1S 1.1: Surgical Safety Checklist
Definition
เครื่องมือสำหรับช่วยตรวจสอบและประเมินความพร้อม โดยการสื่อสารในทีมให้เกิด
ความมั่นใจในความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เพื่อลดข้อผิดพลาดและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการผ่าตัดที่ป้องกันได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม โดยนำหลักคิดและวิธีการมาจาก Surgical Safety Checklist จาก WHO
Goal
ลดข้อผิดพลาดและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้จากกระบวนการผ่าตัด
ส่งเสริมการสื่อสารการทำงานเป็นทีมที่คำนึงถึง critical safety steps ร่วมกัน
Why
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศ The Second Global Patient Safety Challenge:
Safe Surgery Saves Lives โดยมุ่งเน้นที่การตรวจเช็คเพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัด (SafeSurgery Checklist) ซึ่งพบว่า สามารถลดทั้งอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตายจากการผ่าตัดและปัจจุบัน เป็นสิ่งที่สถานบริการสุขภาพส่วนใหญ่ทั่วโลกยึดถือปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยแล้วพบว่า ทั่วโลกจะมีการผ่าตัดปีละ 234,000,000 ล้านครั้ง ซึ่งทุกการผ่าตัดมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่หลีกเลี่ยงและป้องกันได้ร้อยละ 50
Process
การใช้ Safe Surgery Checklist สามารถปรับให้สอดคล้องกับการท างานแต่ละที่ และ
ต้องอาศัยการท างานร่วมของทีมผ่าตัด ซึ่งควรมีผู้ด าเนินกระบวนการตรวจเช็ค (Checklistcoordinator) ซึ่งแนะน าอาจให้เป็น circulating nurse หรือบุคคลอื่นตามความเหมาะสมของแต่ละที่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนให้ยาระงับความรู้สึก (Sign in) ก่อนลงมีด (Time out) และก่อนผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัด (Sign out) ซึ่งในแต่ละระยะทีมผ่าตัดจะต้องปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะเริ่มปฏิบัติภารกิจในระยะต่อไป โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. ก่อนให้ยาระงับความรู้สึก (Sign in)
ทีมผ่าตัด โดยอย่างน้อยต้องมี วิสัญญีแพทย์/ พยาบาล และพยาบาลห้องผ่าตัดร่วมกัน
ดำเนินการต่อไปนี
1.1 การยืนยันความถูกต้อง (Verification) ของชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย ต าแหน่งผ่าตัด
ชนิดของการผ่าตัด และใบยินยอมผ่าตัด โดยมีหลักการส าคัญคือ ต้องยืนยันกับผู้ป่วย
1.2 การท าเครื่องหมายบริเวณที่จะท าผ่าตัด (Mark site) โดยทีมผ่าตัดจะต้องสื่อสาร
และตรวจสอบร่วมกัน
1.3 การตรวจสอบความครบถ้วนของอุปกรณ์และยาที่ใช้ในการระงับความรู้สึก
1.4 การตรวจสอบว่ามี Pulse oximeter ติดให้ผู้ป่วยและใช้การได้
1.5 การตรวจสอบประวัติการแพ้ยา
1.6 การตรวจสอบประวัติการใส่ท่อช่วยหายใจล าบากหรือเสี่ยงที่จะเกิดอาการส าลัก
ขณะใส่ท่อช่วยหายใจ
1.7 การตรวจสอบว่ามีโอกาสเสียเลือดมากกว่า 500 มล. ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ หรือ 7 มล./กก.
ในผู้ป่วยเด็ก ถ้ามีความเสี่ยง ให้ใส่สายสวน (Cannula/ catheter) ในหลอดเลือดด าส่วนปลาย(Peripheral vein) 2 ต าแหน่ง หรือหลอดเลือดด าส่วนกลาง และเตรียมสารน ้าที่จะให้ทดแทน
2. ก่อนลงมีด (Time out)
ทีมผ่าตัดประกอบด้วย ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์/ พยาบาล และพยาบาลห้องผ่าตัด
ร่วมกันดำเนินการต่อไปนี้
2.1 สมาชิกทีมผ่าตัดทุกคนมีการแนะนำชื่อและบทบาทของตนเองเพื่อยืนยันการเข้า
ผ่าตัดถูกห้อง
2.2 ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์/พยาบาล และพยาบาลห้องผ่าตัด กล่าวยืนยันชื่อ-
นามสกุลผู้ป่วย ชนิดของการผ่าตัด และตำแหน่งที่จะผ่าตัด
2.3 ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายใน 60 นาที ก่อนลงมีด
2.4 ศัลยแพทย์ทบทวนขั้นตอนการผ่าตัดที่สำคัญหรือขั้นตอนที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่
พึงประสงค์ การคาดคะเนระยะเวลาผ่าตัด และการสูญเสียเลือด
2.5 วิสัญญีแพทย์/ พยาบาล ทบทวนปัญหาที่ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยเฉพาะราย
2.6 พยาบาลตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือผ่าตัด และอื่นๆ ว่าการทำให้
ปราศจากเชื้อมีความถูกต้องครบถ้วน
2.7 การเตรียมพร้อมเพื่อนำเสนอภาพทางรังสี หรือข้อมูลที่สำคัญทางคลินิกอื่นๆ
ที่จ าเป็นต้องใช้ระหว่างผ่าตัด
3. ก่อนผู้ป่วยออกจากห้องผา่ ตด ั (Sign out)
ทีมผ่าตัดประกอบด้วยศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์/ พยาบาล และพยาบาลห้องผ่าตัด
ร่วมกันด าเนินการดังนี้
3.1 ยืนยันชนิดของการผ่าตัดที่บันทึกในแบบบันทึกการผ่าตัดถูกต้อง และตัวบ่งชี้
(Identification) ของกายอุปกรณ์หรือสิ่งใส่เทียม (Prosthesis) ที่ใส่ให้ผู้ป่วย
3.2 การตรวจนับเครื่องมือผ่าตัด ผ้าซับเลือด และเข็มเย็บ ครบถ้วน
3.3 การเขียนป้ายสิ่งส่งตรวจให้ถูกต้อง
3.4 ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือผ่าตัด ให้ระบุปัญหาและวิธีแก้ไข
3.5 ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์/ พยาบาล ทบทวนเหตุการณ์ส าคัญที่เกิดขึ้นระหว่าง
การผ่าตัด และต้องแจ้งให้ทีมห้องพักฟื้นเพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
(ข้อ 3.1 -3.4 พยาบาลห้องผ่าตัดกล่าวให้ทีมผ่าตัดได้ยิน และขอค ายืนยันด้วยวาจาจากทีม)
Training
การท าความเข้าใจ ที่มา วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ของการใช้ Safety Surgical Checklist
ร่วมกันเป็นทีม
Monitoring
ตัวชี้วัดกระบวนการ: ร้อยละของการใช้แบบตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเมื่อมารับการตรวจรักษาในห้องผ่าตัด
อุบัติการณ์ที่ควรรายงาน: อุบัติการณ์การผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง อุบัติการณ์จากกระบวนการทางวิสัญญี การส่งชิ้นเนื้อคลาดเคลื่อน อุบัติการณ์ความเสี่ยงที่ป้องกันได้จากการดูแลผู้ป่วย ก่อนระหว่าง และหลังผ่าตัด เป็นต้น
Pitfall
การใช้ Surgical Safety Checklist ด้วยความไม่เข้าใจ และไม่ได้ดำเนินการร่วมกันเป็นทีม
มาตราฐาน HA
การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ
สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 หัวข้อที่ 4.3 การดูแลเฉพาะ (PCD.3) ก. การระงับ
ความรู้สึก (4) ข. การผ่าตัด (4) มีกระบวนการที่เหมาะสมในการป้องกันการผ่าตัดผิดคน ผิดข้างผิดตำแหน่ง ผิดหัตถการ (5) ผู้ป่วยได้รับการดูแลและผ่าตัดภายใต้สภาวะที่มีความพร้อมมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย