AI

AI เป็นหลักการในการแก้ไขปัญหา หรือ สร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

AI เป้าหมายคือ หาสิ่งที่ดี คิดสิ่งที่ดี ทำสิ่งที่ดี แล้วสิ่งที่ดีจะเกิดขึ้น

หลักการสนับสนุน คือ ทุกสิ่งเรากำหนดได้ด้วยตัวเราเอง สิ่งที่เราเชื่อ ภาพในใจที่เราเห็นจะเป็นจริง

4 ขั้นตอน ค้นหาสิ่งที่ดีที่สุด วาดฝันไว้ ออกแบบ ทำให้เป็นจริง

Appreciative Inquiry

Appreciative Inquiry รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า "สุนทรียสาธก" หรือ "สุนทรียปรัศนีย์" แต่ที่นิยมเรียกกันคือชื่อย่อภาษาอังกฤษ หรือ AI

Appreciative Inquiry (Cooperrider, Whitney and Stavros, 2003)

คือ กระบวนการศึกษาค้นหาร่วมกันเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคน ในองค์กร หรือของโลกที่อยู่รอบตัวของเขา

AI คือกระบวนการค้นหาอย่างเป็นระบบว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบดำเนินไปอย่างดีที่สุด

AI เป็นศิลปะของการถามคำถาม ที่นำไปสู่การส่งเสริมให้ระบบมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุด

เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนให้เกิดการถามคำถามในเชิงบวกแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ

ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนตั้งแต่ไม่กี่คน จนถึงเป็นล้านคน

ในกระบวนการการทำ AI จะเปิดโอกาสให้กับจินตนาการและนวัตกรรม แทนที่จะเป็นความคิดด้านลบ หรือการวิพากษ์วิจารณ์

AI ยืนอยู่บนสมมติฐานที่ว่าในทุกระบบล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวด้านบวกที่สร้างแรงบันดาลใจที่ยังไม่มีใครนำมาขยายผล และมีมากพอ

เราสามารถเชื่อมโยงการค้นพบด้านบวกนี้เข้ากับเรื่องใดก็ได้

วงจร AI สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการสนทนาแบบเร็วๆสั้นๆกับเพื่อน หรือนำมาใช้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กรก็ได้

วงจร AI จะเริ่มจาก

การค้นหาประสบการณ์ที่ดีที่สุด (Peak Experience) (Discovery)

จากนั้นเอาประสบการณ์ที่ได้ไปสานต่อเป็นความฝัน หรือวิสัยทัศน์ (Dream)

วางแผนทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริง (Design)

และเริ่มต้นทำ (Destiny)

หลักการที่เป็นพื้นฐานของทฤษฎี Appreciative Inquiry

สุนทรียสาธก ยืนอยู่บนหลักการห้าประการ ดังนี้

1.The Constructionist Principle เป็นหลักการพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด Appreciative Inquiry ทั้งหมด

หลักการ คือ เรากำหนดชะตากรรมเราเองได้ เราสร้าง และร่วมสร้างหนทางใหม่ให้ตนเองได้

2.The Poetic Principle อดีต ปัจจุบัน อนาคตของเราเปิดกว้างต่อการตีความ และความเป็นไปได้ที่ไม่มีขีดจำกัดอะไรทั้งสิ้น

เราสามารถพบสิ่งดีๆในตัวบุคคล ในตัวองค์กรใดๆก็ตาม ในใครก็ตาม

สิ่งที่เราเลือกที่จะสนใจจะสร้างสิ่งที่เป็นจริงขึ้นมา

ถ้าเราให้ความสนใจอะไรเป็นพิเศษมันจะเติบโตเป็นประสบการณ์จริงๆของเรามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

3.The Simulteneity Principle การเปลี่ยนแปลงใดๆเริ่มต้นเมื่อเราถาม

4.The Anticipatory Principle ภาพในอนาคตที่เราสร้างขึ้นในใจ จะเป็นสิ่งนำทางเราในการแก้ปัญหาของเราในปัจจุบัน

และสร้างสรรอนาคตแก่เรา ภาพมีความหมายมากกว่าคำพูด ยิ่งภาพท้าทาย และชัดเพียงใด เราก็มีแนวโน้มจะเติบโตไปเส้นทางนั้นมากยิ่งขึ้น

5.The Positive Principle การที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืนได้นั้น มีเงื่อนไขว่าต้องอยู่บนพื้นฐานของการคิดบวก อารมณ์ดี มีความสัมพันธ์ที่ดี มีความรู้สึกว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันก็มีความสนุกสนานอยู่ในตัว

การมีอารมณ์ที่ดีมีส่วนสำคัญต่อการทำงานและการเติบโต กล่าวคือหากเรามีความสุข เราจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์

ref. ที่มา

https://sites.google.com/a/kku.ac.th/thailand-appreciative-inquiry-network/BLOG

เรียนรู้กระบวนการ AI ด้วย 4D Model

แนวคิดพัฒนาองค์กรด้วย Appreciative Inquiry มีอยู่ 4 ขั้นตอน เรียกได้ว่า 4D Model

ได้แก่

1. Discovery การค้นบวก

2. Dream การฝันบวก

3. Design การปั้นบวก

4. Destiny การทำบวก

วิธีง่ายๆ ที่ง่ายที่สุด ที่ใช้ทำกระบวนการ AI ก็คือ

๐ การตั้งคำถามเชิงบวก

๐ การสัมภาษณ์เชิงบวก และ

๐ การสังเกตเชิงบวก

ยุคแห่งการพัฒนายุคที่ 3 นี้ เน้นแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเข้ามาผสมผสานกับการพัฒนา

โดยคิดเสมอว่า ทุกๆ คน ก็คือ มนุษย์ มีจิตใจ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความคิดมากมาย

เพียงแค่ใช้หลักจิตวิทยาเชิงบวก ดึงพลังเหล่านี้ขึ้นมาใช้ให้เกิดผลสูงสุดเท่านั้น เริ่มกันที่

1. Discovery การตั้งคำถามเชิงบวกของสิ่งที่เราให้ความสนใจ (Topic) เช่น

๐ การขายครั้งใดที่ขายได้ยอดมากที่สุด

๐ การผลิตครั้งใดผลิตแล้วไม่มีของเสียหรือมีน้อยที่สุด

๐ การบริหารงานครั้งใด ลูกน้องทำตามที่วางแผนมากที่สุด

เป็นการ Discovery ค้นหาสิ่งที่เป็นที่สุดของสิ่งที่เรากำลังจะพัฒนา

2. เมื่อได้คำตอบของคำถามที่ Discovery มา นั่นคือ Dream เช่น

๐ การขายที่ยอดขายมากที่สุด คือ ตอนที่ไปขายร่วมกับนักขายผู้หญิงอีกคนหนึ่ง

๐ การผลิตครั้งที่มีของเสียน้อยที่สุด คือ สายการผลิตที่ 2 และ คนที่ไม่เคยทำของเสียเลยคือ

คุณ B ในสายการผลิตนั้น

๐ การบริหารงานครั้งที่ลูกน้องทำตามที่วางแผนมากที่สุด คือ ตอนที่ให้ลูกน้องร่วมกันวางแผนกันเอง โดยผจก. ดูอยู่ห่างๆ ลูกน้องชอบใจมากๆ

3. ค้นโดยการถามต่อไปถึง Dream นั้น เพื่อให้ได้แผน Design ที่เห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เช่น

๐ การขายที่ไปกับนักขายผู้หญิง แตกต่างจากการไปขายคนเดียว คือ

นักขายผู้หญิงจะเข้าไปคุยกับภรรยาของเจ้าของบ้าน นักขายผู้ชายจะคุยกับเจ้าของบ้าน ซึ่ง ร้อยละ 80 ภรรยาเป็นผู้ตัดสินใจซื้อ แต่ สามีเป็นคนจ่ายเงิน

๐ คุณ B ไม่เคยทำให้เกิดของเสียเลยแม้ครั้งเดียว คุณ B เพียงแค่จัดวางชิ้นงานให้เป็นหมวดหมู่ก่อนที่จะบรรจุลงในแบบ แล้วบรรจุลงตามขั้นตอนที่คุณ B คิดขึ้นมาเอง แต่ก็ไม่เคยเกิดของเสียเลยสักครั้งเดียว

๐ การวางแผนครั้งนั้น ผจก.ให้ลูกน้องวางเป้าหมายกันเอง วางแผนงานตามเป้าหมายนั้นด้วยตนเอง โดยให้คิดและวาดเป็นภาพ ให้เห็นได้ชัดเจน โดยไม่ได้เตรียมการกันมาก่อน ทำให้ลูกน้องกระตือรือร้นในการวางแผนและอยากทำให้เป็นไปตามแผนของตนที่สุด

4. เมื่อรู้วิธีการจากการ Design ก็เป็นคราวของการลงมือทำให้เสร็จ Destiny

๐ ฝ่ายขายพัฒนากลยุทธ์การขายโดยให้ นักขายชาย-หญิง ประกบคู่กันไปขาย

หลังจากนั้น 1 เดือน มาวัดผลยอดขายเพิ่มขึ้น 50%

๐ ฝ่ายผลิตพัฒนากลยุทธ์การผลิตโดย ถ่ายทอดวิธีการจัดวางชิ้นงานของคุณ B ให้กับฝ่ายผลิตทุกคนทำตาม หลังจากนั้น 1 เดือน มาวัดผลของเสียลดลง 30 %

๐ ฝ่ายบริหารพัฒนากลยุทธ์การวางแผนงาน โดยให้โจทย์ลูกน้องแบบไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า ให้วางเป้าและวางแผนกันเองภายในงานประชุมนั้น ส่งผลให้มีผลงานเป็นไปตามเป้าเพิ่มขึ้น 80% หลังจากเปลี่ยนวิธีการ 1 ปี

ตัวอย่างหลักแนวคิด Appreciative Inquiry ประยุกต์ใช้กับ การบริหารคน

ไม่ได้มองที่เป้าหมายของหน่วยงานมาก่อน แต่มองที่ประสบการณ์ของคนที่ทำงานในหน่วยงาน

ว่าในงานของเขา เขามีประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาที่ดีที่สุด อยู่ตรงจุดไหน สามารถพัฒนาให้เข้าใกล้อุดมคติได้มากน้อยเพียงใด อาทิเช่น

คุณ C เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิต หากจะพัฒนาฝ่ายของตนเอง เดิมเขาจะลงไปดูตารางการทำงานของแต่ละสายงานผลิต ไปค้นหาว่าสายงานผลิตไหน ผลิตไม่ตรงตามเป้าที่เขาวางเอาไว้ จากนั้นก็เข้าไปดูว่า เกิดปัญหาที่ตรงส่วนไหน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เขาก็ไปพบ

คุณ B เขาผลิตสินค้าเสียสูงถึง 6.5 % ของสินค้าทั้งหมด ทำให้สายงานของเขาสอบตก

แต่นี่เป็นการพัฒนาองค์กรยุคเก่า ยุคใหม่นั้นแค่พลิกมุมมองเท่านั้น

--------

คุณ C เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิต จะพัฒนาฝ่ายของตนเอง เขาลงไปดูตารางการทำงานของแต่ละสายงานผลิต เขาค้นพบว่า สายงานไหนผลิตสินค้าได้ดีเยี่ยมที่สุด ทั้งปริมาณและคุณภาพ

จากนั้นเขาไปค้นพบคนที่ทำงานได้ดีที่สุด เพื่อไปเรียนรู้ นำความรู้ไปถ่ายทอดให้สายงานอื่นทำด้วย เขาไปค้นพบ What Work ของสายการผลิต คือ

คุณ B เขาไม่เคยทำของเสียมาก่อนเลยตั้งแต่ทำงานมา คุณ C ไปค้นหาเชิงบวกต่อ และพบว่า ก่อนที่คุณ B จะทำงาน เขาแยกประเภทชิ้นส่วนตามสีของป้ายก่อน ทำให้ในเวลาที่ประกอบ เขาประกอบตามสีของป้าย ลดระยะเวลาค้นหาชิ้นส่วนลงไป ทั้งยังแก้ปัญหาการวางชิ้นส่วนไม่ถูกต้องด้วย

คุณ C ไม่รอช้า นัดประชุมพนักงานผลิตทุกคน มาดูการสาธิตการแยกประเภทชิ้นส่วนตามสีของป้าย ของคุณ B ทำให้ทั้งสายการผลิต ผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น 1.5 เท่าตัว

Ref.ที่มา

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/600086

ตัวอย่าง

-วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science)

-เบาหวาน (Diabetes Patient Management)

-Marketing in Phamaceutical Industry

-Pain Management

-Appreciative Coaching

-Sport Coaching

-องค์กรแห่งการเรียนรู้

-จิตวิทยาการขอ (Psychology of Persuasion)

-ส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion)

ref.

https://sites.google.com/a/kku.ac.th/thailand-appreciative-inquiry-network/krni-suksa