sla

ที่มา: https://www.dmc.tv/pages/good_QA/พ่อที่ลูกเกลียด-หลวงพ่อตอบปัญหา.html

ที่มา: https://sites.google.com/site/chmphunuchkhawphxng/khwam-suxsaty

2. หน้าที่ของพลเมืองดีตามหลักธรรม

การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม เป็นหน้าที่ของพลเมืองดีพึ่งปฏิบัติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

                          2.1 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หมายถึง การปฏิบัติกิจการงานของตนเอง และที่ได้รับ มอบหมายด้วยความมานะพยายาม อุทิศกําลังกาย กําลังใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จนงานประสบความสําเร็จตรงตามเวลา บังเกิดผลดีต่อตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้รวมไปถึงการรับผิดเมื่องาน ล้มเหลว พยายามแก้ไขปัญหาและอุปสรรคโดยไม่เกี่ยงงอนผู้อื่น

                          2.2 ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การเป็นผู้รู้และปฏิบัติตามแบบแผนที่ตนเอง ครอบครัว และสังคมกําหนดไว้ โดยที่จะปฏิเสธไม่รับรู้กฎเกณฑ์หรือกติกาต่าง ๆ ของสังคมไม่ได้ คุณธรรมข้อนี้ต้องใช้ เวลาปลูกฝังเป็นเวลานาน และต้องปฏิบัติสม่ําเสมอจนกว่าจะปฏิบัติเองได้ และเกิดความเคยชิน การมีระเบียบ วินัยช่วยให้สังคมสงบสุขบ้านเมืองมีความเรียบร้อย เจริญรุ่งเรือง ไม่หลอกลวง ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ลั่นวาจาว่าจะ ทํางานสิ่งใดก็ต้องทําให้สําเร็จเป็นอย่างดี ไม่กลับกลอก มีความจริงใจต่อทุกคน จนเป็นที่ไว้วางใจของคนทุกคน

                          2.3 ความเสียสละ หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกําลังกาย กําลังทรัพย์ กําลังปัญญา เพื่อ ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความตั้งใจจริง มีเจตนาที่บริสุทธิ์ คุณธรรมด้านนี้เป็นการสะสมบารมีให้แก่ ตนเอง ทําให้มีคนรักใคร่ไว้วางใจ เป็นที่ยกย่องของสังคม ผู้คนเคารพนับถือ

                          2.4 ความอดทน หมายถึง ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใด ๆ มุ่งมั่น ที่จะทํางานให้บังเกิดผลดี โดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ความอดทน มี 4 ลักษณะ คือ

                                   1) อดทนต่อความยากลําบาก เช่น เมื่อเจ็บป่วยได้รับทุกขเวทนาก็ไม่แสดงอาการ จนเกินกว่าเหตุ เป็นต้น

                                   2) อดทนต่อการตรากตรําทํางาน เช่น ไม่ทอดทิ้งงาน ฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบผลสําเร็จ เป็นต้น

                                   3) อดทนต่อความเจ็บใจ เช่น ไม่แสดงความโกรธ ไม่อาฆาตพยาบาท อดทนต่อคําเสียดสี เป็นต้น

                                   4) อดทนต่อกิเลส เช่น ไม่อยากได้ของผู้อื่นจนเกิดทุกข์ ไม่ตอบโต้คนอื่นที่ทําให้เรา โกรธ และไม่ลุ่มหลงในสิ่งที่จะพาเราไปพบกับความเสียหาย เป็นต้น

                          2.5 การไม่ทําบาป หมายถึง การงดเว้นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย สร้างความเดือดร้อน ให้ผู้อื่น เพราะเป็นเรื่องเศร้าหมองของจิตใจ ควรงดเว้นพฤติกรรมชั่วร้าย 3 ทาง คือ

                                   1) ทางกาย เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทุจริต ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเวณี

                                   2) ทางวาจา เช่น ไม่โกหก ไม่กล่าวถ้วยคําหยาบคาย ไม่ใส่ร้าย ไม่พูดเพ้อเจ้อ

                                   3) ทางใจ เช่น ไม่คิดเนรคุณ ไม่คิดอาฆาต ไม่คิดอยากได้

                          2.6 ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิดเป็นน้ํา หนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสําเร็จ โดยไม่มีการเกี่ยงงอนหรือคิดชิงดีชิงเด่นกัน ทุกคนมุ่งที่จะให้สังคมและประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันด้วยความจริงใจความไม่เห็นแก่ตัว การวางตนเสมอต้นเสมอปลายก็หมายถึงความสามัคคีด้วย

                          2.7 ความซื่อสัตย์ หมายถึง การปฏิบัติตนทางกาย วาจา ใจ ที่ตรงไปตรงมา ไม่คดโกง หลอกลวงเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เป็นที่ไว้วางใจของทุกคน

3. หน้าที่ของพลเมืองดีตามวัฒนธรรมไทย

                วัฒนธรรม คือ แบบแผนการกระทํา หรือผลการกระทําที่พัฒนาจากสภาพเดิมตามธรรมชาติให้ ดีงามยั่งยืน จนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม

                ตัวอย่างแบบแผนการกระทํา เช่น กิริยามารยาท การพูด การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น ส่วนผลจากการกระทํา เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

                วัฒนธรรมการไหว้ เป็นวัฒนธรรมภายนอกที่มักได้รับการตอบสนองจากผู้ได้รับด้วยการ ไหว้ตอบ นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมไทยอื่นๆ ที่งดงาม เช่น การกราบ การแต่งกายแบบไทยในโอกาสต่าง ๆ การทําบุญ ตักบาตร เป็นต้น

ที่มา: https://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=10740

ที่มา: https://sites.google.com/site/kruauaelovely/home/neuxha/bth-thi-1-hlak-kar-porkaerm-beuxng-tn/1-3-khnbthrrmneiym-prapheni-silp-wathnthrrm-laea-phumipayya-thiy-2

4. หน้าที่ของพลเมืองดีตามประเพณีไทย

                ขนบธรรมเนียมประเพณี คือ สิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดสืบทอดกันมาและถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงาม ของแต่ละสังคมอาจเหมือนกัน คล้ายกัน หรือแตกต่างกันก็ได้ และสิ่งที่ดีงามของสังคมหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป สังคมนั้นอาจเห็นเป็นสิ่งไม่ดีงามก็ได้

                วัฒนธรรมและประเพณีไทย เป็นกิจกรรมที่สืบทอดมายาวนานและสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งดี ควรอนุรักษ์ไว้

                การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก การที่บุคคลจะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทย และสังคมโลก จะต้องคํานึงถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

5. หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ

                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กล่าวถึงหน้าที่ของชนชาวไทยตาม ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสูงสุด ของประเทศ ซึ่งทุกคนจะต้องรักษาและปฏิบัติตามจะหลีกเลี่ยงมิได้ พอสรุปได้ดังนี้

ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=6Sk9OE7QGA4

ที่มา: https://thematter.co/social/my-beloved-country-subject/97414

5.1 การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

                          การรักษาชาติ บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา6 เมื่อคนไทยมีหน้าที่รักษาก็ต้องดูแลและป้องกันชาติมิให้ผู้ใดใช้ข้ออ้างใดๆ เพื่อแบ่งแยกแผ่นดินไทย ด้วย เหตุผลทางการเมือง การปกครอง หรือศาสนา เพราะรัฐธรรมนูญกําหนดว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร อันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ " ดังนั้นผู้ใดจะมาชักจูงโน้มน้าวด้วยเหตุผลใดๆ ถือว่าเป็น ผู้ทําลายประเทศชาติ คนไทยทุกคนมีหน้าที่รักษาชาติให้มีเสถียรภาพมันคงถาวรและเป็นเอกภาพ ตลอดไป

การรักษาศาสนา เนื่องจากประเทศไทยให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาและสามารถ ประกอบพิธีกรรมตามศาสนาได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ภก คือ ทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาใน ประเทศไทย รัฐธรรมนูญจึงกําหนดให้เป็นหน้าที่ที่เราทุกคนต้องรักษาไว้ซึ่งศาสนา ซึ่งน่าจะหมายถึง การบํารุงรักษาและเสริมสร้างศรัทธาเพื่อให้ศาสนาคงอยู่คู่บ้านเมืองและเป็นหลักยึดเหนี่ยวในด้านคุณธรรม สืบไป คนไทยทุกคนต้องช่วยกันสอดส่องดูแลทั้งฆราวาสและบรรพชิต ให้มีวัตรจริยาอันเหมาะสมต่อศาสนา หรือลัทธิของตนจะอาศัยพระวินัยหรือนักบวชแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/10238

ที่มา: https://statedemocracy.org/ประชาธิปไตยอันมีพระมหา/

การรักษาพระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ภารกิจนี้เป็นหน้าที่ยิ่งใหญ่ของคนไทยทุกคน เพราะประเทศไทยดํารงอยู่ได้และคนไทยอยู่ อย่างร่มเย็นเป็นสุขยืนยงมาทุกวันนี้ ด้วยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ปกอยู่เหนือเกล้าฯ ชาวไทยทุกคน เพราะแต่ละพระองค์จะครองราชย์สมบัติ ดูแลบ้านเมืองอยู่ได้นานกว่าประมุขที่มาจากการ เลือกตั้ง ทั้งมีความรู้สึกผูกพัน ตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบัน ย่อมจารึกอยู่ในดวงใจของชาวไทยทั้งประเทศ ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ที่คนไทยต้องดูแลรักษาเทิดทูนสถาบันและองค์พระมหากษัตริย์ไว้ด้วยชีวิต อีกทั้งต้อง ป้องกันภัยอันเกิดจากวาจาหรือความคิดที่ไม่สุจริตทั้งปวง การปกครองของไทยจึงเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่แน่วแน่มั่นคงเพราะพระองค์ คือ สัญลักษณ์แห่งคุณธรรมและสันติสุข



5.2 การปฏิบัติตามกฎหมาย บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้ กว้าง ๆ แต่มีความหมายครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชน มหาชน หรือกฎหมาย ระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายระดับต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎหมายใด ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมาย แต่ละฉบับนั้นได้มีการร่างและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จึงเป็นหน้าที่ของ ชาวไทยทุกคนที่จะต้องศึกษาและทําความเข้าใจเรื่องกฎหมายเพื่อไม่ให้เสียเปรียบหรือได้รับโทษโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

ที่มา: http://www.prachinburi2.go.th/wp/ระเบียบ-กฎหมาย/

ที่มา: http://www.prbangkok.com/th/newselection/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQ1MjY5

5.3 การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การใช้สิทธิเลือกตั้งมีทั้งใน ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อ ประชาชน ที่ถือเสียงข้างมากเป็นสําคัญ แต่ก็เคารพสิทธิเสรีภาพของเสียงข้างน้อย ในระบอบประชาธิปไตย จึงมีการเลือกตั้งผู้แทนไปปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นการเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ หรืออาจเป็นการเลือกผู้แทนไปเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยตรงก็ได้ แล้วแต่รูปแบบการปกครองของแต่ละ ประเทศ ที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญการเลือกตั้งจึงถือเป็นกิจกรรมที่จําเป็นอย่างหนึ่งในการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตย การ ได้มีโอกาสใช้สิทธิในการเลือกตั้งจึงเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนที่อยู่ในประเทศ ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนที่สําคัญคือ การเลือกตั้ง ดังนั้น ประชาชนควรภาคภูมิใจที่จะไป ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเสรี ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่ที่สําคัญของคนไทย บุคคลใดที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ยอมเสียสิทธิตามกฎหมาย

5.4 การป้องกันและพัฒนาประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ระบุถึงหน้าที่ของปวงชนชาวไทยในการป้องกันประเทศ ซึ่งสามารถแยกออกได้ 7 ประการ ดังนี้

                          1) การป้องกันประเทศ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน

                          2) การรับราชการทหาร พระราชบัญญัติการตรวจเลือก พ.ศ.2497 กําหนดให้เป็นหน้าที่ ของชายไทยทุกคนต้องไปรับการตรวจเลือก หรือที่เรียกว่า เกณฑ์ทหาร เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ผู้อยู่ใน วัยศึกษาเล่าเรียนสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้ที่ขอผ่อนผันต้องไปรายงานตัวทุกปีเมื่อมีการเกณฑ์ทหาร จนกว่า จะสําเร็จการศึกษา และเมื่อสําเร็จการศึกษาแล้วก็ต้องไปเข้ารับการคัดเลือกตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือหนีทหารจะได้รับโทษทางอาญาสถานเดียวคือ จําคุกตั้งแต่ 1 เดือนถึง 3 ปี

                          3) การเสียภาษีอากร หน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องเสียภาษีอากรตามที่ตนเกี่ยวข้อง ด้วยความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือรัฐ ซึ่งเงินรายได้จากการจัดเก็บภาษีรัฐได้นํากลับมาพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และจัดบริการขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชน เช่น การประกันสุขภาพ การประกันรายได้ขั้นต่ําและการประกันความมั่นคง ในชีวิต

ที่มา: https://tigersoft.co.th/ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี/

ที่มา: https://travel.kapook.com/view194050.html

6. หน้าที่ของพลเมืองดีในการพิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น ชาติไทยเป็นชาติที่มีศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่มานาน ศิลปะและวัฒนธรรมช่วยให้ประเทศมีความเป็นเอกลักษณ์ ที่งดงาม ศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม ปฏิมากรรม และภาพพิมพ์ตามวัดวาอาราม

                หน้าที่สําคัญอีกประการหนึ่งของคนไทย คือ การปลูกจิตสํานึกให้รู้จักปกป้องไม่ให้ผู้ใดมา ทําลาย หรือลบหลู่ดูหมิ่นศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการผดุงรักษา ปกป้อง และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงต้องเริ่มด้วยการปลูกจิตสํานึกคนไทยให้ตื่นตัว หันกลับมารักษา ส่งเสริมและสร้างสรรค์สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้ชาติไทยแข็งแกร่งสืบไป


7. หน้าที่ของพลเมืองดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุกคนต้องตระหนัก ในความสําคัญและคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                รัฐได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ เพื่อปกป้องคุ้มครองและ ควบคุมไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทําลายจนสูญสลาย หรือแปรสภาพไป การดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมเป็นภารกิจที่สําคัญยิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและเอาใจใส่ไม่ให้ผู้ใดมาทําลาย ทุกคนต้องร่วมกันดูแลรักษาและป้องกัน ไม่ให้ป่าไม้ แร่ธาตุ น้ํามัน ภูเขาแม่น้ําลําคลองและสิ่งแวดล้อมถูกทําลาย ช่วยกันรักษาให้คงอยู่และพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป 

ที่มา: https://sites.google.com/site/hnathiphlmeuxngdi33/naewthang-kar-xnuraks-wathnthrrm-thiy-thi-di

ที่มา: http://srimongkol.go.th/public/activity/data/detail/activity_id/14/menu/141

การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

                การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว ควรสนับสนุนส่งเสริมให้ บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วย โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

                1. การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมของ ศาสนาและหลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดํารงชีวิตประจําวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง

                2. เผยแพร่ อบรม หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้าน คนในสังคม ให้ใช้หลักการ ทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการดํารงชีวิตประจําวัน

                3.สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการบอกเล่า เขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน

                4. ชักชวน หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมือง หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน

                5. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของ งานรัฐในการสนับสนุนคนดี และกําจัดคนที่เป็น ภัยกับสังคม การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ควรเป็นจิตสํานึกที่บุคคลพึง ปฏิบัติเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้

สรุปสาระสําคัญ

       การเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยเป็นคุณสมบัติของพลเมืองที่ทุกประเทศต้องการ นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นจนประสบผลสําเร็จแล้ว ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นใน วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม ถ้าทุกคนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมแล้ว ยังสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และทําให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมด้วย

ที่มา: https://sites.google.com/site/phlmeuxngditamwithi/hna-erek/khwam-sakhay