3M 1.3 Burnout and Mental Health Disorder

M 1.3: Burnout and Mental Health Disorder

Definition

Burnout (หมดไฟการท างาน) เป็น ภาวะที่เป็นผลจากความเครียดและภาวะงานที่มากเกินไป

โดยแสดงอาการออกเป็น 2 ลักษณะ คือ รู้สึกหมดพลังและอาการของความเหนื่อยล้า เช่น ท างาน

ช้าลง โกรธง่าย นอนไม่หลับ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาวะซึมเศร้า

ส่วน Mental health problems หมายถึง ปัญหาสุขภาพจิตที่เข้าข่ายเป็นความผิดปกติ

ทางด้านจิตใจแบบต่างๆ เช่น การติดสารเสพติด, วิตกกังวล, ซึมเศร้า, โรคจิต โดยความเจ็บป่วย

เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อบุคลากร ครอบครัว และการท างาน

Goal

ป้องกันภาวะหมดไฟในการท างานทั้งในระดับบุคคลและองค์กร ให้การช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหา

สุขภาพจิตให้กลับมาท างานได้อย่างมีคุณค่า

Why

งานภาคบริการที่มีภาระงานมากและเผชิญกับความต้องการจากทุกทิศทางจะท าให้บุคคลสะสม

ความเครียดจนน าไปสู่ภาวะหมดไฟ ซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อสภาวะจิตใจของบุคคล เป็นภาระกับเพื่อน

ร่วมงาน และมีผลกระทบต่อคุณภาพงานขององค์กร ส าหรับบุคคลที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว จะ

น าไปสู่การเจ็บป่วยทางจิตใจ ซึ่งต้องการการรักษาเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตและท างานได้อย่างมีคุณค่า

Process

1) การสร้างสติในองค์กร (M1.1 ) มีบทบาทพื้นฐานในการท าให้บุคลากรท างานด้วยความสงบ

จัดการ กับอารมณ์และความเครียดได้ดี และรู้สึกมีคุณค่าในงาน ทางเลือกอีกแบบหนึ่งคือการฝึก

จัดการกับอารมณ์และความเครียดให้เป็นสมรรถนะหนึ่งของบุคลากร

2) การจัดสิ่งแวดล้อมในที่ท างานให้รู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ลด

ความแออัด

3) การลดภาระงานที่ไม่จ าเป็นโดยการออกแบบงานใหม่ และการใช้ IT

4) ผู้ที่แสดงอาการของภาวะหมดไฟ ได้รับการดูแลช่วยเหลือโดยผู้บริหารล าดับเหนือขึ้นไป

และหากไม่ได้ผลในระยะ 2 สัปดาห์จะต้องส่งให้ระบบดูแลช่วยเหลือต่อไป

5) ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการช่วยเหลือในข้อ 4 จะต้องมีระบบดูแล

ช่วยเหลือ (Employer Assistance Program: EAP) ในลักษณะการให้ค าปรึกษาที่เข้าถึงง่าย เป็น

มิตร และรักษาความลับให้ผู้ขอปรึกษา

6) กรณีที่พบว่ามีความผิดปกติทางจิตเวช จะต้องมีระบบส่งต่อให้ได้รับการประเมิน รักษา ฟื้นฟู

สมรรถภาพ จนสามารถกลับมาท างานได้ตามปกติ

Training

1) ใช้การอบรม Program สติในองค์กร หรืออีกทางเลือกหนึ่งด้วยการฝึกอบรมทักษะในเรื่อง

การจัดการกับความเครียดของบุคลากร

2) ฝึกอบรม HR ให้มีความสามารถในการประเมินภาระที่เกี่ยวข้องกับการ Burn out การป้องกันและ

การแก้ไข

3) อบรมหัวหน้างานให้มีทักษะในการสังเกตและเข้าใจเบื้องต้นของการ Burn out

Monitoring

1) ประเมินภาวะ Burn out หรือความเครียดของบุคลากร

2) ประเมินภาระงานที่ท าให้เกิดภาวะ Burn out เช่น Oldenburg Burnout Inventory (OLBI)1

3) ประเมินการเข้าถึงและใช้บริการ EAP

Pitfall

1) ปริบทของภาระงานที่ดูเหมือนแก้ไขไม่ได้ สามารถท าได้ดีขึ้นได้ทั้งการปรับปรุงระบบและ

การพัฒนาความสามารถของบุคลากร

2) ภาวะ Burn out แยกไม่ออกกับการจัดการทั้งองค์กร โดยให้บุคลากรมีส่วนร่วมในงาน รู้สึก

ได้รับการยอมรับและการปฏิบัติที่เป็นธรรม

3) โปรแกรม EAP ต้องระวังไม่ให้รู้สึกเป็นการตราหน้า

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น สอดคล้องและใกล้เคียงกับการปฏิบัติตามมาตรฐาน

โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของ

ก าลังคน ก. ขีดความสามารถ และความเพียงพอของก าลังคน (1), (3) และ (4) ข. บรรยากาศ

การท างานของก าลังคน (1) และ (2) ข้อ, 5.2 ความผูกพันของก าลังคน (WKF.2) ก.ความ

ผูกพันและผลการปฏิบัติงานของก าลังคน (1), (2) และ (3)