เนื้อหาจากการบรรยายในยูทูบ
หัวข้อ "อย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ”
สอนโดย อ.ดาวุด ธิยัน
อย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ (สรุปจากคลิป)
“และข้า (อัลลอฮฺ) มิได้สร้างญินและมนุษย์มาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อให้พวกเขาอิบาดะฮฺต่อข้า” (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัซซาริยาต 56)
เมื่อเรารู้แล้วว่า เป้าหมายของการดำเนินชีวิต คือ ทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺตลอดชีวิต อิบาดะฮฺคือสิ่งที่ทำแล้ว อัลลอฮฺพอพระทัย ไม่ใช่เพียงแค่การละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอด แม้กระทั่งคำพูด และการกระทำ ล้วนเป็นอิบาดะฮฺ
อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “จงทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ จนกว่าความตายจะมายังเจ้า” บางคนเมื่อไม่เข้าใจเป้าหมายของการดำเนินชีวิต ก็ทำอิบาดะฮฺเฉพาะรอมฎอนเท่านั้น
“และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระเจ้าของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรงและโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็นและจงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลเรอ” (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ 205)
อัลลอฮฺทรงเตือนว่า อย่าเป็นเหมือนคนเหล่านั้น บรรดาผู้ที่เผลอเรอ หลงลืม ไม่สนใจ ไม่เอาใจใส่หลักการของอัลลอฮฺ หรือทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ แม้กระทั่งคนที่ละหมาด แต่ไม่สนใจเรียนรู้หลักการละหมาด
อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “จะมีบ่าวของข้าจำนวนมากมาย ที่เป็นหมู่ผู้ที่เผลอเรอจากสัญญาณต่อข้า”
“แท้จริงบรรดาผู้ที่ไม่หวังจะพบเรา และพวกเราพอใจต่อชีวิตในโลกดุนยา และพวกเขาดีใจต่อมัน และบรรดาผู้ละเลยต่อสัญญาณต่าง ๆ ของเรา” (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺยูนุส 7)
บางทีคนดีๆ ก็อาจพลาดไป แต่เมื่อผิดแล้ว เขาจะรีบกลับเนื้อกลับตัว แต่ถ้าคนที่ผิดแล้ว ยังจมอยู่กับความผิดจะกลายไปเป็นกลุ่มคนที่เผลอเรอ
1. เกียจคร้านในการทำอิบาดะฮฺ
เพิกเฉย ละเลย ไม่สนใจ ละหมาดไม่ตรงเวลา ละหมาดบ้าง ไม่ละหมาดบ้าง เมื่อเขาลุกขึ้นไปละหมาดก็ลุกไปแบบขี้เกียจ ทำไปเพื่อโอ้อวด
ซิรุลลอฮฺทั้งกาย (นอบน้อมต่ออัลลอฮฺ) วาจาและใจ รำลึกถึงอัลลอฮฺน้อยมากๆ
2. คนที่ไม่สนใจจะเพิ่มพูนความรู้ศาสนาให้ตัวเอง
ใช้ชีวิตไปวันๆ
การละหมาดผิดพลาด ไม่ถูกต้อง รวดเร็ว ไ่ม่มีความสงบในการละหมาด ไม่สุญูดซะฮ์วีย์
3. คนที่ทำบาปแบบเปิดเผย
ทำเป็นประจำไม่เตาบะฮฺ หรือทำบาปแบบมิดชิดแล้วสุดท้ายทำบาปแบบเปิดเผย
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “อุมมะฮฺ (ประชาชาติ) ของฉันจะถูกอภัย คนทีทำบาปแบบลับๆ แล้วเขารู้ว่ามันผิด อัลลอฮฺจะอภัยให้ ในวันกิยามะฮฺ เว้นแต่คนที่ทำบาปแบบเปิดเผย” (เอามาเล่าให้คนอื่นฟัง ด้วยความภาคภูมิใจ ไร้ซึ่งความละอาย หรือเอามาเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีก)
1. ลุ่มหลงในดุนยา
จนลืมว่าอาคิเราะฮฺเราจะต้องถูกสอบสวน ดุนยาจะบังตาเขา อัลลอฮฺจะเอาดุนยามาวางไว้ข้างหน้าเขา
ลุ่มหลงกับมันจนลืมอาคิเราะฮฺ ลืมเป้าหมายชีวิตจริงๆ ว่า อัลลอฮฺสร้างเขามาทำไม ลืมว่าใครเป็นเจ้าของชีวิต เจ้าของอวัยวะ เจ้าของตาของเขา
ไม่มีเวลาเรียนศาสนา จนสุดท้ายไม่มีเวลาแม้กระทั่งการละหมาด ซึ่งเราจะถูกสอบสวนเรื่องการใช้เวลา
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “มนุษย์ ลูกหลานอาดัม นับวันจะแก่ชรา แต่จะมีสองอย่างที่มันจะหนุ่ม (แข็งแรง สดใส) เสมอในหัวใจและวิธีคิดของลูกหลานอาดัม ต่อให้เขาเป็นคนชรา คือ 1. อยากจะได้ อยากจะมี 2.อยากจะอยู่ในดุนยานานๆ”
2. คบกับคนที่เผลอเรอและหลงลืม
คุยกับคนที่คุยแต่ดุนยา ไม่อยากจะฟังคนที่พูดถึงอาคิเราะฮฺ ท่านนบีบอกว่า ถ้าไปคบกับใคร เราก็จะเป็นอย่างนั้น
3. การทำบาปมากๆ จนชินชา หัวใจตายด้าน เป็นสนิม
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “แท้จริง เมื่อผู้ศรัทธากระทำบาป ก็จะมีจุดดำหนึ่งจุดในหัวใจ เมื่อเขากลับเนื้อกลับตัว ทิ้งการกระทำดังกล่าว และหวังการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ หัวใจก็จะกลับมาสะอาด แต่ถ้าหากกว่าเขายังคงกระทำบาป จุดดำนั้นก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนกระทั้งดำสนิทในหัวใจ และนี่แหละคือการปกปิดหัวใจที่อัลลอฮฺตรัสความว่า “มิใช่เช่นนั้น แต่ว่าสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้นั้นได้เป็นสนิมบนหัวใจของพวกเขา” (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลมุฏ็อฟฟิฟีน : 14) (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อิบนุ มาญะห์ และซัยคฺ อัลบานีย์)
การทำบาป เช่น การทิ้งละหมาด เป็นสาเหตุให้เราไม่รู้สึกอะไร ไม่รู้สึกกลัว ไม่อายอัลลอฮฺ ไม่อายมนุษย์ ทำบาปแบบเปิดเผย กล้าฝ่าฝืนอัลลอฮฺ แสดงว่าหัวใจเราป่วยขั้นโคม่าแล้ว
เราตรวจสอบตัวเองได้ อัลลอฮฺส่งสัญญาณมามากมาย คนตาย เพื่อนหรือญาติตาย ไปกุโบร์ เราก็ไม่รู้สึกกลัวอะไร ไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไร เห็นเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ก็ไม่รู้สึกกลัวอะไร แสดงว่าหัวใจเป็นโรคแล้ว
อย่าให้วิธีคิด สภาพแบบนั้น อยู่กับท่านต่อไป เพราะมิเช่นนั้นแล้ว อาจจะจบไม่สวย เป็นบั้นปลายชีวิตอันเลวร้าย และไม่แก้ไข
1. ขอดุอาอฺจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)
เราไม่สามารถที่จะต่อสู้กับหัวใจที่อ่อนแอนี้ได้ ถ้าอัลลอฮฺไม่ช่วยเหลือ
2. เรียนรู้ศาสนา
ฟังศาสนาให้มาก
ฟังประวัติศาสตร์ของท่านนบี บรรดาคนดี คนที่กลับเนื้อกลัวตัว คนที่เปลี่ยนแปลงตัวเอง ประวัติของบรรดาชาวสวรรค์
3. นั่งอยู่กับคนที่เขาเตือนสติเราอยู่ตลอดเวลา
ให้เราไปหาเขา ถ้าหากไม่มีเวลา ก็ต้องไปหาเขาบ้าง ให้เขาเตือนสติเราว่า ตอนนี้ฉันอีมานอ่อน ช่วยนะศีหะฮฺ (เตือน) ฉันหน่อย
เราเคยมีคำพูดแบบนี้ไหม ถ้าไม่เคยมี อันตราย แสดงว่าเราไม่ต้องการให้ใครมาเตือน และเข้าใจว่าเรานั้นยังถูกอยู่
4. ตรวจสอบตัวเอง
ตั้งแต่บรรลุศาสนภาวะจนวันนี้ เราทำบาปมาเท่าไหร่ ทิ้งละหมาดมาเท่าไหร่ บาปนั้นยังทำอยู่ไหม เตาบะฮฺหรือยัง ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วจะเริ่มเมื่อไหร่