หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การเลือกใช้บริการสุขภาพ

ระบบบริการสุขภาพ

การบริการสุขภาพ

การจัดบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความต้องการของประชาชนในเรื่องของสุขภาพ และเป็นการยกระดับสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้น ในปัจจุบันระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยนั้น มีผู้ที่ดำเนินการในระบบอยู่หลายฝ่ายทั้งในส่วนของหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานเอกชน นอกจากนี้ ยังมีองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO : Non Government Organization) ต่างๆ รวมถึงภาคประชาชนที่มีบทบาทมากขึ้นในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน

การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย

ความเชื่อมต่อของระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย

1.โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุข

- โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

- โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถาบันโรคทรวงอก

- สถาบันธัญญารักษ์

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

โรงพยาบามหาวิทยาลัย

- โรงพยาบาลตำรวจ

- โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี

- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

กรุงเทพมหานคร

- โรงพยาบาลสิรินธร

- โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

- โรงพยาบาลกลาง

กระทรวงกลาโหม

สภากาชาดไทย

- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

- โรงพยาบาลพระมงกุฎ- เกล้า

- โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

- โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

2.การจัดบริการสุขภาพในส่วนภูมิภาค

ระดับจังหวัด

•โรงพยาบาลมหาราช

•โรงพยาบาลศูนย์

•โรงพยาบาลทั่วไป

ระดับอำเภอ

•โรงพยาบาลชุมชน

(ไม่เกิน 150 เตียง)

ระดับตำบลและหมู่บ้าน

•สถานีอนามัย

•ศูนย์สุขภาพชุมชน

•โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

•ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน

หลักประกันคุณภาพ

1.สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ

–ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการบำนาญ และบุคคลในครอบครัว

–บุคคลในครอบครัวได้แก่ คู่สมรส บิดามารดาของตน และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะอีก 3 คน

–บริการรักษาพยาบาล ศัลยกรรมผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ไม่รวมค่าศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความงาม หรือแก้ไขความผิดปกติ ของรูปร่าง และการป้องกันโรค

–บริการฉุกเฉิน

–บริการยาและเวชภัณฑ์

–บริการตรวจสุขภาพประจำปี

2.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

•ให้บริการแก่ประชาชนผู้มีสิทธิโดยไม่คิดมูลค่า

•สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ภายในจังหวัด โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะ โรงพยาบาลที่ระบุตามสิทธิ

3.ระบบประกันสังคม

•ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ร้อยละ 1.5 ของเงินค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้าง และรัฐต้องจ่ายสมทบอีกร้อยละ 1.5 เช่นเดียวกัน ซึ่งรวมเป็นร้อยละ 4.5

•ประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่จากการทำงาน

•เงินทดแทนการขาดรายได้

•ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร

•ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพ

•ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย

•ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร

•ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

4.การประกันสุขภาพภาคเอกชน

•เป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง มีกำลังทรัพย์พอที่จะซื้อประกันกับบริษัทเอกชน

•ขอบเขตของการให้บริการสุขภาพจะเป็นไปตามสัญญาที่กระทำระหว่างผู้ประกันตนกับบริษัทรับประกัน

แนวทางการเลือกใช้บริการทางสุขภาพ

1.ประเมินภาวะสุขภาพของตนเอง

อาการของเรานั้นเป็นมากน้อยเพียงใด ต้องเข้ารับการรักษาจากสถานบริการสุขภาพหรือไม่

2ประเมินขีดความสามารถของสถานบริการสุขภาพ

สามารถให้บริการอะไรได้บ้าง สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของเราหรือไม่ มีบุคลากรสภาวะการจราจรในเมืองใหญ่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำาคัญที่ต้องใช้พิจารณาเพื่อเลือกสถานบริการสาธารณสุขที่สะดวกกับการเดินทางทางการแพทย์ที่มีความสามารถหรือเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มากพอหรือไม่

3.พิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

เพื่อที่เราจะได้ไปรับบริการได้อย่างทันท่วงทีไม่เกิดความขลุกขลักในการใช้บริการ

4ในกรณีที่มีหลักประกันด้านสุขภาพ

ควรเลือกรับบริการตามสถานบริการสุขภาพที่ระบุไว้ก่อน ยกเว้นในกรณีของเหตุฉุกเฉิน เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาในการใช้สิทธิดังกล่าว ในภายหลัง

5ตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ

ประชาชนควรมีวิจารณญาณในการเลือกที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สถานบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ