บทที่1 ความสำคัญของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อต่อวัยรุ่น

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาท

ระบบประสาทควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ทุกระบบในร่างกายให้สัมพันธ์กัน

แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน •ระบบประสาทส่วนกลาง •ระบบประสาทส่วนปลาย

ระบบประสาทส่วนกลาง

ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางในการประสานการทำงานการทำงาน ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

1.สมอง (Brain)

เป็นอวัยวะที่สำคัญและซับซ้อนมากประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อบรรจุอยู่ ในกะโหลกศีรษะ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

- สมองส่วนหน้า

- สมองส่วนกลาง

- สมองส่วนท้าย

2.ไขสันหลัง (Spinal Cord)

อยู่ภายในช่องกระดูกสันหลังเชื่อมต่อกันตลอดความยาวของลำตัวเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นตัวเชื่อมระหว่าง อวัยวะรับความรู้สึกไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

แผนภาพแสดง

ส่วนประกอบและหน้าที่ของสมอง

สมองส่วนหน้า

เซรีบรัม

เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ของร่างกาย เช่นการพูด การมองเห็น การเรียนรู้ด้านสติปัญญา ความคิด ความจำ การได้ยิน

ทาลามัส

อยู่ด้านล่างของสมอง ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดสัญญาณไปยังสมองส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาท

ทาลามัส

อยู่ด้านล่างของสมอง ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดสัญญาณไปยังสมองส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาท

สมองส่วนกลาง

อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้า มีขนาดเล็ก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การได้ยินและการสัมผัส

สมองส่วนท้าย

เซรีเบลลัม

ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อให้ทำงานประสานกัน

เมดัลลา ออบลองกาตา

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน เช่น การไอ การจาม การไหลเวียนโลหิต การลำเลียงอาหารของลำไส้ การหายใจ การอาเจียน

พอนส์

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เกี่ยวกับการหลับตา การยิ้ม การยักคิ้วการเคี้ยว และการหลั่งนํ้าลาย

ระบบประสาทส่วนปลาย

เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลัง ประกอบด้วย 2 ส่วน

1.ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง

ประกอบด้วย

เส้นประสาท สมอง มี 12 คู่ ทอดออกจากพื้นล่างของสมอง ผ่านไปยังรูต่างๆ ที่พื้นของกะโหลกศีรษะ โดยเส้นประสาทสมองในบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหว และบางคู่ทำหน้าที่รวม คือ ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว

เส้นประสาท ไขสันหลัง มี 31 คู่ เป็นเส้นประสาทที่ออกจากสันหลังทุกคู่จะทำหน้าที่รวม คือ ทั้งรับความรู้สึก และทำการเคลื่อนไหว

2.ระบบประสาทอัตโนมัติ

เป็นระบบประสาทที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจการบังคับและควบคุมของจิตใจ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ของอวัยวะในร่างกายให้เป็นปกติ

•ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต

•การย่อยอาหาร

•การหายใจ

•การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย

ระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งเป็น 2 ส่วน

ระบบประสาท ซิมพาเทติก เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น ในขณะตื่นเต้น ประสบภาวะฉุกเฉินหรือในระยะเจ็บป่วย เป็นต้น

ระบบประสาท พาราซิมพาเทติก ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในหลอดเลือดและต่อมต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อม จะทำงานได้ เช่น ทำให้หัวใจเต้นช้าลง หลอดเลือดคลายตัว เป็นต้น

แผนผังโครงสร้างของระบบประสาท

ความสำคัญของระบบประสาทที่มีผลต่อสุขภาพ

การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของวัยรุ่น

ระบบประสาทที่มีผลต่อสุขภาพ : ระบบประสาทมีความสำคัญและส่งผลต่อสุขภาพของวัยรุ่น

•ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย

•ควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล

•ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายที่เหมาะสม

ระบบประสาทที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

•มีการเจริญเติบโตที่สมวัย

•สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง

ระบบประสาทที่มีผลต่อพัฒนาการ:ระบบประสาทมีความสำคัญและส่งผลต่อสุขภาพของวัยรุ่น

•พัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย

•พัฒนาการด้านความคิด สติปัญญา และจริยธรรมที่เหมาะสม

•การควบคุมพฤติกรรม

การดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานตามปกติ

- หมั่นสำรวจและดูแลสุขภาพของตนเองอยู่สม่ำเสมอ โดยตรวจสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น

- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูงๆ หรืออาหารทอด ตลอดจนอาหารจานด่วนต่างๆ เนื่องจากอุดมไปด้วยคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว

- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เนื่องจากจะทำให้ความสามารถในการทำงานของระบบประสาท ลดลง ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย - เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้และธัญพืชที่มีวิตามินและเกลือแร่

ที่จำเป็นต่อการทำงานของสารสื่อประสาทเพื่อจะทำให้ระบบประสาททำงานได้อย่างเต็มที่

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

- ถนอมและบำรุงรักษาอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ควรใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ หรือเลี่ยงการใช้สายตากับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

- พักผ่อนอย่างเพียงพอ และควรหากิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อผ่อนคลายความเครียด จากกิจวัตรประจำวัน เช่น การทำงานอดิเรก การเล่นกีฬา

- ควรระมัดระวังและป้องกันการบาดเจ็บของสมองและไขสันหลัง

- ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที หากมีการบาดเจ็บหรือได้รับการกระทบกระเทือนต่ออวัยวะ

ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบประสาท

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ

ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ

โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

•ฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นปกติ ซึ่งหากมีการผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้ร่างกาย สูงใหญ่ผิดปกติ แต่ถ้าหากมีการผลิตฮอร์โมนนี้น้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายเตี้ย แคระแกร็น การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ หยุดชะงักลงได้

ทรอฟิกฮอร์โมน (Trophic Hormone)

•ฮอร์โมนที่ควบคุมปฏิกิริยาของต่อมอื่นๆ ซึ่งจะหลั่งออกมาก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนที่ผลิตจากไฮโพทาลามัส

ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary)

ทำงานตรงกันข้ามกับต่อมใต้สมองส่วนหน้า คือ จะไม่ผลิตฮอร์โมนออกมาเอง แต่จะมีการเก็บฮอร์โมนที่ไฮโพทาลามัสผลิตขึ้น ได้แก่

ออกซิโทซิน(Oxytocin)

•เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบ ของมดลูกบีบตัวเมื่อครบกำหนดคลอด และช่วยกระตุ้น การหลั่งของน้ำนมในขณะที่เด็กดูดนม

วาโซเพรสซิน(Vasopressin)

•เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการทำงานของไต โดย ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และช่วยเพิ่มความดันโลหิต

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland)

•เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกายมีจำนวน 2 ต่อม อยู่ด้านข้างส่วนบนของหลอดลมตรงลำคอบริเวณลูกกระเดือกข้างละ 1 ต่อม โดยทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด และฮอร์โมนไทร-อกซิน (Thyroxin) มาควบคุมกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ การแลกเปลี่ยนน้ำและเกลือแร่ การควบคุมกรดไขมันและเปลี่ยนกรดอะมิโน (Amino acid) เป็นกลูโคส (Glucose)

ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland)

•เป็นต่อมไร้ท่อที่เล็กที่สุด มีจำนวน๒ คู่ อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ผลิตพาราฮอร์โมน (Para Hormone) เพื่อไปควบคุมระดับแคลเซียม (Calcium) และฟอสเฟต (Phosphate) ในกระแสเลือด หากต่อมพาราไทรอยด์มี การผลิตฮอร์โมนมากเกินไป จะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดนิ่วในไต กระดูกพรุน ปวดกระดูกและข้อได้ แต่ถ้าหากผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป จะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำซึ่งมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทได้

ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland)

มี 2 ต่อม อยู่ข้างบนและข้างหน้าที่ปลายด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง

: ด้านขวาจะมีรูปร่างคล้ายพีระมิด

: ด้านซ้ายมีขนาดใหญ่และอยู่สูงกว่า มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว

ต่อมหมวกไตส่วนนอก

ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) มาควบคุมเมแทบอลิซึม และการเผาผลาญในร่างกาย ส่วนอีกฮอร์โมนหนึ่ง คือฮอร์โมนมิเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความสมดุลของนํ้า และระดับเกลือแร่ในร่างกาย หากมีการผลิตฮอร์โมนน้อยจะทำให้ร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คลื่นไส้ และเวียนศีรษะ แต่ถ้าหากผลิตฮอร์โมนมากเกินไป ร่างกายจะขาดความสมดุลของนํ้าและเกลือแร่

ต่อมหมวกไตส่วนใน

ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenalin) หรือเอพิเนฟริน (Epinephrin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนฉุกเฉินที่มีผลมาจากการถูกกระตุ้น เช่น ตกใจตื่นเต้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังผลิตฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin) หรือนอร์เอพิเนฟริน(Norepinephrin) ที่มี ผลทำให้เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ หดและบีบตัว

ต่อมไพเนียล (Pineal Gland)

•ต่อมเล็กๆ ที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศในช่วงระยะก่อนวัยหนุ่มสาว

•เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอาจมีผลต่อการตกไข่ และประจำเดือนในเพศหญิง

•หากต่อมไพเนียล มีการผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป จะส่งผลทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ

•หากต่อมไพเนียลถูกทำลาย เช่น เกิดเนื้องอกในสมองก็จะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าปกติ

ต่อมไทมัส (Thymus Gland)

•อยู่บริเวณด้านหน้าทรวงอก ซึ่งมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ

•ในระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาต่อมนี้จะมีขนาดใหญ่มาก และจะมีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่ออายุ 6 ปี จากนั้นจะเจริญเติบโตอย่างช้าๆ และค่อยๆ หายไป

ตับอ่อน (Pancreas)

ต่อมขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งต่อมมีท่อ และต่อมไร้ท่อ

ต่อมมีท่อ

ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยขึ้นมาเพื่อใช้ย่อยอาหาร

ต่อมไร้ท่อ

ต่อมที่สร้างฮอร์โมนของตับอ่อน ได้แก่ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon) ออกมา

ต่อมเพศ (Gonad)

เพศชาย : อัณฑะ (Testic)

ทำหน้าที่สร้างตัวและผลิตฮอร์โมนของเพศชายออกมาคือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเพศชายในช่วงวัยรุ่นขึ้น เช่น มีเสียงห้าว มีหนวดเครา กล้ามเนื้อเป็นมัด มีขนขึ้นตามแขน ขา รักแร้ อวัยวะเพศ และมีความรู้สึกทางเพศ

เพศหญิง : รังไข่ (Ovary)

ทำหน้าที่สร้างไข่ และผลิตฮอร์โมนของเพศหญิง คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโพรเจสเทอโรน (Progesterone)ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น เสียงแหลม เต้านมเจริญเติบโต สะโพกผาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีขนบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ มีประจำเดือนและมีความรู้สึก ทางเพศ

ความสำคัญของระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

ระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

กระตุ้นการใช้สารอาหารและผลิตพลังงานภายในร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต

•ทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายนั้นได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และก่อให้เกิดพลังงานในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะช่วยให้การเจริญเติบโตของร่างกายเป็นไปตามวัย

กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย

•ระบบต่อมไร้ท่อจะมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า โกรทฮอร์โมน ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย

กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเพศ

•ต่อมเพศมีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะที่มีความเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ให้มีการเจริญเติบโต

การดูแลรักษาระบบต่อมไร้ท่อให้ทำงานตามปกติ

- หมั่นสำรวจและดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอในการวัดอัตราการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง

- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และได้สัดส่วนที่เหมาะสม

- ควรดื่มน้ำสะอาด วันละ 6-8แก้ว และน้ำผลไม้ แทนเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม

- พักผ่อนอย่างเพียงพอด้วยการนอนหลับ

- ในกรณีที่เกิดความผิดปกติของร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์และปรึกษาแพทย์ทันที

ความสัมพันธ์ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

: ระบบประสาทสามารถทำงานในลักษณะของการประสานงาน

กับต่อมไร้ท่อได้ใน 2 ทาง

ทางตรง

พบได้ในกลุ่มของต่อมไร้ท่อที่เจริญมาจากกลุ่มเนื้อเยื่อประสาทจึงมีระบบประสาทมาควบคุมโดยตรง เมื่อ ถูกกระตุ้นโดยระบบประสาทก็จะมีการหลั่งฮอร์โมนทันที ได้แก่ ส่วนหลังของต่อมใต้สมองและส่วนในของต่อมหมวกไต

ทางอ้อม

พบว่ามีการสร้างสารจากเซลล์ประสาทในสมองบางส่วนส่งมาเก็บไว้ตามเส้นใยประสาทแล้วปล่อยเข้าสู่กระแสโลหิต เมื่อมีการกระตุ้นกระแสประสาทจากส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องไปควบคุมการ หลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ ได้แก่ การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง