RMP Program ความเสี่ยง
ตัวอย่าง
การจัดโปรแกรมความเสี่ยงของโรงพยาบาล
กำหนดเป็นโปรแกรมความเสี่ยง 7 โปรแกรมได้แก่
โปรแกรมที่ 1 ความเสี่ยงด้านระบบบริการ
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการทั่วไปนอกเหนือจากด้านคลินิก เช่นพฤติกรรมบริการ ความล่าช้า ความผิดพลาดของงานและการสื่อสาร เป็นต้น
โปรแกรมที่ 2 ความเสี่ยงทางคลินิก
เป็นความเสี่ยงด้านการรักษาพยาบาล เช่น
1. เสียชีวิตโดยไม่คาดฝัน(Unexpected dead)
2. ไม่มีรายงานผล Lab / X- Ray ด่วนหรือผิดปกติ
3. ไม่มีการรายงานแพทย์ / ติดต่อแพทย์ไม่ได้
4. ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามคำสั่ง
5. เวชระเบียนไม่สมบูรณ์
6. ใบยินยอมไม่ตรงกับหัตถการ
7. ทำหัตถการโดยไม่มีใบยินยอม
8. เครื่องมือ เครื่องใช้ไม่ทำงาน / ทำงานผิดปกติ
9. ไม่มีเครื่องมือใช้
10. ต่อเครื่องช่วยหายใจผิดพลาด/ หลุด ไม่มี O2
11. รับ Admit ซ้ำโดยโรคเดิมใน 7 วัน
12. ไม่สามารถวินิจฉัยโรคที่ควรจะ Admit หรือมา ER ซ้ำ
13. รายงานผล X-Ray ผิด
14. ภาวะแทรกซ้อนจากหัตถการ
15. ทำ Diagnosis Procedure ซ้ำโดยไม่มีแผน
16. ใส่ cath / tube / drain ไม่ถูกต้อง
17. ดูแล catheter หรือ tube drain ไม่ถูกต้อง
18. ผู้ป่วยล้ม
19. พบผู้ป่วยนอนอยู่บนพื้น
20. ผู้ป่วยปีนข้ามไม้กั้นเตียง
21. พลัดตกขณะเคลื่อนย้าย
22. อุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมด้อยคุณภาพ
โปรแกรมที่ 3 ความเสี่ยงทางด้านการติดเชื้อ
เป็นความเสี่ยงขาดการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล เช่น การติดเชื้อการปนเปื้อนและการไม่ปฏิบัติตามนโยบาย ICC ที่คณะกรรมการ ICC ได้กำหนดและได้สื่อสารให้ทุกหน่วยงานทราบแล้ว เป็นต้น
โปรแกรมที่ 4 ความเสี่ยงด้านโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ความเสี่ยงด้านโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น
1. ล้มเนื่องจากโครงสร้างทางกายภาพ
2. ตกจากเตียง / เก้าอี้ / โต๊ะสาเหตุจากอุปกรณ์ชำรุดหรือไม่มีเครื่องป้องกัน
3. เครื่องรัดตรึงหลุด
4. ผู้ป่วยถูกลวก / ไหม้ (Burn)
5. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตกใส่ผู้ป่วย
6. เครื่องมือไม่ทำงาน / ทำงานผิดปกติ
7. ไม่มีเครื่องใช้ / เครื่องมือไม่พร้อมใช้
8. ลิฟต์ไม่ทำงาน
9. โจรกรรม / การลักขโมย
10. การทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่
11. การคุกคาม / ข่มขู่
12. สิ่งแวดล้อมเป็นอันตราย / ปนเปื้อน
13. อุบัติเหตุไฟไหม้
14. วางระเบิด
โปรแกรมที่ 5 ความเสี่ยงด้านอาชีวเวชกรรม
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ เช่น เจ้าหน้าที่เป็นโรค / เกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยจากการทำงาน
โปรแกรมที่ 6 ความเสี่ยงด้านความคาดเคลื่อนทางยา
ความเสี่ยงเกี่ยวกับการบริหารจัดการยาส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย เช่น
1. Wrong Patient การบริหารยาให้ผู้ป่วยผิดคน
2. Wrong Drugs การให้ยาผิดชนิด การให้ยาเสื่อมคุณภาพ
3. Wrong Dose การให้ยาผิดขนาด ผิดความแรง ผิดความเข้มข้น
4. Wrong Time การให้ยาผิดไปจากเวลาที่กำหนด การหยดให้ยาเร็วกว่าแพทย์กำหนด
5. Wrong Route การให้ยาผิดช่องทางเช่น IV, IM, IT, ID , Sc, Oral ,SL, Inhaler
6. Wrong Technique การผสมยาเข้าด้วยกันโดยไม่เหมาะสม การบริหารยาด้วยเทคนิคที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
7. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยา
โปรแกรมที่ 7 ความเสี่ยงด้านการเสียชื่อเสียงหรือฟ้องร้อง
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับด้านการเสียชื่อเสียงหรือถูกฟ้องร้องเช่น
1. ผู้ป่วย / ญาติไม่พึงพอใจ
2. ไม่สมัครอยู่ รพ.
3. รายงานจากประชาสัมพันธ์ Internet และแหล่งข่าวต่างๆ