"และพวกเจ้าจงต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า และจงอย่ารุกรานแท้จริง อัลลอฮฺไม่ทรงชอบบรรดาผู้รุกราน"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 190)
การต่อสู้ ยืนหยัดในหนทางของอัลลอฮฺ (ญิฮาด) เป็นการต่อสู้อย่างห้าวหาญของนักรบ มีความเป็นสุภาพบุรุษแม้จะอยู่ในสงคราม และหลังสงครามก็ปฏิบัติต่อเชลยศึกป็นอย่างดี ในเนื้อหานี้จะทำให้เข้าใจหลักการต่อสู้ที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม มีหัวข้อดังนี้
"และจงสู้รบกับพวกเขา จนกว่าการก่อความวุ่นวาย จะไม่ปรากฏขึ้น และจนกว่าการอิบาดะฮฺ ทั้งหลายจะเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น แต่ถ้าพวกเขายุติ ก็ย่อมไม่มีการเป็นปฏิปักษ์ใด ๆ นอกจากแก่บรรดาผู้อธรรมเท่านั้น"
อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 193
การญิฮาดตามหลักการอิสลาม
ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ เมื่อยามจำเป็น
ไม่สู้รบกับคนที่ไม่มีลักษณะของนักรบ เช่น เด็ก สตรี คนชรา คนป่วย
ปฏิบัติกับเชลยศึกโดยเฉพาะกับสตรีอย่างดี ไม่ทำให้เขาตกใจ และให้เกียรติเช่นเดียวกับการให้เกียรติมุสลิมะห์ คือ ลดสายตาลงต่ำ หากต้องพูดคุยเมื่อยามจำเป็น
ไม่ทำลายศพของฝ่ายศัตรู
เมื่อมุสลิมชนะ เป็นฝ่ายปกครองดินแดนใด ผู้ปกครองต้องดูแลให้สวัสดิการเช่นเดียวกับคนในประเทศ
ไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม แต่การญิฮาดจำเป็นต้องเกิดขึ้นเมื่อเกิดความวุ่นวายและถูกรุกราน
มุสลิมไม่รบกับมุสลิม จะเข้าร่วมรบ เช็คก่อนว่าฝ่ายตรงข้ามคือใคร
(เนื้อหาหลักการญิฮาด จากยูทูบ ในตัฟซีรซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะห์ที่ 190-193)
“เมื่อความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ และการพิชิตได้มาถึงแล้ว และเจ้าได้เห็นประชาชนเข้าในศาสนาของอัลลอฮฺเป็นหมู่ ๆ ดังนั้นจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้า และจงขออภัยโทษต่อพระองค์เถิด แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษเสมอ”
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอันนัศรฺ 1-3)
บุร็อยด๊ะฮฺ เล่าว่า : เมื่อใดก็ตามที่ท่านรอซูลุลลอฮฺแต่งตั้งผู้ใดให้เป็นผู้นำกองทัพหรือหน่วยทหาร ท่านจะกำชับเขาเป็นพิเศษว่า จงเกรงกลัวอัลลอฮฺและปฏิบัติต่อมุสลิมที่อยู่กับเขาด้วยดี ท่านจะกล่าวว่า "จงต่อสู้ด้วยพระนามของอัลลอฮฺและในหนทางของอัลลอฮฺ จงต่อสู้บรรดาผู้ไม่ศรัทธาในอัลลอฮฺ จงบุกเข้าไป แต่จงอย่าขโมย จงอย่าทรยศ อย่าทำลายศพ และอย่าฆ่าเด็ก" (ส่วนหนึ่งจากหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1731)
ห้ามฆ่าผู้หญิงและเด็ก
อับดุลลอฮฺ บินอุมัรฺ เล่าว่า : ในการบุกจู่โจมครั้งหนึ่งมีคนพบว่าผู้หญิงถูกฆ่า ดังนั้น ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงสั่งห้ามฆ่าผู้หญิงและเด็ก
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย บุคอรี เลขที่ 3015 และมุสลิม เลขที่ 1744)
วัยที่ได้รับอนุญาตให้ทำการต่อสู้
อิบนุอุมัรฺ เล่าว่า : ท่านรอซูลุลลอฮฺได้เรียกฉันไปพบในวันแห่งสงครามอุฮุด ตอนนี้ฉันอายุ 14 ปี และท่านไม่อนุญาตให้ฉันเข้าไปมีส่วนในการรบ แต่ท่านได้เรียกฉันไปพบในวันแห่งสงครามสนามเพลาะเมื่อฉันอายุ 15 ปีและท่านได้อนุญาตให้ฉันเข้าร่วมรบ
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย บุคอรี เลขที่ 2664 และมุสลิม เลขที่ 1868)
“โอ้ นะบี! จงปลุกใจผู้ศรัทธาทั้งหลาย ในการสู้รบเถิด หากปรากฏว่าในหมู่พวกเจ้ามียี่สิบคนที่อดทน ก็จะชนะสองร้อยคน และหากปรากฏว่าในหมู่พวกเจ้ามีร้อยคน ก็จะชนะพันคนในหมู่ผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา เพราะพวกเขาเป็นพวกที่ไม่เข้าใจ
บัดนี้อัลลอฮฺได้ทรงผ่อนผันแก่พวกเจ้าแล้ว และทรงรู้ว่า แท้จริงในหมู่พวกเจ้านั้นมีความอ่อนแอ ดังนั้นหากในหมู่พวกเจ้ามีร้อยคนที่อดทนก็จะชนะสองร้อยคน และหากในหมู่พวกเจ้ามีพันคนก็จะชนะสองพันคน ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย”
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัล-อันฟาล 65-66)
ตำแหน่งของญิฮาด
ท่านรอซูลุลลอฮฺได้พูดกับฉันว่า “อบูสะอี๊ด ใครที่พอใจให้อัลลอฮฺเป็นพระผู้อภิบาลของเขา และอิสลามเป็นศาสนาของเขา และมุฮัมมัดเป็นนบีของเขา สวรรค์ก็เป็นของเขา” อบูสะอี๊ดประหลาดใจในคำพูดนั้นและกล่าวว่า ‘ท่านรอซูลุลลอฮฺ กรุณาทบทวนคำพูดของท่านให้ฉันอีกครั้งหนึ่ง’ ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงทวนคำพูดของท่านอีกครั้ง และกล่าวว่า “มีการกระทำอีกอย่างหนึ่งที่ยกระดับมนุษย์ในสวรรค์ขึ้นไปอีก 100 ขั้น และระดับห่างระหว่างแต่ละขั้นกับช่องว่างระหว่างท้องฟ้าและแผ่นดิน” อบูสะอี๊ดกล่าวว่า ‘การกระทำนั้นคืออะไรครับ?’ ท่านรอซูลุลลอฮฺตอบว่า “ญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ ญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ”
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1884)
ประเภทของผู้เป็นชะฮีด
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “ในขณะที่คนผู้หนึ่งกำลังเดินอยู่ เขาเห็นกิ่งไม้ที่มีหนามกิ่งหนึ่งและเขาเอามันออกไปจากทาง อัลลอฮฺทรงชื่นชมการงานของเขาและให้อภัยเขาสำหรับสิ่งนั้น” และท่านได้กล่าวว่า “ผู้เป็นชะฮีดมีห้าประการ คือ ผู้ที่ตายด้วยโรคระบาด ผู้ที่ตายด้วยโรคท้องร่วง ผู้จมน้ำตาย ผู้ที่ตายอยู่ภายใต้สิ่งทับถม ผู้ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮฺ” (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยบุคอรี เลขที่ 652)
“จงอย่าคิดว่าผู้ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮฺเสียชีวิต ไม่เลย พวกเขายังมีชีวิตโดยที่พวกเขาได้รับปัจจัยของพวกเขาที่พระผู้อภิบาลของพวกเขา” (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน 169)
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “วิญญาณของบรรดาผู้พลีชีพอยู่ในร่างของนกสีเขียวที่มีโคมไฟจากบัลลังก์แขวนอยู่ พวกมันจะท่องเที่ยวไปทั่วสวรรค์ตามที่พวกมันต้องการและพวกมันจะกลับมายังโคมไฟเหล่านี้ เมื่อพระผู้อภิบาลของพวกเขามองไปที่พวกเขาและถามว่า “พวกเจ้าต้องการสิ่งใดไหม?” พวกเขาตอบว่า ‘เราจะต้องการอะไรไปมากกว่านี้อีก? เรากินผลไม้แห่งสวรรค์เมื่อเราต้องการ’ พระผู้อภิบาลของพวกเขาจึงถามคำถามเดิมอีกถึงสามครั้ง เมื่อพวกเขาเห็นว่าพวกเขาจะถูกปล่อยไว้ตามลำพัง พวกเขากล่าวว่า ‘โอ้พระผู้อภิบาล เราต้องการให้พระองค์คืนวิญญาณของเราแก่ร่างกายของเราเพื่อที่เราจะถูกฆ่าในหนทางของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง’ เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่าพวกเขาไม่มีความต้องการอะไรอีก พวกเขาจึงถูกปล่อยไว้ตามลำพัง”
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1887)
"โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา หากพวกเจ้าสนับสนุน (ศาสนาของ) อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงสนับสนุนพวกเจ้าและจะทรงตรึงเท้าของพวกเจ้าให้มั่นคง" (ตัฟซีร: คือศาสนาของพระองค์ ร่อซูลของพระองค์ และบรรดามุอฺมินแล้ว พระองค์ก็จะทรงช่วยเหลือพวกเจ้าให้มีชัยชนะเหนือศัตรูและจะให้พวกเจ้ามีความหนักแน่นอดทนในสนามรบ)
อัลกุรอาน ซูเราะฮฺมุฮัมมัด 7
(ตัฟซีรโดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย)
รอซูล (ศาสดามุฮัมมัด) เป็นแบบอย่างที่ดีในการสู้รบอย่างชาญฉลาดและเป็นสุภาพบุรุษ ทำการรบห่างไกลจากชุมชน
สงครามบะดัร ที่บ่อน้ำของเมืองบัดร์ เป็นสงครามใหญ่ครั้งแรกในช่วงสมัยของรอซูล กองทัพมุสลิม ชนะทหารชาวกุเรช ดังปรากฏในหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยมุสลิม ดังนี้
อิบนุอับบาส เล่าว่า อุมัรฺ บินอัลค็อฏฏอบ ได้กล่าวว่า : ในวันแห่งสงครามบะดัรฺ ท่านรอซูลุลลอฮฺได้มองไปยังพวกบูชาเจว็ดที่มีจำนวน 1,000 คน ขณะที่บรรดาสาวกของท่านมีจำนวน 319 คน ดังนั้น ท่านนบีของอัลลอฮฺได้หันหน้าไปยังทิศที่ตั้งก๊ะอฺบ๊ะฮฺพร้อมยกสองมือของท่านขึ้นและเริ่มวิงวอนต่ออัลลอฮฺว่า “โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้แก่ฉัน โอ้ อัลลอฮฺ หากมุสลิมกลุ่มนี้ถูกทำลาย จะไม่เหลือใครเคารพภักดีพระองค์บนหน้าแผ่นดิน” ท่านนบียังคงยกมือวิงวอนโดยหันหน้าไปทางก๊ะอฺบ๊ะฮฺต่อไปจนกระทั่งผ้าส่วนบนของท่านหลุดออกจากไหล่ของท่าน อบูบักรฺจึงได้มาหยิบผ้าของท่านไปคลุมไว้บนไหล่ของท่าน อบูบักรฺได้จับไหล่ท่านจากทางด้านหลังและกล่าวว่า “โอ้นบีของอัลลอฮฺ พอแล้วที่ท่านวิงวอนพระผู้อภิบาลของท่าน พระองค์จะทรงทำตามสัญญาของพระองค์อย่างแน่นอน”
"ครั้นเมื่อฎอลูตและบรรดาผู้ศรัทธาที่ร่วมอยู่กับเขาได้ข้ามแม่น้ำนั้นไป พวกเขาก็กล่าวว่า วันนี้พวกเราไม่มีกำลังใด ๆ จะต่อสู้กับญาลูต บรรดาผู้ที่เชื่อแน่ว่าพวกเขาจะพบกับอัลลอฮฺได้กล่าวว่า กี่มากน้อยแล้ว พวกน้อยเอาชนะพวกมากได้ ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับผู้อดทนทั้งหลาย"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 249)
ดังนั้น อัลลอฮฺจึงได้ประทานอายะฮฺนี้ลงมา : “จงรำลึกขณะที่สูเจ้าขอความช่วยเหลือในยามคับขันต่อพระเจ้าของสูเจ้า และพระองค์ทรงตอบรับคำวิงวอนของเจ้าว่า “แท้จริง ฉันจะช่วยสูเจ้าด้วยมลาอิก๊ะฮฺหนึ่งพันองค์โดยทยอยกันลงมา” (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัล-อันฟาล 9)
อบูซุมัยล์ กล่าวว่า : อิบนุอับบาสบอกฉันว่า ในขณะที่มุสลิมกำลังพยายามที่จะขับไล่พวกบูชาเจว็ดคนหนึ่ง เขาได้ยินเสียงฟาดแส้และคำพูดว่า “เร็วเข้า ฮัยซูม (ชื่อม้าของมลาอิก๊ะฮฺองค์หนึ่ง)” เมื่อเขามองไป เขาได้เห็นทหารม้า (ที่เขากำลังไล่ตาม) เสียชีวิต เมื่อเขาดูศพ เขาได้เห็นจมูกและหน้าของข้าศึกคนนั้นแตกเพราะถูกแส้ฟาดและใบหน้าเขียว เมื่อเขานำเรื่องนี้ไปบอกท่านรอซูลุลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า “ท่านพูดความจริง นั่นเป็นการช่วยเหลือจากฟ้าชั้นที่สาม” มุสลิมสังหารฝ่ายศัตรูในวันนั้นไปจำนวน 70 คน และจับเป็นเชลยได้ 70 คน
(ส่วนหนึ่งจากหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1763)
“หากประสบแก่พวกเจ้า ซึ่งบาดแผลหนึ่งบาดแผลใด แน่นอนก็ย่อมประสบแก่พวกนั้น ซึ่งบาดแผลเยี่ยงเดียวกัน และบรรดาวันเหล่านั้นเราได้ให้มันหมุนเวียนไประหว่างมนุษย์ (ตัฟซีร: ทรงให้แต่ละฝ่ายชนะบ้าง แพ้บ้าง ทั้งนี้เป็นไปตามกฎสภาวการณ์ของพระองค์) และเพื่ออัลลอฮฺจะได้ทรงรับรู้บรรดาผู้ที่ศรัทธา และเพื่อเอาบรรดาผู้เสียชีวิตในสงคราม จากพวกเจ้าและอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงรักใคร่ผู้อธรรมทั้งหลาย”
อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน 140
(ตัฟซีรโดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย)
2. สงครามอุฮุด บริเวณภูเขาอุฮุด ทหารมุสลิมแพ้ทหารชาวกุเรช แม้จะแพ้สงคราม แต่ทำให้ได้รู้ว่าใครคือมุอฺมิน ใครคือมุนาฟิก (ไม่ทำตามคำสั่งรอซูล)
ท่านรอซูลได้คัดเลือกทหารแม่นธนู 50 นาย ขึ้นประจำการบนเนินเขาที่อยู่ตรงข้ามกับภูเขาอุฮุด และสั่งกำชับ “ให้รักษาที่มั่นบนเนินเขานั้นให้ดีอย่าได้ละทิ้งที่มั่นเป็นอันขาดไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม แม้จะเห็นว่าฝูงนกโฉบไล่จิกบรรดามุสลิมีนก็ตาม”
ในขณะที่การสู้รบได้เริ่มขึ้น สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่กองกำลังของมุชริกีนที่มีจำนวนมากกว่า แต่แล้วก็เกิดเรื่อง ขณะที่บรรดานักแม่นธนูเห็นชัยชนะของฝ่ายมุสลิม พวกเขาได้ขัดคำสั่งและลงจากที่มั่น โดยเหลือไม่ถึงสิบคนที่อยู่กับผู้นำ
กองทัพมุสลิมตกอยู่ในสถานการณ์วุ่นวาย กองทัพมุชริกีนจึงบุกอย่างหนัก มุสลิมถูกสังหารตายชะฮีดไปถึง 70 คน
ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน 165-166 ความว่า
“และเมื่อมีภยันตรายได้ประสบแก่สูเจ้า ขณะที่สูเจ้าได้ให้ประสบแก่พวกเขาถึงสองเท่า สูเจ้ากล่าวว่า ภยันตรายเหล่านี้มาจากไหน จงกล่าวเถิด มันเกิดจากสูเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้อานุภาพเหนือทุกสิ่ง
และอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า วันที่สองกลุ่มเผชิญกัน โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ เพื่อพระองค์จะได้จำแนกบรรดาผู้ศรัทธา”
"ในหมู่ผู้ศรัทธามีบุรุษผู้มีสัจจะต่อสิ่งที่พวกเขาได้สัญญาต่ออัลลอฮฺเอาไว้ ดังนั้นในหมู่พวกเขามีผู้ปฏิบัติตามสัญญาของเขา และในหมู่พวกเขามีผู้ที่ยังคอย (การตายชะฮีด) และพวกเขามิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ 23)
ท่านรอซูลได้รับบาดเจ็บ ซะฮฺล์ บินซะอฺด์ อัซซาอิดี ถูกถามเกี่ยวกับบาดแผลของท่านรอซูลุลลอฮฺในวันแห่งการทำสงครามอุฮุด เขากล่าวว่า “ใบหน้าของท่านรอซูลุลลอฮฺได้รับบาดแผลและฟันหน้าซี่หนึ่งของท่านหัก หมวกเหล็กของท่านถูกฟาดจนแตก ฟาฏิมะฮฺลูกสาวของท่านได้ล้างเลือดของท่าน ในขณะที่อะลี บินอบูฏอลิบ ถือน้ำไว้ เมื่อฟาฏิมะฮฺเห็นว่าเลือดของท่านไหลมากขึ้นไม่หยุด นางได้เผาเสื่อผืนหนึ่ง (ซึ่งทำมาจากใบอินทผาลัม) จนกระทั่งมันเป็นขี้เถ้า นางจึงได้เอามันมาโปะบนแผลของท่านซึ่งทำให้เลือดของท่านหยุดไหล” (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยบุคอรี เลขที่ 2911)
ก่อนที่พวกกุเรชจะกลับถึงมักกะฮ์ พวกเขาจะเสียดายที่มิได้จัดการกับมุสลิมให้สิ้นซาก พวกเขาจึงอยากจะกลับมาจัดการกับกองกำลังมุสลิมที่เหลือ เมื่อท่านนบีทราบเรื่องจึงได้ออกคำสั่งให้บรรดาศอฮาบะฮ์ที่ได้ออกไปร่วมรบกับท่านในสงครามอุฮุด ให้ออกไปเผชิญหน้ากับพวกนั้น
อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน 172, 174 ความว่า
คือบรรดาผู้ที่ตอบรับอัลลอฮฺ และร่อซูลหลังจากที่บาดแผลได้ประสบแก่พวกเขา สำหรับบรรดาผู้กระทำดีในหมู่พวกเขาและมีความยำเกรงนั้น คือรางวัลอันยิ่งใหญ่หลวง
แล้วพวกเขาได้กลับมา พร้อมด้วยความกรุณาจากอัลลอฮฺ และความโปรดปราน(จากพระองค์) โดยมิได้มีอันตรายใดๆ ประสบแก่พวกเขา และพวกเขาได้ปฏิบัติตามความพอพระทัยของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺคือผู้ทรงโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่
"อ่านเรื่องราวสงครามอุฮุด" <คลิก>
อัลบะรออฺ เล่าว่า : “ในวันแห่งสงครามค็อนดัก (สนามเพลาะ) ฉันเห็นท่านรอซูลุลลอฮฺขนดินกับพวกเราจนดินเปื้อนท้องที่ขาวของท่านขณะที่กำลังขนดิน”
(ส่วนหนึ่งจากหะดีษเศาะฮีหฺ
บันทึกโดยบุคอรี เลขที่ 4128)
3. สงครามอะฮฺซาบ หรือสงครามสหพรรค หรือสงครามค็อนดัก (สนามเพลาะ) ทหารมุสลิมชนะทหารชาวกุเรชและยะฮูด (หัวหน้าเผ่าชาวยิวจากตระกูลอันนะฎี๊ร ยุงยงให้ชาวกุเรชและเผ่าต่างๆ ที่เป็นมุชริก ทำการสู้รบกับมุสลิม และตกลงที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ครึ่งหนึ่งที่จะได้รับจากเมืองคอยบัร)
ยุทธวิธีการรบ “ขุดสนามเพลาะ”
1. วางแผนกับศอฮาบะฮฺ
ซัลมาน อัล ฟาริซีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เสนอความคิดเรื่องการขุดสนามเพลาะทางด้านเหนือของเมืองมะดีนะฮฺ เพราะเป็นด้านเดียวที่เปิดโล่งอยู่
ด้านอื่น ๆ นั้นเต็มไปด้วยกำบังทางธรรมชาติยากที่จะลุยผ่านเข้ามาได้ มีทั้งบ้านเรือนอย่างหนาแน่น และเรือกสวน ส่วนด้านอื่นมีหินภูเขาไฟ
2. ปฏิบัติการทันที-ขุดสนามเพลาะ
ท่านรอซูลได้จัดเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 10 คน ขุดสนามยาว 40 ศอก
การขุดสนามเพลาะมีอุปสรรค ทั้งระยะเวลาที่สั้น อากาศที่หนาวเหน็บ เสบียงที่น้อยนิด พื้นดินที่แข็ง และเครื่องมือที่ใช้ไม่แข็งแรงพอ
แต่เพราะรอซูลเข้าร่วมขุดกับบรรดาศอฮาบะฮฺด้วย จึงส่งผลต่อการทำงานอย่างยิ่งใหญ่
“เมื่อพวกเขายกทัพมายังพวกเจ้า ทั้งจากทางข้างบนของพวกเจ้า และจากทางข้างล่างของพวกเจ้า และเมื่อนัยตาได้เหลือกลานและหัวใจได้มาจุกอยู่ที่ลำคอ และพวกเจ้านึกคิดกันต่างๆ นานา เกี่ยวกับอัลลอฮฺ
ณ ที่นั้นขณะนั้น บรรดาผู้ศรัทธาได้ถูกทดลอง และพวกเขาถูกทำให้เคลื่อนไหวสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง”
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ 10-11)
3. จัดกองทัพ-เฝ้าระวังและต่อสู้
การขุดคูหรือสนามเพลาะนั้นเป็นเรื่องที่แปลก ซึ่งชาวอาหรับไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน เมื่อพวกมุชริกีนมาถึง จึงฉงนแล้วยืนอยู่หน้าสนามเพลาะนั้น พวกเขาเดินผ่านไม่ได้ จึงตั้งทัพอยู่ตรงนั้น
รอซูลจัดวางกำลังมุสลิม 3,000 คน ทำหน้าที่เวรยามเฝ้าดูแลในเมืองมะดีนะฮฺ เพราะเกรงว่าพวกยิวและพวกมุนาฟิกีนที่อยู่ในมะดีนะฮฺจะหักหลัง ส่วนกองกำลังที่เหลือเฝ้าดูสนามเพลาะ และสกัดกั้นศัตรูที่จะบุกข้ามมา
4. ต่อสู้จนสุดความสามารถ
บรรดามุชริกพยายามหลายครั้งที่จะข้ามสนามเพลาะ แต่ถูกกองกำลังของมุสลิมสกัดกั้น เกิดการต่อสู้ด้วยการยิงธนูกัน มุสลิมควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้
จนเกิดวิกฤตขึ้น มุชริกเกลี้ยกล่อมยิวเผ่ากุรอยเซาะฮ์ ที่อยู่ในมะดีนะฮฺให้ละเมิดสัญญาและประกาศทำสงครามกับมุสลิม รอซูลโน้มน้าวบางเผ่าให้ถอนตัวออกจากการสู้รบ โดยยอมจ่ายผลผลิตจำนวนหนึ่งให้ แต่ชาวอันศ็อรไม่เห็นด้วย
พวกมุนาฟิกีนปล่อยข่าวไปทั่วว่า มุสลิมเกิดความหวาดกลัว พร้อมทั้งเย้ยหยันพวกเขา
มุสลิมทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ หาสาเหตุต่างๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เกินกำลังความสามารถของพวกเขา และการช่วยเหลือของอัลลอฮฺมาถึง
“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา จงรำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้า ขณะที่กองทัพข้าศึกเข้ามารุกรานพวกเจ้า แล้วเราได้ส่งลมพายุพัดใส่พวกเขา และกำลังทหารที่พวกเจ้ามองไม่เห็น และอัลลอฮฺทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ 9)
5. การช่วยเหลือของอัลลอฮฺ แผนการของอัลลอฮฺทรงเหนือกว่า
อัลลอฮฺทรงทำลายความสัมพันธ์ระหว่างมุชริกกับพวกยิว โดยที่นะอีม บิน มัสอู๊ด ได้เข้ารับอิสลาม แต่พวกมุชริกและยิวไม่รู้เรื่อง นะอีมซึ่งสนิทสนมกับทั้งสองฝ่าย ทำการยุแหย่ทั้งสองฝ่ายจนเกิดความแตกแยก
อัลลอฮฺทรงส่งกองกำลังของพระองค์ลงมา ลมพายุพัดใส่พวกเขา เผ่าต่าง ๆ จึงรีบเคลื่อนย้ายออกจากมะดีนะฮฺอย่างเสียขวัญ
6. กองทัพมุสลิมชนะ และจุดจบของผู้แพ้
ดังระบุในอัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ 25-26 ความว่า
กองทัพฝ่ายกุเรช “และอัลลอฮฺทรงให้พวกปฏิเสธศรัทธาถอยทัพกลับด้วยความเคียดแค้นของพวกเขาโดยที่พวกเขามิได้ประสบความดีแต่อย่างใด และอัลลอฮฺทรงพอเพียงแล้วแก่บรรดาผู้ศรัทธาในการสู้รบ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงอำนาจอย่างเหลือหลาย”
มุนาฟิกีนในมาดีนะฮฺ “และพระองค์ทรงให้พวกอะฮฺลุลกิตาบ (ยิวก๊กบะนีกุร็อยเซาะฮฺ) ที่ได้ช่วยเหลือพวกเขา (พวกมุชริกีน) ลงมาจากป้อมที่มั่นของพวกเขา และทรงบรรจุความหวาดกลัวไว้ในจิตใจของพวกเขา ส่วนหนึ่งพวกเจ้าประหารชีวิต (พวกเขา) และอีกส่วนหนึ่งพวกเจ้าจับเป็นเชลย”
คัดลอกและสรุปเรียบเรียงเนื้อหาจากบทความ “สมรภูมิอัล-อะห์ซาบ” โดย ดร.อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับดิรเราะฮ์มาน อัลค็อรอาน อ่านเพิ่มเติม <คลิก>
“และพวกเขาได้วางแผน และอัลลอฮฺก็ทรงวางแผนด้วย และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงวางแผนที่ดีเยี่ยม”
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน 54)
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “ดุอาอฺนั้นคือ อาวุธของมุอฺมิน และเป็นเสาหลักของศาสนา และเป็นรัศมีแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน” (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัลฮากิม)
เพราะดุอาอฺคือาวุธสำหรับมุอฺมิน ผู้ศรัทธาอย่าเสียกำลังใจ เราขอดุอาอฺขอกำลังใจและขอขอความช่วยเหลือจากพระองค์ได้ เชื่อในการตอบสนองการขอพรของพระองค์ เชื่อในการช่วยเหลือของพระองค์ และรอคอยอย่างมีความหวังว่ามุสลิมจะได้รับชัยชนะในเวลาที่เหมาะสม อินชาอัลลอฮฺ และขอให้คนยิว-คริสต์ที่เหมาะสมได้เข้ารับอิสลาม อย่าสาปแช่งใคร เพราะเขาอาจได้รับฮิดายะห์ในบั้นปลายชีวิต
อดทน คิดบวก ขอดุอาอฺ และรอคอยอย่างมีความหวัง
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า “ฉันอยู่ที่ความคิดของบ่าวของฉัน หากเขาคิดดี เขาจะได้รับความดี (แต่) ถ้าเขาคิดไม่ดี เขาก็จะได้รับ ความไม่ดีนั้นด้วย” (หะดีษ (กุดซีย์) เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะหฺมัด เลขที่ 8871)
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “ข้าเป็นดังเช่นที่บ่าวของเขานึกคิดเกี่ยวกับข้า ข้าอยู่กับเขาเมื่อเขานึกถึงข้า และหากเขากล่าวรำลึกถึงข้ากับตัวเขา ข้าก็จะกล่าวรำลึกถึงเขากับตัวข้า และหากเขากล่าวรำลึกถึงข้าในกลุ่มคน ข้าจะกล่าวถึงรำลึกถึงเขาในกลุ่มคนที่ดีกว่า หากเขาเข้ามาใกล้ชิดข้าหนึ่งคืบมือ ข้าก็จะเข้าไปใกล้ชิดเขาศอกหนึ่ง และหากเขาเข้ามาใกล้ชิดข้าศอกหนึ่ง ข้าก็จะเข้าไปใกล้ชิดเขาวาหนึ่ง และหากเขาเข้ามาหาข้าด้วยการเดิน ข้าก็จะเข้าไปหาเขาด้วยการวิ่ง” (หะดีษ (กุดซีย์) เศาะฮีหฺ บันทึกโดยบุคอรี เลขที่ 7405 และมุสลิม เลขที่ 2675)
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “จงขออัลลอฮฺซึ่งสิ่งดีงาม เพราะแท้จริงแล้ว อัลลอฮฺทรงรักในการถูกขอ และในบรรดาอิบาดะฮฺที่ดีที่สุด คือการรออย่างมีความหวังว่าจะเจอแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” (หะดีษเศาะฮีหฺ รายงานโดยอับดุลเลาะฮฺ)
เขาไม่ได้สามัคคีกันอย่างที่เห็น ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน ยิวไม่ต่างกัน
“พวกเขาทั้งหมดจะไม่ต่อสู้กับพวกเจ้าเว้นแต่ในเมืองที่มีป้อมปราการหรือจากเบื้องหลังของกำแพง การเป็นศัตรูระหว่างพวกเขากันเองนั้นรุนแรงยิ่งนัก เจ้าเข้าใจว่าพวกเขารวมกันเป็นปึกแผ่นแต่(ความจริงแล้ว)จิตใจของพวกเขาแตกแยกกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าพวกเขาเป็นหมู่ชนที่ไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ”
(ตัฟซีร: พวกยะฮูดเหล่านั้นไม่สามารถที่จะต่อสู้กับพวกเจ้าได้ เว้นแต่เมื่อพวกเขาอยู่ในเมืองที่มีป้อมปราการล้อมรอบด้วยกำแพงและสนามเพลาะ ทั้งนี้เพื่อเป็นด่านป้องกันพวกเขาเนื่องจากความหวาดกลัวของพวกเขานั่นเอง ระหว่างพวกเขาด้วยกันเองนั้นมีความคิดเห็นและผลประโยชน์ขัดแย้งกันอยู่เสมอ เจ้าคิดว่าพวกเขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ความจริงแล้วพวกเขาแตกแยกกันอยู่เสมอ การแตกแยกของพวกเขานั้นก็เพราะว่า พวกเขาไม่ใช้สติปัญญาที่จะใคร่ครวญบัญญัติอัลลอฮฺ)
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลฮัชรฺ 14 ตัฟซีรโดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย)