5L 1.2 On-Site Safety
L 1.2: On-Site Safety
Definition
On-Site Safety หมายถึงการปฏิบัตการ ณ จุดเกิดด้วยขบวนการที่คำนึงถึงความปลอดภัย
ของผู้ปฏิบัติการประชาชนและผู้ป่วยโดยอ้างอิงความรู้จากหลักวิชาการที่ถูกต้องเพื่อความ
ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการ ผู้ป่วย ประชาชนและทรัพย์สินของชุมชน
Goal
การตาย การบาดเจ็บ ของเจ้าหน้าที่ประจำรถพยาบาลจากการปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุลดลง
Why
ความปลอดภัยของการปฏิบัติงาน ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรค านึงถึงในอันดับต้นๆของการ
ทำงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และการออกปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลซึ่งเป็น
สภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถคาดเดาหรือควบคุมความปลอดภัยได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นทุก
ครั้งที่เจ้าหน้าที่ประจำรถพยาบาลต้องออกปฏิบัติการก็ถือได้ว่าเริ่มมีความเสี่ยงแล้ว ความ
เสี่ยงที่พบในการออกปฏิบัติการได้แก่ การถูกชนซ ้าซ้อนขณะปฏิบัติการบนถนน การ
สัมผัสสารเคมีหรือสารพิษ อันตรายจากการต่อสู้ในที่เกิดเหตุและภัยจากการระเบิด
Process
1. การถูกชนซ ้าซ้อนขณะปฏิบัติการบนถนน เจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการสามารถป้องกัน
หรือบรรเทาความรุนแรงของการชนซ ้าซ้อนโดยปฏิบัติตามแนวทางสากลโดยสร้าง
แนวเบี่ยงจราจร แนวกันชน ก่อนจุดเกิดเหตุ
หากรถพยาบาลไปถึงที่เกิดเหตุเป็นคันแรก ให้รถพยาบาลเป็นแนวกันชน
ก าหนดให้แต่ละกรวยวางห่างกันประมาณ 3 เมตร(10 ฟุต) และระยะวางกรวยแรกให้ใช้
ระยะที่ก าหนดตามความเร็วของรถที่วิ่งบนถนนโดยดูจากอัตราเร็วจ ากัดของรถวิ่งประจ า
ถนนนั้นดังตัวอย่างในตารางข้างล่างนี้
ข้อควรปฏิบัติอื่นๆ
เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการต้องสวมชุดที่มีแถบสะท้อนแสงทุกครั้ง
งดการใช้ไฟส่องสว่างที่หันทิศทางไปกระทบการมองเห็นของผู้ขับขี่ที่อยู่บนถนน
สายเดียวกัน ให้ปิดไฟหน้ารถ ใช้แสงไฟฉุกเฉิน
ระยะการจอดรถ ณ จุดเกิดเหตุ
สถานการณ์รถชนที่ไม่มี
อันตรายอื่นๆคุกคาม
สถานการณ์รถชนที่มีน ้ามัน
หกออกจากรถ
สถานการณ์รถชนที่มีไฟไหม้
ควรตั้ง danger zone 50 ฟุตหรือ
15 เมตรห่างจากสถานที่รถชน
ควรตั้ง danger zone 100 ฟุตหรือ
30 เมตรห่างจากสถานที่รถชน
ควรตั้ง danger zone 100 ฟุตหรือ
30 เมตรห่างจากสถานที่รถชน
1. การสัมผัสสารเคมีหรือสารพิษ เจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติสามารถทราบได้จากข้อมูลที่
ศูนย์สั่งการแจ้งออกปฏิบัติการและหากไม่ทราบว่าเป็นสารพิษหรือสารเคมีชนิดใด สิ่ง
ที่ต้องปฏิบัติคือ
ไม่เข้าพื้นที่เกิดเหตุในระยะ 600เมตรจากจุดศูนย์กลางของเหตุและอยู่เหนือลมเสมอ
พยายามสืบค้นจากประจักษ์พยานว่าเป็นสารชนิดใดรั่ว เช่น ใช้กล้องส่องทางไกลมอง
หาเลขระบุชนิดสารเคมี (UN number) (ref) จากนั้นเปิดดูระยะปลอดภัยจากคู่มือ
Emergency response guide book1
หากจ าเป็นต้องเข้าในพื้นที่เกิดเหตุแต่ไม่ทราบชนิดสาร ให้สวมชุดป้องกันสารเคมี
ระดับ A2
2. ภัยจากเหตุระเบิด เจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการให้ฟังค าสั่งของผู้บัญชาการเหตุการณ์ใน
พื้นที่ เข้าพื้นที่ได้เมื่อได้รับค าสั่งเท่านั้น ค านึงไว้เสมอว่าอาจมีการระเบิดซ ้าได้เสมอ โดย
ระยะปลอดภัยจ าแนกตามขนาดของระเบิดศึกษาจากเอกสารอ้างอิง 3
ข้อควรปฏิบัติอื่นๆ
หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมืออิเล็คทรอนิกที่อาจปล่อยคลื่นเสียงเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่
วิทยุสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระเบิด Hot zone
หากได้รับค าสั่งให้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากจุดเกิดเหตุให้รีบเคลื่อนย้ายโดยไม่
ท าการคัดแยกตามระบบปกติ แต่น ามาผู้ป่วยมาที่จุดคัดแยกที่ตั้งห่างออกไปไม่น้อย
กว่า 610-1220 เมตร จากจุดเกิดเหตุ
Training
เจ้าหน้าที่ควรผ่านการอบรม Pre-hospital Trauma Life support
Monitoring
1. การบาดเจ็บ /การตายของเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการ น้อยกว่าร้อยละ 10
2. เจ้าหน้าที่ประจ ารถพยาบาลผ่านการอบรม Pre-hospital Trauma Life support หรือ
เทียบเท่า ร้อยละ 100
Pitfall
ไม่มีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ส าหรับการจัดจุดเกิดเหตุให้ปลอดภัยบนรถพยาบาลและไม่มี
ชุดป้องกันสารเคมี
มาตรฐาน HA
การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ
สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 6 การดูแลต่อเนื่อง (COC) (3)