4P 2.1 :Effective Communication – ISBAR
Definition
ประสิทธิผลการสื่อสารโดยใช้ ISBAR หมายถึงการก าหนดกรอบการสนทนา ISBA
(Identify Situation Background Awareness and Recommendation) ท าให้เพิ่มความ
ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส าคัญในระหว่างการดูแลผู้ป่วย
Goal
เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการสื่อสารในภาวะวิกฤติโดยใช้กรอบการสนทนา
ระหว่างผู้ให้การดูแลผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะสุขภาพผู้ป่วย
Why
เป็นที่ยอมรับว่าความคลาดเคลื่อนของการสื่อสารเป็นสาเหตุรากของหลายๆ ปัญหาใน
การดูแลผู้ป่วย Institute for Healthcare Improvement (IHI) ได้แนะน าให้แก้ปัญหาการสื่อสาร
เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยใช้ SBAR (Situation-Background-AssessmentRecommendation) และต่อมามีการพัฒนาเพิ่มเติมเป็น ISBAR โดยเพิ่มตัว I (Identify) การน า
ISBAR มาใช้ นอกจากในวงการแพทย์แล้ว ยังมีการน าไปใช้ในองค์กรที่มีความเสี่ยงสูงเช่นใน
กองทัพ ISBAR เป็นเครื่องมือที่มีพลังมากส าหรับเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสื่อสาร
ระหว่างบุคคล ซึ่งต้องใช้การจดจ า เป็นกลไกที่ชัดเจนและมีประโยชน์ในการก าหนดกรอบการ
สนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติ ซึ่งต้องการความสนใจและการลงมือปฏิบัติโดยทันที
Process
1. ใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและเหมาะสมกับแพทย์ เช่น direct page, ส านักงาน/ห้อง
ท างาน, โทรศัพท์บ้านในวันหยุด หรือนอกเวลาราชการ,โทรศัพท์มือถือ โดยไม่ควรรอนานกว่า
5 นาที ส าหรับความพยายามในการติดต่อใหม่ ให้ใช้วิธีการทุกวิธีก่อนที่จะสรุหปว่าไม่สามารถ
ติดต่อแพทย์ได้
2. ก่อนที่จะโทรศัพท์รายงานแพทย์ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
a. ถามตัวเองก่อนว่าได้เห็นและประเมินผู้ป่วยรายนี้ด้วยตนเองหรือไม่?
b. ทบทวนว่าได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ป่วยรายนี้กับพยาบาลที่มี
ความรู้มากว่าหรือไม่?
c. ทบทวนเวชระเบียนเพื่อพิจารณาว่าควรรายงานแพทย์ท่านใด?
d. รับรู้การวินิจฉัยเมื่อแรกรับและวันที่รับไว้
e. ถามตัวเองว่าได้อ่านบันทึกความก้าวหน้าที่แพทย์และพยาบาลเวรที่แล้วได้บันทึก
ไว้หรือยัง
f. เตรียมสิ่งต่อไปนี้ให้พร้อมในขณะรายงานแพทย์
o เวชระเบียนผู้ป่วย
o บัญชีรายการยาและสารน ้าที่ผู้ป่วยก าลังได้รับ การแพ้ยา การตรวจ
ทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
o สัญญานชีพล่าสุด
o รายงานผลการตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ วันและเวลาที่ท าการ
ตรวจ ทดสอบ และผลการตรวจทดสอบครั้งที่แล้วเพื่อการเปรียบเทียบ
o Code status
1. ในการรายงานแพทย์ ให้ใช้ ISBAR
(I) Identification: การระบุชื่อ
- ระบุตัวผู้รายงาน : ชื่อ ต าแหน่ง สถานที่ และผู้ที่ก าลังสนทนาด้วย
- ระบุตัวผู้ป่วย : ชื่อ อายุ เพศ หอผู้ป่วย หลายเลขห้องหรือเตียง
(S) Situation: สถานการณ์ที่ท าให้ต้องรายงาน
- ระบุเหตุผลที่รายงานสั้นๆ เวลาที่เกิด ความรุนแรง
(B) Background: ข้อมูลภูมิหลังส าคัญเกี่ยวกับสถานการณ์
- การวินิจฉัยเมื่อแรกรับและวันที่รับไว้
- บัญชีรายการยา สารน ้าที่ได้รับ การแพ้ยา การตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
- สัญญาณชีพล่าสุด
- ผลการตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ วันเวลาที่ท าการทดสอบ และผลการตรวจ
ทดสอบครั้งที่แล้วเพื่อการเปรียบเทียบ
- ข้อมูลทางคลินิกอื่นๆ
- Code status
(A) Assessment: การประเมินสถานการณ์ของพยาบาล
- ระบุสิ่งที่เกิดขึ้นตามความคิดเห็นของตนเอง เช่น “ดูเหมือนผู้ป่วยจะทรุดลง คิดว่า
น่าจะเกิดจากภาวะเลือดออก”
(R) Recommendation: ข้อแนะน าหรือความต้องการของพยาบาล เช่น
- ต้องการให้ทราบว่าผู้ป่วยได้รับการรับไว้แล้ว
- การย้ายผู้ป่วยไปอยู่หน่วยดูแลวิกฤติ
- การเปลี่ยนแปลงค าสั่งการรักษา
- ต้องการความช่วยเหลือโดยขอให้มาดูผู้ป่วยด่วน
2.บันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่ วยและการรายงานแพทย์
Training
ก าหนดนโยบายการน าไปใช้ในองค์กรชัดเจน
ก าหนดขอบเขตการน า ISBAR ไปปฏิบัติ
จัดโครงการให้ความรู้บุคลากรทางทางคลินิกเกี่ยวกับ ISBAB โดยเฉพาะ พยาบาล และแพทย์
และประเมินความสามารถในการน า ISBAR ไปใช้
จัดให้มีระบบ โค้ช ในการน า ISBAR ไปใช้
ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ PDSA ในการน า ISBAR ไปใช้เมื่อเกิดภาวะวิกฤต
Monitoring
ลดระยะเวลาการรายงานกรณีผู้ป่วยเกิดภาวะวิกฤติ
การใช้ ISBAR ท าให้แพทย์ผู้รับรายงานตระหนักว่าผู้ป่วยมีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ
ทันที
จ านวนบุคลกากรที่ใช้ ISBAR ในการรายงานในแต่ละสัปดาห์
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ ISBAR ในการสร้างความตระหนักด้านดูแลผู้ป่วย ด้านความ
ปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของรายงาน
Pitfall
องค์การไม่มีนโยบายชัดเจนในการน า ISBAR มาใช้ท าให้ไม่ได้รับความร่วมมือ ท าให้ผล
การด าเนินการไม่เกิดผลดี
มาตรฐาน HA
การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ
สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.1 การดูแลทั่วไป (PCD.1) (5)