4P 1: Patient Identification
Definition
การบ่งชี้ตัวผู้ป่วยหมายถึงแนวทางการระบุตัวผู้ป่วย ให้สามารถแยกแยะผู้ป่วยแต่ละคนได้ชัดเจน
ท าให้การดูแลรักษาไม่ผิดคน
Goal
เพื่อให้การบ่งชี้ตัวผู้ป่วยเป็นไปทิศทางเดียวกันและป้องกันการบ่งชี้ตัวผู้ป่วยผิด
Why
การบ่งชี้ตัวผู้ป่วยผิด เกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของการตรวจรักษาและกระบวนการดูแล ปัจจัยด้าน
ผู้ป่วยเช่นผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว การสูญเสียการรับรู้ และปัจจัยที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน
กระบวนการดูแล เช่นการย้ายผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงในการ
บ่งชี้ตัวผิด และน ามาซึ่งความเสียหายและอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วย
Process
ระบุให้มีการใช้ตัวบ่งชี้ตัวผู้ป่วยด้วย 2 ตัวบ่งชี้เป็นอย่างน้อย เช่น ชื่อนามสกุล Hospital
number วันเดือนปีเกิด Barcode wrist banded เลขบัตรประจ าตัวประชาชน หรืออื่นๆ
ห้ามใช้หมายเลขเตียงหรือห้องเป็นตัวบ่งชี้
ก าหนดให้วิธีการบ่งชี้ผู้ป่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร แต่อย่างไรก็ตามการใช้ 2 ตัว
บ่งชี้ตัวอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เช่นผู้ป่วยในอาจใช้ ชื่อนามสกุล Hospital
number วันเดือนปีเกิด เลขประจ าตัวประชาชน ที่อยู่ รูปภาพ ส่วนผู้ป่วยนอกใช้ ชื่อนามสกุล
และวันเดือนปีเกิด
จัดให้มีวิธีปฏิบัติเฉพาะในการบ่งชี้ตัวผู้ป่วยในกรณีที่ไม่รู้สึกตัว เด็กแรกคลอดที่ผู้ปกครองยัง
ไม่ได้ตั้งชื่อ เพื่อลดความผิดพลาดในการบ่งชี้ผิด
ให้มีการบ่งชี้ตัวผู้ป่วยด้วย 2 ตัวบ่งชี้ในผู้ป่วยก่อนที่จะรับการรักษา ก่อนการให้เลือดและหรือ
ผลิตภัณฑ์ของเลือด ก่อนการเสิร์ฟอาหารเฉพาะโรค ก่อนฉายแสง ก่อนการท าหัตการ ก่อน
การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและการตรวจวินิจฉัย
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการบ่งชี้ตัวผู้ป่วย
Training
สร้างความตระหนักถึงความรับผิดชอบของผู้ให้บริการในการตรวจสอบ การบ่งชี้ตัวผู้ป่วยว่า
ถูกต้องกับบุคคลที่จะให้การดูแลตามแผน (เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สิ่งส่งตรวจ
หัตถการ) ก่อนที่จะให้การดูแลให้ข้อมูลและสื่อสารหลายๆ ช่องทางให้มีการปฏิบัติตาม
แนวทางที่ก าหนดให้ความรู้และแนวทางในการให้ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อให้เข้าใจและมีส่วนร่วมใน
การระบุตัวตามแนวทางที่ก าหนด
ส่งเสริมให้มีการรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อน าข้อมูลมาวิเคราะห์และหาแนวทางในการ
ป้องกันไม่ให้เกิดกับผู้ป่วยรายอื่น
Monitoring
การปฏิบัติตามขั้นตอนการบ่งชี้ตัวตามที่ก าหนดไว้ในนโยบาย
อุบัติการณ์การเกิด misidentification
Pitfall
การมุ่งเพื่อให้เกิดการบ่งชี้ตัวผู้ป่วยโดย บางครั้งท าให้เกิดการบ่งชี้ตัวในกระบวนการที่ไม่
จ าเป็น ซึ่งท าให้เกิด fatigue
ผู้ป่วยไม่เข้าใจเหตุผลของการสวม wrist banded และขั้นตอนของการระบุตัวจึงท าให้ไม่ให้
ความร่วมมือ
มาตรฐาน HA
การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ
ที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ I การเข้าถึงและเข้ารับบริการ (Access & Entry) ข้อย่อย (8)